การตกแต่งบ้าน
The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง
เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]
โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล
นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]
Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ
ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]
บ้านปูนสีขาวผสมไม้ ในบรรยากาศริมคลอง
อยากให้เหมือนบ้านไทยสมัยก่อนที่ปลูกติดริมน้ำ มีการลดหลั่นของอาคารและเปิดมุมมองสู่ริมน้ำ มีความเคารพต่อธรรมชาติ แต่อยู่ในรูปแบบที่ดูทันสมัย ทั้งวัสดุ รูปลักษณ์ และจริตอย่างปัจจุบัน
ตะแกรงเหล็กฉีก เป็นอะไรได้บ้าง?
คนหลงใหลในงานสไตล์อินดัสเทรียล ลองมาดูสิว่าตะแกรงเหล็กฉีกจะสามารถกลายร่างเป็นส่วนใดของบ้านได้บ้าง
เทียบขอบน้ำ เทียมขอบฟ้า
ลักษณะที่โดดเด่นของบ้านหลังนี้คือออกแบบเป็นบ้าน 3 หลังแยกจากกัน โดยมี” ชานไม้ “เชื่อมต่อพื้นที่ให้เป็นผืนเดียวกัน ดูคล้ายแนวคิดการสร้างบ้านไทยในอดีต
Hometown Paradise สุขสบายที่บ้านเรา
” บ้านสไตล์โมเดิร์น ” ในจังหวัดชลบุรีหลังนี้มองจากด้านนอกจะแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเว้นช่องว่างเล็กๆ ระหว่างบ้าน
STAIRWAY RENOVATION โถงบันไดรีโนเวต
โถงบันไดของบ้านเก่า เติมไอเดียรีโนเวตลงไป ก็สดใสและร่วมสมัยได้ไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของบ้าน
จัดพื้นที่กลางให้คุณตาคุณยาย
พื้นที่นั่งเล่น เป็นที่รวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน เป็นมุมนั่งเล่นของคุณตาคุณยาย เป็นมุมเอกเขนกของเด็กๆ และเป็นมุมเย็บปักถักร้อยของคุณๆ แม่บ้าน ในบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากมาย พื้นที่ส่วนนี้มักรวมกับส่วนรับประทานอาหารไว้ด้วย มาดูไอเดียการจัดพื้นที่กัน 01.มุมเก็บของ คนแต่ละวัยมีความสะดวกในการจัดเก็บของต่างกัน คือ ชั้นล่าง เหมาะกับสมาชิกวัยเด็กใช้เก็บของเล่น เพราะหยิบง่าย เก็บสะดวก ชั้นสูงระดับเอว เหมาะกับคุณตาคุณยาย เพราะไม่ต้องก้ม ไม่ต้องเอื้อม ชั้นสูงกว่าระดับเอว เหมาะกับการเก็บของทั่วไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้เก็บหนังสือและของอื่นๆ ที่ไม่อยากให้ลูกๆ รื้อค้น 02.มุมเด็กเล่น ควรจัดไว้ด้านในสุด เพื่อความเป็นส่วนตัว ควรเตรียมชั้นวางของ กล่องหรือตะกร้าใส่ของไว้ให้พร้อม 03.มุมทำการบ้าน เลือกโต๊ะกลางขนาดใหญ่ ให้เด็กได้ใช้เป็นโต๊ะทำการบ้านหรือทำงานอดิเรก เช่น วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน 04.มีพื้นที่สำหรับรถเข็น เผื่อพื้นที่ว่างให้รถเข็นของคุณตาคุณยายได้เข้าถึงทุกพื้นที่ โดยไม่มีสิ่งกีดขวางและควรทำพื้นให้เรียบเสมอกัน 05.โต๊ะอาหารพร้อมหน้า วางโต๊ะอาหารให้มีพื้นที่รอบโต๊ะให้รถเข็นผ่านได้สะดวก และเผื่อพื้นที่ให้คุณตาคุณยายเข็นรถมานั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันได้ 06.เคานเตอร์หรือแพนทรี ควรออกแบบแพนทรีให้คุณตาคุณยายที่นั่งรถเข็นใช้ได้สะดวก โดยทำเคานเตอร์สูง 75 เซนติเมตร มีพื้นที่ว่างใต้เคานเตอร์สูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นสอดเข้าได้ Note: * […]
The Best Home
The Best Home รวมบ้านที่คัดสรรจากนิตยสารบ้านและสวน เพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 40 ปี โดยบ้านที่คัดสรรมานี้ล้วนมีความโดดเด่นและพิเศษในแง่มุมต่างๆ อาทิ Best Small, Best Thai, Best Modern, Best Renovation, Best Heritage, Best Design by Owner, Best Functional, Best Value, Best Local Living และ Best Green ผู้อ่านสามารถนำไอเดียต่างๆ จากบ้านแต่ละหลังไปปรับใช้กับบ้านของตัวเองได้ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-1851-90-5 บรรณาธิการ: วรัปศร อัคนียุทธ ราคา 395 บาท
95 AMP HOUSE บ้านชั้นเดียวที่ดูเรียบง่าย แต่โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุสุดเนี้ยบ
บ้านโมเดิร์นที่โดดเด่นในเรื่องการใช้วัสดุให้ไม่จืดชืด ถอดแบบไลฟ์สไตล์เจ้าของสู่การออกแบบบ้านอย่างน่าสนใจ
บ้านไทยประยุกต์ ริมทะเล
บ้านไทยประยุกต์ หลังนี้ มีหลังคาเป็นทรงจั่วเหมือนบ้านไทย ขณะที่ตัวบ้านค่อนข้างทันสมัย หากมองจากประตูรั้วจะดูเหมือนบ้านชั้นเดียวซึ่งมีหลังคาสูงใหญ่ขวางอยู่
ไอเดียมุมรับประทานอาหารแสนอบอุ่นจากวัสดุไม้
ออกแบบช่วงเวลาแสนอบอุ่นให้กับครอบครัวด้วยห้องรับประทานอาหารกรุไม้ วัสดุที่มอบบรรยากาศธรรมชาติให้กับบ้าน
ไอเดียประตูห้องน้ำ ไม่ง้อลูกบิด
หลายครั้งที่บานประตูห้องน้ำแบบลูกบิดไม่เป็นมิตรกับเราเสียเลย พบกับไอเดียประตูสำหรับห้องน้ำที่ทั้งสวยงาม และเหมาะกับฟังก์ชั่น
OLD PLACE, NEW FEELING ห้องใหม่ในพื้นที่ทรงจำ
คอนโดมิเนียมรีโนเวตที่ยังคงเค้าเดิมของห้องเก่า ในความหมายใหม่ของความเรียบง่าย
โฮมออฟฟิศ ที่ดึงธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งภายใน
การดึงธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งภายใน บ้านหลังเล็ก นี้ให้มากที่สุดแม้ว่าพื้นที่ของบ้านจะน้อยแต่เราก็สามารถสร้างกรอบของอาคารที่ปิดล้อมจากบริบท
Glass Partition Walls ผนังกระจกใส(กั้น)ภายในบ้าน
แบ่งกั้นพื้นที่สองห้องผ่านกระจกใส เชื่อมต่อความรู้สึกระหว่างพื้นที่ได้โดยไม่รู้สึกแบ่งแยก
Rustic Industrial ผสมผสานในสไตล์ไทยและตะวันออก
Rustic Industrial เป็นสไตล์หลัก ที่เจ้าของบ้านเลือกนำมาตกแต่งบ้าน โดยมีกลิ่นอายของความเป็นไทย ผสมเข้ากับสไตล์ตะวันออกผ่านข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกเลือกมาใช้