O House เปิดคอร์ตให้เป็นหัวใจของบ้าน

บ้านที่ทำคอร์ตเพื่อเชื่อมมุมมอง แก้ปัญหาบ้านอับทึบเพราะมีห้องจำนวนมาก โดยนำแสงธรรมชาติและลมให้เข้าถึงได้ทุกห้อง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poetic space studio จากที่เคยใช้ชีวิตในตึกแถวย่านสีลมมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกนั้นหมดสัญญา ของ ครอบครัวตั้งฐานะตระกูล จึงต้องมองหาบ้านหลังใหม่ กอปรกับลูกทั้ง 5 ก็เติบโตเข้าวัยทำงานและต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ซึ่งถ้าซื้อบ้านใหม่ในย่านเดิมก็จะได้เพียงตึกแถว จึงหาที่ดินชานเมืองใกล้รถไฟฟ้า จนได้ที่ดินย่านตลิ่งชันสำหรับบ้านหลังใหม่ของครอบครัว โดยติดต่อให้ Poetic space studio โดย คุณณัฐ-ณัฐศาส จีนพันธ์ และคุณยุพ-ยุพยงค์ ชัยขจรภัทร์ เป็นผู้ออกแบบ จากตึกแถวสู่บ้านแนวราบ คุณอุ๊-สุนิสาและคุณอุ๋ม-ณัฐธิดา ตั้งฐานะตระกูล พี่คนโตและคนรองเล่าย้อนไปยังวันที่วางแผนสำหรับบ้านใหม่ “แต่เดิมอยู่ตึกแถวย่านสีลม ชั้นล่างเปิดเป็นออฟฟิศจิเวลรี ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยที่เราใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกหมดสัญญา คุณแม่ก็ได้ที่ดินย่านตลิ่งชันมา 500 ตารางวา ซึ่งก็ใหญ่เกินไปสำหรับเรา จึงแบ่งกับเพื่อนคนละครึ่งแปลงเพื่อสร้างบ้านคนละหลังจะได้เป็นเพื่อนบ้านกัน โดยปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และทำประตูหลังบ้านเชื่อมถึงกันได้”    การแชร์พื้นที่ร่วมกัน เพราะเคยอยู่ตึกแถวมาตลอด ไม่มีประสบการณ์การอยู่บ้านที่มีบริเวณ สถาปนิกจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุด “เราบอกความต้องการให้สถาปนิกค่อนข้างกว้างคือ เป็นบ้านสำหรับพี่น้อง 5 คน คุณแม่ และในอนาคตจะมีคุณยายมาอยู่ด้วย ใจจริงอยากได้บ้านชั้นเดียว […]

ข้อควรรู้การออกแบบคอร์ตในบ้าน

คอร์ต ภายในบ้าน ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับบ้านที่ตั้งอยู่ในเมืองและอาจต้องเจอปัญหาเพื่อนบ้านไม่น่ารัก ถนนเสียงดัง ไม่เป็นส่วนตัว หรือวิวรอบข้างไม่สวยงาม มาดูไอเดียออกแบบบ้านพร้อมคอร์ตกัน ที่มาของคอร์ตยาร์ต คอร์ตยาร์ด (Courtyard) หรือ คอร์ต (Court) คือ ลานหรือพื้นที่ไม่มีหลังคาคลุม และมีผนังหรืออาคารโอบล้อมทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในการออกแบบบ้านสมัยใหม่ เนื่องจากไม่อาจพึ่งพาสภาพแวดล้อมรอบบ้านได้ เช่น ข้างบ้านไม่น่ารัก ติดทางด่วนมีเสียงดัง อยู่ใกล้ตึกสูงทำให้รู้สึกมีคนมองตลอดเวลา หรืออยากได้พื้นที่เปิดโล่งที่เป็นส่วนตัว มาดูวิธีการออกแบบและข้อพิจารณาของการทำคอร์ตในบ้านกัน เริ่มปรากฏการทำ คอร์ต สำหรับเป็นลานเลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้านเมื่อหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราช อยู่ในช่วงยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) ซึ่งอยู่ระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะ เป็นยุคที่เปลี่ยนจากสังคมล่าสัตว์เป็นสังคมเกษตรกรรม โดยอาศัยรวมกันเป็นหมู่บ้าน เริ่มทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและสร้างที่พักอาศัยถาวร ทั้งยังพบการทำคอร์ตในหลายประเทศทั่วโลก อย่างซากเมืองโบราณแถบเมโสโปเตเมีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงหลายประเทศในเอเชียอย่างไทยและจีนก็มีการทำพื้นที่เปิดโล่งในบ้านเช่นกัน การทำที่ว่างในคอร์ตกับที่ว่างรอบบ้านต่างกันอย่างไร พื้นที่ คอร์ต เป็นการสร้างมุมมองและพื้นที่ใช้งานร่วมกัน จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการให้เกิดกิจกรรม และสร้างการรับรู้หรือให้มองเห็นกันได้ และเป็นวิธีเพิ่มพื้นผิวอาคารเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและเพิ่มการระบายอากาศ แต่เมื่อมีคอร์ตมาคั่นพื้นที่ใช้งานในบ้านแล้ว มักจะทำให้ระยะการเดินในบ้านไกลขึ้น การสร้างบ้านโดยเว้นพื้นที่ว่างไว้รอบบ้านจะทำให้แต่ละห้องได้ทัศนียภาพต่างกัน พื้นที่ภายในบ้านกระชับทำให้ระยะการเดินไม่ไกลกันและดูแลภายในบ้านได้ง่าย แต่ถ้าที่ดินมีขนาดเล็ก […]

การจัดการกับต้นไม้ และพื้นที่สวนที่อยู่ติดกับบ้านหรือพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด

คอร์ตยาร์ดและบริเวณข้างบ้านไม่อาจดูสวยงามสมบูรณ์ได้เลยหากขาดสวนและต้นไม้ แต่ด้วยลักษณะพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมจากหลายทางและติดกับโครงสร้างสถาปัตยกรรม ทำให้พื้นที่ต้นไม้และสวนที่อยู่ติดกับบ้าน รวมไปถึงพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด มีจุดเด่นและรายละเอียดต่างจากสวนที่จัดทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภายนอกอาคาร หรือสเปซกว้าง ๆ ที่โอบล้อมอาคารเอาไว้ ตาม บ้านและสวน มาเรียนรู้วิธี การจัดสวนใกล้โครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้ต้นไม้และการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ลักษณะนี้กันเถอะ การเลือกไม้ประธาน การเลือกไม้ยืนต้นเป็นตัวเลือกแรกที่หลายคนเลือกใช้ เพราะ ให้ความรู้สึกของสวนและธรรมชาติได้ในทันทีที่ปลูก ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนจากแดดแก่คอร์ตยาร์ดและพื้นที่ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มีช่องเปิดทางทิศตะวันตกและทิศใต้ อีกทั้งด้วยลักษณะทรงต้นที่ส่วนใหญ่จะสูงตรงและแผ่ออกด้านบน ทำให้บริเวณใต้ต้นไม้ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก สิ่งสำคัญในการเลือกไม้ยืนต้นมีทั้งเรื่องของกิ่งที่อาจหักและระบบรากที่อาจไปทำอันตรายแก่โครงสร้างฐานรากของบ้านที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเรามองไม่เห็น จึงมีข้อควรระวัง ดังนี้ – พื้นคอร์ตยาร์ดควรมีระยะความกว้างที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อย 4 เมตร โดยต้นไม้ควรมีรูปทรงต้นแบบพีระมิด รูปทรงกระบอก หรือรูปทรงไข่ที่สูงชะลูดขึ้นด้านบน เนื่องจากต้นไม้ทุกชนิดโดยเฉพาะไม้ยืนต้นต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ระยะดังกล่าวเป็นระยะแคบที่สุดที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งพอจะเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านได้ในพื้นที่ที่มีร่มเงาจากอาคารมาทาบเกือบทั้งวัน ซึ่งก็มีต้นไม้เพียงบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่จำกัดขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประเภทปาล์ม น้ำเต้าต้น ลั่นทม ไทรใบสัก ยางอินเดีย เป็นต้น ซึ่งหากมีพื้นที่กว้างขวางก็สามารถเลือกใช้ต้นไม้อื่นที่เหมาะสมกว่าได้ – ไม้ยืนต้นที่ปลูกควรจะมีกิ่งที่สูงโปร่งไม่แผ่ออกด้านข้างมากนัก เนื้อไม้โดยเฉพาะบริเวณกิ่งต้องแข็งแรง ไม่เปราะหรือหักง่าย นอกจากนั้นยังควรหมั่นตัดแต่งให้เรือนยอดไม่สูงเด่น แน่นทึบ หรือเทน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป ให้มีขนาดทรงพุ่มเหมาะสมกับตัวกระบะปลูกหรือภาชนะปลูกที่มีรากอยู่ใต้ดิน – ระบบรากไม่แผ่ออกด้านข้างมากเกินไปและไม่ลอยเหนือดิน […]

