คอร์ตกลางบ้าน
บ้านสีขาว สไตล์โมเดิร์น ซ่อนคอร์ตต้นไม้และความเป็นส่วนตัวไว้ภายใน
บ้านสีขาว สไตล์โมเดิร์น ที่มีระยะห่างระหว่างความสัมพันธ์แบบพอดี พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนตัวอันสงบสุขและปลอดโปร่ง โดยเชื่อมต่อกันผ่านคอร์ตต้นไม้ตรงกลางซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่สร้างพลังงานบวกให้ทุกชีวิตภายในบ้าน
บ้านโมเดิร์น ที่มีคอร์ตยาร์ด และมีรั้วเป็นอาร์ตแกลเลอรี่
บ้านโมเดิร์น มีคอร์ตยาร์ด หลังนี้มีส่วนผสม 3 อย่าง ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย คอร์ตยาร์ดกลางบ้าน และอาร์ตแกลเลอรี่ในบ้าน
บ้านชั้นเดียวล้อมคอร์ต พร้อมมุมชมวิวดอยสุเทพ
บ้านชั้นเดียวล้อมคอร์ต สไตล์โมเดิร์น ที่มีโถงสูงแบบดับเบิ้ลสเปซและทำสเต็ปภายในบ้านเล็กน้อยเพิ่มความน่าสนใจ พร้อมกับทำดาดฟ้าให้เป็นมุมชมวิวสวยของดอยสุเทพได้
บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตกลาง เป็นพระเอก แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมรอบบ้านไม่สวยงาม
ชม บ้านโมเดิร์นมีคอร์ตยาร์ด เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่ไม่เจริญหูเจิญตานัก และยังช่วยให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาภายนอก
O House เปิดคอร์ตให้เป็นหัวใจของบ้าน
บ้านที่ทำคอร์ตเพื่อเชื่อมมุมมอง แก้ปัญหาบ้านอับทึบเพราะมีห้องจำนวนมาก โดยนำแสงธรรมชาติและลมให้เข้าถึงได้ทุกห้อง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Poetic space studio จากที่เคยใช้ชีวิตในตึกแถวย่านสีลมมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกนั้นหมดสัญญา ของ ครอบครัวตั้งฐานะตระกูล จึงต้องมองหาบ้านหลังใหม่ กอปรกับลูกทั้ง 5 ก็เติบโตเข้าวัยทำงานและต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ซึ่งถ้าซื้อบ้านใหม่ในย่านเดิมก็จะได้เพียงตึกแถว จึงหาที่ดินชานเมืองใกล้รถไฟฟ้า จนได้ที่ดินย่านตลิ่งชันสำหรับบ้านหลังใหม่ของครอบครัว โดยติดต่อให้ Poetic space studio โดย คุณณัฐ-ณัฐศาส จีนพันธ์ และคุณยุพ-ยุพยงค์ ชัยขจรภัทร์ เป็นผู้ออกแบบ จากตึกแถวสู่บ้านแนวราบ คุณอุ๊-สุนิสาและคุณอุ๋ม-ณัฐธิดา ตั้งฐานะตระกูล พี่คนโตและคนรองเล่าย้อนไปยังวันที่วางแผนสำหรับบ้านใหม่ “แต่เดิมอยู่ตึกแถวย่านสีลม ชั้นล่างเปิดเป็นออฟฟิศจิเวลรี ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัยที่เราใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อตึกหมดสัญญา คุณแม่ก็ได้ที่ดินย่านตลิ่งชันมา 500 ตารางวา ซึ่งก็ใหญ่เกินไปสำหรับเรา จึงแบ่งกับเพื่อนคนละครึ่งแปลงเพื่อสร้างบ้านคนละหลังจะได้เป็นเพื่อนบ้านกัน โดยปลูกต้นไม้เป็นแนวรั้วทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และทำประตูหลังบ้านเชื่อมถึงกันได้” การแชร์พื้นที่ร่วมกัน เพราะเคยอยู่ตึกแถวมาตลอด ไม่มีประสบการณ์การอยู่บ้านที่มีบริเวณ สถาปนิกจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีที่สุด “เราบอกความต้องการให้สถาปนิกค่อนข้างกว้างคือ เป็นบ้านสำหรับพี่น้อง 5 คน คุณแม่ และในอนาคตจะมีคุณยายมาอยู่ด้วย ใจจริงอยากได้บ้านชั้นเดียว […]
บ้านมินิมัลสีขาว แทรกด้วยคอร์ตต้นไม้สีเขียว
บ้านมินิมัลสีขาว ที่วางแมสอาคารซ้อนกันระหว่างข้างบนกับข้างล่าง มีช่องเปิดที่โปร่งตา แล้วแทรกคอร์ตสำหรับปลูกต้นไม้เป็นสวนในบ้านไว้ถึง 3 คอร์ต
บ้าน ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากไอรอนแมน
บ้านของดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หลังนี้ มีทั้งผนังบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสา ท้าทายการออกแบบโครงสร้างในหลายมิติ
เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน
พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนแต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโต เป็นเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอก
DT HOUSE บ้านซ้อนบ้าน ไอเดียเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้บ้านหน้าแคบ
บ้านหน้าแคบ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดบ้านเขตร้อน ที่ต้องออกแบบพื้นที่และการใช้วัสดุทนทานต่อสภาพอากาศ
การจัดการกับต้นไม้ และพื้นที่สวนที่อยู่ติดกับบ้านหรือพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด
คอร์ตยาร์ดและบริเวณข้างบ้านไม่อาจดูสวยงามสมบูรณ์ได้เลยหากขาดสวนและต้นไม้ แต่ด้วยลักษณะพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมจากหลายทางและติดกับโครงสร้างสถาปัตยกรรม ทำให้พื้นที่ต้นไม้และสวนที่อยู่ติดกับบ้าน รวมไปถึงพื้นที่สวนคอร์ตยาร์ด มีจุดเด่นและรายละเอียดต่างจากสวนที่จัดทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภายนอกอาคาร หรือสเปซกว้าง ๆ ที่โอบล้อมอาคารเอาไว้ ตาม บ้านและสวน มาเรียนรู้วิธี การจัดสวนใกล้โครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้ต้นไม้และการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ลักษณะนี้กันเถอะ การเลือกไม้ประธาน การเลือกไม้ยืนต้นเป็นตัวเลือกแรกที่หลายคนเลือกใช้ เพราะ ให้ความรู้สึกของสวนและธรรมชาติได้ในทันทีที่ปลูก ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนจากแดดแก่คอร์ตยาร์ดและพื้นที่ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มีช่องเปิดทางทิศตะวันตกและทิศใต้ อีกทั้งด้วยลักษณะทรงต้นที่ส่วนใหญ่จะสูงตรงและแผ่ออกด้านบน ทำให้บริเวณใต้ต้นไม้ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมาก สิ่งสำคัญในการเลือกไม้ยืนต้นมีทั้งเรื่องของกิ่งที่อาจหักและระบบรากที่อาจไปทำอันตรายแก่โครงสร้างฐานรากของบ้านที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเรามองไม่เห็น จึงมีข้อควรระวัง ดังนี้ – พื้นคอร์ตยาร์ดควรมีระยะความกว้างที่มีแสงแดดส่องถึง อย่างน้อย 4 เมตร โดยต้นไม้ควรมีรูปทรงต้นแบบพีระมิด รูปทรงกระบอก หรือรูปทรงไข่ที่สูงชะลูดขึ้นด้านบน เนื่องจากต้นไม้ทุกชนิดโดยเฉพาะไม้ยืนต้นต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ระยะดังกล่าวเป็นระยะแคบที่สุดที่ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งพอจะเจริญเติบโตและแผ่กิ่งก้านได้ในพื้นที่ที่มีร่มเงาจากอาคารมาทาบเกือบทั้งวัน ซึ่งก็มีต้นไม้เพียงบางชนิดเท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ในพื้นที่จำกัดขนาดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประเภทปาล์ม น้ำเต้าต้น ลั่นทม ไทรใบสัก ยางอินเดีย เป็นต้น ซึ่งหากมีพื้นที่กว้างขวางก็สามารถเลือกใช้ต้นไม้อื่นที่เหมาะสมกว่าได้ – ไม้ยืนต้นที่ปลูกควรจะมีกิ่งที่สูงโปร่งไม่แผ่ออกด้านข้างมากนัก เนื้อไม้โดยเฉพาะบริเวณกิ่งต้องแข็งแรง ไม่เปราะหรือหักง่าย นอกจากนั้นยังควรหมั่นตัดแต่งให้เรือนยอดไม่สูงเด่น แน่นทึบ หรือเทน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป ให้มีขนาดทรงพุ่มเหมาะสมกับตัวกระบะปลูกหรือภาชนะปลูกที่มีรากอยู่ใต้ดิน – ระบบรากไม่แผ่ออกด้านข้างมากเกินไปและไม่ลอยเหนือดิน […]
LUANQING HUTONG รีโนเวตบ้านจีนเก่าให้สวยปังด้วยคอร์ตไม้ไผ่
บ้านจีน เก่าที่มีความทรุดโทรมมากถูกนำท่รีโนเวตใหม่โดยยังคงเก็บคอร์ตยาร์ดกลางบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านจีนโบราณ “หูตง” ไว้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างไม้ไผ้แบบโค้ง
โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ
บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]
2Hien House บ้านหน้าแคบ เด่นด้วยผนังกระเบื้องเกล็ดปลาวัสดุจากบ้านเก่าที่นำมาใช้ใหม่ได้ลุคน่ารัก
บ้านหน้าแคบ ทรงกล่องที่ขอเลือกนำกระเบื้องเกล็ดปลาจากบ้านเก่า มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นผนังบ้านที่มีรายละเอียดดูน่ารัก แม้จะตั้งอยู่ในที่ดินหน้าแคบและลึก แต่กลับสามารถออกแบบบ้านให้ดูปลอดโปร่ง มีช่องแสงสกายไลท์อยู่ตรงกลางระหว่างอาคารสองก้อน ช่วยให้บ้านทั้งหลังดูสว่าง ไม่มืดทึบจากผนังสูงใหญ่ซึ่งถูกขนาบข้างดูเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านรอบ ๆ จุดเริ่มต้นของการออกแบบ บ้านหน้าแคบ หลังนี้ มาจากเจ้าของบ้าน เมื่อถึงคราวต้องขยับขยายสร้างบ้านใหม่บนที่ดินเดิมซึ่งทั้งแคบและยาว แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาของคู่สามีภรรยาเจ้าของบ้าน ผู้หลงใหลในธรรมชาติและความสงบเงียบเรียบง่าย กับบ้านที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นที่ที่ให้มีความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน ด้วยผนังบ้านทั้งสองด้านที่สูงชะลูด เด่นเป็นพิเศษด้วยการนำกระเบื้องเกล็ดปลา วัสดุจากบ้านเก่าที่ถูกนำมาเล่าใหม่ ให้กลายเป็นผนังและหลังคาบ้านส่วนหน้าที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่นี่ออกแบบโดย CTA | Creative Architect ทีมสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม บ้านขนาดสองชั้นที่เห็น ถูดจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งด้านหน้าที่กำหนดให้เป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ ก่อนเข้าสู่ตัวบ้านด้านในที่มีการแยกก้อนอาคารออกเป็นสองส่วน โดยมีเฉลียงขนาดกว้างสำหรับไว้ใช้นั่งเล่นพักผ่อน เชื่อมโยงสมาชิกให้ทุกคนมองเห็นกันและกันได้ง่าย ไม่ว่าจะใช้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารว่างร่วมกัน หรืออ่านหนังสือ ชายคาที่ลดระดับลงได้โอบล้อมพื้นที่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทำให้เกิดพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่ยังคงความโปร่งและยืดหยุ่นเอาไว้ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และรับแสงสว่างจากหลังคาสกายไลท์ด้านบน ช่วยให้บ้านมีแสงสว่างที่ทั่วถึง ลดความมืดทึบได้อย่างดี ในแง่ของวัสดุบ้านนี้เน้นใช้อิฐสีแดง และกระเบื้องเกล็ดปลาเก่า