กล้วยไม้ไทย – บ้านและสวน

กล้วยไม้ที่จะอยู่ในใจตลอดไปของอาจารย์ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย

ศาสตราจารย์ ดร.ระพี สาคริก ปูชนียบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานให้เป็นบิดาแห่งวงการกล้วยไม้ไทย ท่านยังมีผลงานด้านบทความและงานแต่งหนังสือด้านต่างๆ อีกกว่า 10 เล่ม

Orchid anatomy

ทำความรู้จักกับเรือนร่างอันสวยงาม แตกต่าง และหลากหลายของกล้วยไม้กัน ราก เป็นเนื้อเยื่อพิเศษ สีขาว ลักษณะคล้ายฟองน้ำเรียกว่า วีลาเมน (velamen) ที่ห่อหุ้มรากจริงเอาไว้ มีหน้าที่กักเก็บความชื้นป้องกันแสงแดดให้รากที่แท้จริงที่อยู่ภายใน ส่วนปลายรากมีสีเขียว สามารถสังเคราะห์แสงได้ ลำต้น มีหลายลักษณะ ทั้งแบบลำต้นตั้งขึ้น เป็นลำ อวบน้ำ เติบโตตามแนวดิ่ง ตั้งขึ้นหรือห้อยลง มีลำเป็นทรงกระบอกแคบยาวหรือรูปทรงกลมแป้น คล้ายผลกล้วย จึงเรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulb) บางสกุลมีลำต้นขนาดเล็กทอดเลื้อยไปกับผิวดินหรือลำต้นของไม้ใหญ่ แตกรากสั้นเป็นกระจุกตามข้อเรียกว่า เหง้า (rhizome) เช่น สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum) นอกจากนี้กล้วยไม้บางชนิดมีลำต้นเป็นหัวทำหน้าที่เก็บน้ำและสะสมอาหารใต้ดิน สามารถแตกกอได้ หรือบางชนิดก็ไม่มีลำต้นเลย เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจะ ช่อแยกแขนง หรือช่อกระจุกแน่น ออกจากหัวหรือตามข้อตรงข้ามกับใบ หรือออกจากโคนลำลูกกล้วย เป็นดอกสมบูรณ์เพศมี 6 กลีบ แบ่งเป็น ชั้นนอก คือ กลีบเลี้ยง(sepal) หรือกลีบชั้นนอก อยู่ด้านบน 1 กลีบ  ด้านล่าง […]

เรื่องกล้วยไม้ที่คุณอาจไม่รู้

กล้วยไม้ เป็นดอกไม้ที่ใครเห็นใครก็รัก เพราะเป็นไม้ประดับที่มีรูปแบบหลากหลายและแตกต่างกันมากมาย ปัจจุบันพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลกมากกว่า 796 สกุล 19,000 ชนิด และในจำนวนนี้มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยถึง 168 สกุล มากกว่า 1,170 ชนิด มีทั้งที่เจริญเติบโตอยู่บนดิน (terrestrial) อาศัยอยู่บนพืชอื่น (epiphytic) หรือเจริญอยู่ตามซากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (saprophyte) ส่วนใหญ่พบในประเทศเขตร้อน โดยประเทศไทยจัดเป็นแหล่งที่มีกล้วยไม้ป่ามากแห่งหนึ่งในโลก ในทางพฤกษศาสตร์ จัดกล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และจำแนกออกเป็นสกุลต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวเพียงบางส่วน อาทิ * สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) พบกระจายพันธุ์อยู่ตามทิวเขาที่มีระดับความสูงไม่มากนัก และตามป่าผลัดใบ ส่วนใหญ่เติบโตอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหิน บางชนิดก็เกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้                   * สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ ค้นพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด จำแนกเป็นหมวดหมู่ย่อยมากกว่า 20 หมู่ เป็นสกุลที่นิยมพัฒนาพันธ์ุเพื่อการค้า * สกุลคัทลียาและสกุลใกล้เคียง (Cattleya & allied genera) ประกอบด้วยสกุลย่อย […]