“บ้านอากาศเย็น” บ้านเลขที่ 1 ณ เย็นอากาศ

บ้านอากาศเย็น เป็นชื่อบ้านที่เจ้าของตั้งขึ้นล้อกับชื่อถนนเย็นอากาศ แต่เมื่อเข้ามาในบ้านก็รู้สึกเย็นสมชื่อ เพราะแม้จะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยสุดเท่ แต่ออกแบบให้มีคอร์ตในบ้านหลายจุด ทั้งเพื่อระบายอากาศ รับแสงธรรมชาติ และสร้างมิติให้สเปซของบ้านสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างงดงาม DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka ทุกความสัมพันธ์เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อสองสิ่งอยู่ร่วมกัน เกิดระยะ “ระหว่าง” ที่บางครั้งเป็นเพียงมวลอากาศ บ้างเป็นการเว้นว่างเพื่อก่อสัมพันธ์ในความเงียบงัน หรือเกิดแรงดึงดูดให้โคจรเคียงกัน เช่นเดียวกับพื้นที่กว่า 1 ไร่ ณ บ้านเลขที่ 1 ของถนนเย็นอากาศซึ่ง คุณหมง – อรรณพ ชั้นไพบูลย์ และ คุณส้ม – สุชีรา นิมิตราภรณ์ คู่ชีวิตเจ้าของโปรดักชั่นเฮ้าส์ บริษัทหมงราม่า จำกัด ที่เคยขับรถผ่านบ่อยครั้ง จนได้มาเป็นเจ้าของและสร้าง บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สะท้อนตัวตนของทั้งคู่ในแบบไม่เหมือนใคร “บ้านอากาศเย็น” ชื่อที่มาก่อนตัวบ้าน กว่าจะเป็น บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ไม่ง่ายเลย เวลาร่วม 7 ปีที่เจ้าของบ้านและสถาปนิก คุณแจ็ก – ดนัย สุราสา แห่ง […]

รีโนเวตตึกแถวให้มีสเปซแบบบ้านเดี่ยว

การรีโนเวตตึกแถว 3 คูหากลางเมือง ให้มีสเปซแบบบ้านเดี่ยว โดยเปิดคอร์ตกลางบ้านซึ่งแม้จะเสียพื้นที่ใช้สอย แต่สิ่งที่ได้กลับมานั้นแสนคุ้มค่า พร้อมแก้ปัญหาพื้นบ้านต่ำกว่าถนน และออกแบบฟาซาดเท่ๆ ที่ใครผ่านไปมาก็ต้องสะดุดตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ID Architect ใครจะนึกว่าตึกแถวสองชั้นครึ่งอายุ 35 ปี ในย่านอารีย์สัมพันธ์ ที่ทั้งเคยอยู่ต่ำกว่าระดับถนนมีน้ำท่วมและอยู่ในบริบท “เมือง” จะกลายร่างเป็นบ้านที่มีสเปซแบบบ้านเดี่ยวแต่อยู่ในโครงสร้างตึกแถวเดิม บ้านเท่ๆ หลังนี้เป็นของ คุณอิษ – อิษฎาและคุณอ้อน – อรณา แก้วประเสริฐ ซึ่งตั้งใจ รีโนเวทตึกแถว ให้เป็นเรือนหอ ด้วยฝีมือการออกแบบของคุณอิษที่เป็นทั้งสถาปนิกเจ้าของ ID Architect และคุณพ่อป้ายแดง ซึ่งไม่เพียงดูแลการก่อสร้างเองเพื่อควบคุมให้อยู่ในงบประมาณ แต่ยังใช้วัสดุเดิมมาออกแบบผสมผสานความเก่าและใหม่ให้อยู่ด้วยกันแบบไร้กรอบของคำจำกัดความใดๆ รีโนเวตตึก แต่ไม่ทิ้งวิถีชีวิตเดิม ตึกแถวเป็นอาคารที่ออกแบบมาให้ตอบรับระบบอุตสาหกรรมและสังคมในยุคก่อน จึงมีระบบโครงสร้างซ้ำๆ กัน มีช่วงเสาไม่กว้าง เน้นการใช้สอยเต็มพื้นที่ และมีทำเลติดถนนเพื่อให้ค้าขาย เป็นทั้งกรอบจำกัดและเสน่ห์แบบวิถีคนเมือง และเป็นความท้าทายสำหรับสถาปนิกในการ รีโนเวตตึกแถว และทลายกรอบเหล่านั้น “ตึกแถวนี้เดิมเป็นบ้านของครอบครัวภรรยาซึ่งใช้อยู่อาศัยสองคูหาและให้เช่าหนึ่งคูหา เมื่อจะแต่งงานจึงมองหาเรือนหอ แต่ด้วยภรรยาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่มาตลอดและเป็นลูกคนเดียว จึงคิดว่าเราไม่ควรละทิ้งวิถีชีวิตเดิม และคิดถึงอนาคตถ้าเรามีลูก […]