ซึ่งใกล้เคียงกับธรรมชาติ และให้ความรู้สึกที่โดดเด่น ไร้การปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเรียบง่าย แต่ยังคงสร้างอารมณ์ที่หนักแน่นและมั่นคง นอกจากวัสดุที่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติแล้ว มุมสวนสีเขียวเจ้าของบ้านก็เลือกให้ความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างการแบ่งพื้นที่ให้มีสวนตรงพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ขณะที่หลังบ้านก็มีมุมนั่งเล่นพักผ่อนเช่นกัน เพื่อให้คุณสามีได้ปลูกต้นไม้ […]
INSIDE-OUT HOUSE โลกกลับด้านที่จับสเปซภายนอกมาไว้ในบ้าน
บ้านโมเดิร์นที่ออกแบบภายนอกทึบตันให้ตัดขาดจากโลกภายนอก ป้องกันเสียงรบกวนจากทางด่วน แต่สเปซภายในกลับเสมือนเป็นพื้นที่ภายนอก ด้วยการเปิด 5 คอร์ตเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งและแนวนอน ให้แสงแดด สายลม และท้องฟ้าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านแบบเป็นส่วนตัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka หากมองจากภายนอกบ้านจะเห็นแต่กรอบผนังทึบตันสีเข้มที่ดูตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง เพราะพื้นที่ตั้งของบ้านอยู่ท่ามกลางย่านที่พักอาศัยหนาแน่นมาก มีบ้านพักอาศัยล้อมรอบอาคารทั้ง 3 ด้าน ด้านหน้าบ้านเป็นถนนซอยแคบ อีกทั้งหลังบ้านยังอยู่ใกล้กับทางด่วนที่มีเสียงรบกวนสูง โจทย์จากเจ้าของบ้านที่ให้ไว้กับสถาปนิก – คุณดนัย สุราสา แห่ง Studio Krubka Co.,Ltd. คือต้องการความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด ไม่อยากให้คนภายนอกมองเข้ามาเห็นการใช้ชีวิตภายในบ้านได้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ชอบเสียงดัง แต่กลับชอบการใช้ชีวิตกลางแจ้ง และชอบระเบียงที่มีลมพัดผ่านตลอดเวลา ซึ่งมีความขัดแย้งค่อนข้างสูงกับบริบทที่ตั้งอาคาร การวางผังเรือนไทยจึงถูกนำมาพิจารณา และใช้เป็นแนวคิดตั้งต้นในการออกแบบวางผังบ้านหลังนี้ บ้านโมเดิร์นมีคอร์ต แนวคิดผังเรือนไทยในบ้านทึบ แน่นอนว่าไม่สามารถนำการวางผังแบบเรือนไทยมาใช้ได้แบบตรงไปตรงมา ผู้ออกแบบสังเกตว่าการวางผังเรือนไทยนั้น เป็นการจัดวางกลุ่มอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง โดยมีชานเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมและกลุ่มอาคารต่างๆเข้าด้วยกัน การจัดวางตำแหน่งของอาคารแต่ละหลังนั้น เป็นการจัดวางที่คำนึงถึงทิศทางแดดและการระบายอากาศเป็นสำคัญ บ้านนี้ได้นำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการวางผังและการออกแบบรูปตัดของอาคาร เพื่อกำหนดการวางตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง 5 คอร์ตเล็กใหญ่ที่สัมพันธ์กับแรงลม ออกแบบสเปซภายในบ้านให้กลุ่มของกิจกรรมแต่ละก้อนวางตัวเหลื่อมล้ำ สลับกันไปมาทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยคำนึงถึงทิศทางลมเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดคอร์ตขนาดน้อยใหญ่ขึ้นจำนวน 5 […]
HS HOUSE รีโนเวตบ้านทาวน์โฮม ด้วยไอเดียกลาสเฮ้าส์และคอร์ตยาร์ดแก้ปัญหาพื้นที่ไม่ให้มืดทึบ
รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Ahmedabad ในประเทศอินเดีย ซึ่งมีปัญหาความอุดอู้ไม่น่าอยู่ และช่องแสงที่ไม่เพียงพอ ให้กลายเป็นบ้านที่โดดเด่นด้วยการออกแบบพื้นที่เพดานเหนือช่องบันไดให้มีลักษณะคล้ายกลาสเฮ้าส์ รวมถึงใช้แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุน ลดความเคร่งขรึมด้วยมุมคอร์ตยาร์ดสีเขียวกลางบ้าน ผสมกับดีเทลงานตกแต่งจากไม้ดูอบอุ่น จากข้อจำกัดของสถานที่ที่จะต้องใช้ผนังด้านข้างร่วมกับบ้านหลังอื่น มีเพียงผนังด้านหน้าและหลังเท่านั้นที่สามารถเจาะช่องแสงได้ ซึ่งนั่นอาจยังไม่เพียงพอ สถาปนิกจากบริษัท Studio Saransh จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเปิดพื้นที่ ในการ รีโนเวทบ้านทาวน์โฮม หลังนี้ เพื่อนำแสงสว่างมาสู่บ้าน ด้วยการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางช่องบันได ส่วนด้านบนได้เจาะพื้นชั้นดาดฟ้าออก แล้วต่อเติมโครงสร้างเหล็กกรุกระจก ครอบเหนือช่องบันไดไว้ ให้เหมือนกับเป็นกลาสเฮ้าส์ แสงจากด้านบนจึงสามารถส่องลงมาถึงชั้นล่างได้อย่างทั่วถึง มู้ดแอนด์โทนของบรรยากาศภายในบ้าน เน้นความเรียบนิ่งด้วยวัสดุโชว์พื้นผิวอย่าง แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งมีโทนสีเทา-ดำ และใช้หิน Kota หรือหินชนวนในการปูพื้น ผสมผสานกับดีเทลงานตกแต่งไม้ในส่วนต่าง ๆ เช่น กรอบหน้าต่าง บานเปิด-ปิดตู้บิลท์อิน และชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีสีน้ำตาลดูตัดกันกับสีเข้มขรึมของคอนกรีต ขณะที่บันไดที่ทำหน้าที่เชื่อมกล่องอาคารด้านหน้าและหลังเข้าด้วยกัน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน ทำจากโครงเหล็กสีดำ ก่อนจะปูทับด้วยไม้บนลูกนอน ช่วยเพิ่มความนุ่มนวลเวลาเดินเท้าเปล่า เมื่อเดินเข้ามาในบ้านจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศปลอดโปร่งและมุมพักผ่อนรับแขกที่เปิดประตูบานเลื่อนออกสู่สวนหลังบ้านได้ ชั้นต่อมาออกแบบเป็นส่วนครัว และมุมรับประทานอาหาร พร้อมระเบียงกลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เปิดออกสู่ระเบียงหน้าบ้าน ถัดมาเป็นชั้นของห้องนอนส่วนตัว ซึ่งคุมโทนและบรรยากาศเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน แต่มีลูกเล่นด้วยลวดลายเส้นทองเหลืองบนแผ่นคอนกรีต ให้กลิ่นอายหรูหรานิด ๆ […]
บ้านโมเดิร์นสีขาว 2 ชั้น ที่สวยรื่นรมย์ ด้วยงานศิลปะ
บ้านโมเดิร์นสีขาว2ขั้น ของผู้รักและสมงานศิลปะเชิงวิจิตรศิลป์ ทั้งให้ความสำคัญต่อศิลปะของการอยู่อาศัยควบคู่ไปกับฟังก์ชันที่จำเป็น ทำให้ทุกลายเส้นและทุกรายละเอียดที่ออกแบบขึ้นมาเป็นทั้งงานศิลปะในตัวเองและผสมผสานเชื่อมต่อกันเป็นงานศิลปะในรูปแบบที่แตกต่างไป
บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัลพร้อมคอร์ตโปร่งกลางบ้าน
บนพื้นที่ขนาด 45 ตารางวา แม้จะไม่ได้กว้างขวางใหญ่โต แต่เมื่ออยู่กลางเมืองที่เอื้อต่อการเดินทางได้สะดวกสบายก็นับว่าเป็นทำเลดีๆ สำหรับการมีบ้านอยู่อาศัยสักหลัง และนั่นเป็นเหตุผลเริ่มต้นที่ นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล เลือกซื้อบ้านตรงนี้เพื่อสร้างเป็น บ้านทรงจั่วมินิมัล ของครอบครัว บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล เจ้าของ : นายแพทย์ชวรัฐ จรุงวิทยากร และแพทย์หญิงปภัสรินทร์ เกิดสิริโรจน์กุล บ้านทรงจั่วสีขาวมินิมัล สถาปนิก : Greenbox Design โดยคุณสุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ “เดิมทีเป็นบ้านแฝดที่เก่ามากราว 30 ปีแล้ว เราปรึกษาสถาปนิกแล้วก็ตัดสินใจกันว่าทุบทิ้งสร้างใหม่เลยดีกว่า เพราะโครงสร้างเดิมก็เก่าไปตามอายุการใช้งาน และเราอยากได้บ้านที่อยู่สบายไปได้อีกนานๆ ตอนนั้นไม่มีไอเดียอะไรเลยนอกจากภาพบ้านโปร่งๆ มีช่องแสง มี Volume และก็บ่อปลา เพราะผมชอบเลี้ยงปลา ส่วนภรรยาก็ขอแค่มีที่ดูซีรี่ส์สบายๆ เท่านั้นเอง” คุณหมอฝ่ายชายย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นของบ้าน เมื่อโจทย์ที่ได้เป็นภาพกว้างๆ คุณจิ๊ฟ–สุรัตน์ พงษ์สุพรรณ์ สถาปนิกแห่ง Greenbox Design จึงใช้แนวทางการออกแบบโดยวิเคราะห์และศึกษาจากพฤติกรรมประจำวันของผู้อยู่อาศัย เพื่อกำหนดฟังก์ชันและผังห้องต่างๆ ของบ้านขึ้นมา รวมไปถึงยังมองภาพระยะยาวเรื่องการเติบโตของครอบครัวในอนาคต จากพื้นที่สำหรับดูแลลูกชายคนแรกที่เพิ่งคลอด ไปจนถึงพื้นที่การทำกิจกรรมร่วมระหว่างลูกชายที่กำลังโตกับคุณพ่อ […]
V60 House บ้านโมเดิร์นของนักบินที่เปลี่ยนจากการมองปุยเมฆมาชมสวน
บ้านสไตล์โมเดิร์นสีเทาดำที่ออกแบบให้มีพื้นที่เปิดซึ่งสามารถสัมผัสธรรมชาติได้มากที่สุด มีต้นไม้แทรกแผ่ร่มเงาทั่วบริเวณ แม้จะอยู่กลางเมืองแต่ก็เงียบสงบ โดยสร้างให้อยู่ติดกับบ้านคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้สามารถดูแลทั้งสองท่านได้แม้จะแยกบ้านออกมา พร้อมทำสระว่ายน้ำและส่วนออกกำลังกายแยกจากตัวบ้าน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และเครือญาติสามารถมาใช้ร่วมกันได้โดยไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวภายในบ้าน DESIGNER DIRECTORY: ออกแบบสถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน – ภูมิสถาปัตยกรรม : WARchitect โดยคุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ คุณพศวัต อปริมาณ / เจ้าของ : คุณกฤษณ์ สินธวานนท์ – คุณภัทร์วลัย ชาญเชี่ยว บ้านสไตล์โมเดิร์นสีเทาดำหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่กลางเมืองย่านวิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นที่ดินของครอบครัวที่มีบ้านเครือญาติสร้างอยู่ในรั้วเดียวกัน เมื่อ คุณกฤษณ์ สินธวานนท์ และคุณภัทร์วลัย ชาญเชี่ยว จะแต่งงาน จึงสร้างบ้านหลังใหม่ให้อยู่ติดกับบ้านคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้สามารถดูแลทั้งสองท่านได้แม้จะแยกบ้านออกมา โดยทำสระว่ายน้ำและส่วนออกกำลังกายแยกจากตัวบ้าน เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และเครือญาติสามารถมาใช้ร่วมกันได้โดยไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวภายในบ้าน ตัวบ้านตั้งอยู่ด้านในสุดของที่ดิน จึงหันหลังให้รั้วที่ติดกับเพื่อนบ้าน วางอาคารแนวยาวตามลักษณะที่ดินขนาด 200 ตารางวา และหันด้านหน้ามายังทิศตะวันออกซึ่งเห็นบ้านคุณพ่อคุณแม่ ภายในบริเวณมีบ้านหลายหลังที่ไม่ได้ทำรั้วกั้น แต่เว้นระยะห่างให้มีต้นไม้แทรกแผ่ร่มเงาทั่วบริเวณ แม้จะอยู่กลางเมืองแต่ก็เงียบสงบ เว้นแต่เสียงแหวกอากาศของเครื่องบินที่ดังมาเป็นระยะ เป็นเสียงที่เจ้าของบ้านคุ้นเคยเพราะได้ยินมาตั้งแต่เด็กและยังคงคุ้นเคยดีมาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเจ้าของบ้านทั้งคู่เป็นนักบินซึ่งต้องอยู่ในห้องปรับอากาศขนาดเล็กตลอดเวลาการทำงาน คุณวิน […]