ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา
คุยกับ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย ใน 6 ประเด็นคัดค้านทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา
room ขอร่วมไขประเด็นการคัดค้านโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คุยกับรศ.ดร.พนิต ภู่จินดา เพื่อหาคำตอบว่าเหตุใดเราจึงไม่ควรสร้างทางเลียบฯ แท้จริงแล้วทางเลียบฯ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้จริงหรือไม่ รวมถึงคำถามที่ไร้คนตอบว่าทำไมไม่เริ่มต้นจากการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ของรัฐที่อยู่ริมแม่น้ำให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยวที่ดีเสียก่อน
ทบทวนทางเลียบฯ – ทำความเข้าใจ “ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา” กับแบบ “ทางเดินริมน้ำ” อื่นๆ ทั่วโลก
หากใครยังจำได้ “ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ” หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ” นั้นได้เงียบหายไปจากความสนใจของสังคมพักใหญ่ แต่ก็เหมือนกับแม่น้ำสายใหญ่ที่ไม่เคยหยุดไหลหล่อเลี้ยงมหานคร ข่าวเรื่องการก่อสร้างทางเลียบฯ นั้นเพิ่งเวียนกลับมาในกระแสอีกระลอก เมื่อสำนักการโยธา กรุงเทพมหานครเปิดเผยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่าสภากรุงเทพมหานครมีมติอนุมัติโครงการพร้อมด้วยแบบพร้อมประมูลแล้ว เหลือเพียงรอให้คณะรัฐมนตรีเซ็นอนุมัติเพื่อจัดหาผู้ก่อสร้างเท่านั้น จึงมีเสียงคัดค้านสวนขึ้น เมื่อสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ออกหนังสือแถลงการณ์คัดค้านโครงการทางเลียบฯ พร้อมกับความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพฯ และเครือข่ายจำนวน 32 องค์กรเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ด้วยเหตุผลที่ว่า ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา นั้นจะมีผลกระทบมากมายทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และผังเมือง เราจึงน่าจะกลับมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง ว่าโครงการที่ว่านี้นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรในปัจจุบันและแตกต่างอย่างไรบ้างไหมกับโครงการริมน้ำในที่อื่นๆ ทั่วโลก ทางเลียบฯ แค่ 1 ใน 12 แผน “โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” หรือชื่อเล่นที่คนรู้จักว่าโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ”เป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 โดยแรกเริ่มนั้นถูกระบุว่าจะถูกสร้างให้เป็นทางเลียบแม่น้ำสำหรับรองรับจักรยาน (Bike […]