TWISTING COURTYARD รีโนเวท บ้านจีน ให้โมเดิร์นด้วยคอร์ตดีไซน์โค้ง

รีโนเวตบ้านเก่า แบบจีนที่เรียกว่า “Siheyuan” หรือบ้านชั้นเดียวที่ล้อมรอบคอร์ตตรงกลางไว้ทั้งสี่ด้าน ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เอาผนังหินโค้งมาเป็นจุดเด่น

YUECHENG COURTYARD KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลกับลานวิ่งเล่นลอยฟ้า

โรงเรียนอนุบาล ที่ผสมผสานระหว่างโรงเรียนอนุบาลและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าได้ให้ความสำคัญในประเด็นของ “การบูรณาการระหว่างวัย”

บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ของพี่น้องที่แชร์คอร์ตเพื่อขยายความสุข

บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง สองหลังของพี่น้องที่ออกแบบให้แชร์พื้นที่คอร์ตเพื่อใช้งานร่วมกัน เป็นบ้านพักผ่อนสำหรับให้ทุกคนในครอบครัวได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ออกแบบสเปซภายนอกและภายในต่อเนื่องสัมพันธ์กัน มีพื้นที่โล่งและการเว้นระยะห่างที่พอดีเพื่อสอดแทรกธรรมชาติ เกิดเป็นสเปซให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ก่อบทสนทนาระหว่างกัน DESIGNER DIRECTORY: สถาปัตยกรรม : GREYSPACE Co.,Ltd. โดยคุณอัศจร์กร ธันยเกียรติ์ คุณพิชัย กาวิแหง คุณธีรสิทธิ์ ป้องจีนาเพศ  โทรศัพท์ 0-2007-5856  บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ตกแต่งภายในและภูมิสถาปัตยกรรม: Phiil design studio co., ltd.  โทรศัพท์ 08-1929-2979 เจ้าของ : ครอบครัวธันยเกียรติ์ เมื่อความทรงจำวัยเยาว์หวนคืนมาให้คิดถึงการได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา วิ่งเล่นหยอกล้อกันอย่างสนิทสนม แต่เมื่อทุกคนต่างเติบโตและแยกไปมีครอบครัวของตัวเอง พร้อมกับเก็บความทรงจำสีจางไว้ในลิ้นชักที่รอการเปิดอีกครั้ง ครั้นเมื่อความคิดถึงเร่งเร้า สามพี่น้องของ ครอบครัวธันยเกียรติ์ จึงร่วมกันคิดและตกลงกันสร้างบ้านหลังใหม่ในย่านพระรามที่ 2 ซึ่งทุกคนสามารถเดินทางมาได้สะดวก เพื่อกลับมารวมตัวกันเหมือนครั้งวัยเยาว์ แต่อยู่ในสถานะใหม่ที่เป็นพ่อแม่และปู่ย่าตายายที่มีหลานๆ วิ่งเล่นหยอกล้อกัน เสมือนเป็นภาพสะท้อนย้ำความทรงจำสีจางให้ปรากฏชัดขึ้น คุณจิ๋ว – อัศจร์กร ธันยเกียรติ์ สถาปนิกแห่ง GREYSPACE Co.,Ltd. และคุณต่าย – สาธิมน […]

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน

แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่   กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]