บัวหลวง
มาทำความรู้จัก “ดอกบัว” กันเถอะ
บัว เป็นไม้น้ำประเภทที่อยู่เหนือน้ำคือมีรากอยู่ในดินใต้น้ำ ใบและดอกชูสูงขึ้นเหนือน้ำ บัวมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาช้านาน โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม การดำรงชีวิต และศิลปะแขนงต่าง ๆ สำหรับชาวไทยเรานั้นมีการนำรูปดอกบัวมาสร้างเป็นลวดลายที่อ่อนช้อย นำเหง้าไหล และก้านดอกบัวมาประกอบอาหาร ซึ่งอุดมด้วยคุณค่าและสรรพคุณทางยา ส่วนดอกบัวก็นำมาใช้บูชาพระ และปลูกประดับไว้ภายในบ้านเพื่อความสวยงาม บัวมีกี่ชนิดกันนะ บัวแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ บัวหลวงหรือปทุมชาติ (Lotus) เป็นบัวสกุล Nelumbo มีไหล (stolon) และเหง้า (rhizome) อยู่ใต้ดิน ใบรูปก้นปิด มีขนาดใหญ่ ก้านใบและก้านดอกมีหนามปกคลุม ดอกมีทั้งดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว กลีบดอกกว้าง มี 3 สี คือ สีขาว ชมพู และเหลือง ใบและดอกชูขึ้นเหนือน้ำ บัวอุบลชาติ (Water Lily) เป็นบัวสกุล Nymphaea ได้แก่ มีเหง้าใต้ดิน ใบลอยแตะผิวน้ำ มีรูปร่างหลายแบบ ไม่มีหนาม ดอกบานได้นาน 3 – 4 วัน […]
บัวหลวง
Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์: Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์: Nelumbonaceae ประเภท: ไม้อยู่เหนือน้ำ ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ใบ: รูปกลมใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-40 ซม. สีเขียว มีนวลเคลือบ ก้านใบชูเหนือน้ำ ดอก: มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน สีขาวหรือสีชมพู กลีบดอกใหญ่ กลางดอกมีฐานรังไข่และเกสรจำนวนมากและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตอนเช้าหรือกลางคืน ก้านดอกยาวชูขึ้นเหนือน้ำและมีหนามเล็กๆ ออกดอกตลอดปี แต่ดกในฤดูร้อนและฤดูฝน ดิน: ดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง เจริญได้ดีที่ระดับน้ำ 15-30 ซม. แสงแดด: ครึ่งวันถึงเต็มวัน ขยายพันธุ์: แยกหนิ่เหง้า การใช้งานและอื่นๆ: กลีบดอกทั้งขาวและชมพูชุบแป้งทอดจิ้มซอสพริก กลีบดอกเป็นยาฝาดสมาน เกสรดอกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเกสรทั้งห้า ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ชาวมาเลเซียใช้กลีบดอกชั้นในตำพอกแก้โรคซิฟิลิส ชาวชวาใช้แก้ท้องร่วง บัวเข็มชมพู บัวไต้หวัน บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera Gaertn. var. pekinese […]