zerowaste – บ้านและสวน

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

เปลี่ยน ผักตบชวา และตอซังข้าวให้เป็น คราฟต์โซดา เครื่องดื่มสุดซ่าเจ้าเดียวกับ “NAMSAI”

ผักตบชวา พืชต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในไทยสู่วัชพืช แต่วันนี้ผักตบชวาเจ้าปัญหาได้กลายเป็นเครื่องดื่มสุดซ่าที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โล่รางวัล

โล่รางวัล 10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย และบ้านและสวน Awards ประจำปี 2565

10 บ้านน่าอยู่ 10 สวนสวย ประจำปี 2565 ที่นิตยสารบ้านและสวน ร่วมงานกับทีมออกแบบจาก ดอยตุง โดยใช้เศษฝ้ายเป็นวัสดุประกอบในการทำโล่ด้วยการหล่อปูนหลายหินขัด(Terrazzo)

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]