บ่อปลาคาร์ป
ปรับปรุงสวนเก่า ให้กลายเป็นสวนญี่ปุ่นในแบบฉบับดั้งเดิม
ด้วยหน้าที่การงานของ คุณต๊อด-พงษ์สิน พฤกษมาศน์ ที่มีโอกาสเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นบ่อยครั้ง ทั้งยังสนใจในศิลปวัฒนธรรมของชนชาตินี้ ทำให้สวนบนเนื้อที่กว่า 200 ตารางวารอบบ้าน เต็มไปด้วยกลิ่นอายความเป็น สวนญี่ปุ่นในแบบฉบับดั้งเดิม ต่างจากสวนญี่ปุ่นที่เราเคยเห็นทั่วไป สวนนี้เป็นฝีมือการออกแบบและจัดสวนของ คุณภูริ-ภูริวัจน์ วรากิติยาวิโรจกุล แห่ง Wabisabi Spirit ซึ่งเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการจัดสวนให้ฟังว่า “คุณต๊อดทักมาที่เพจร้านผม เพื่อปรึกษาเรื่องสวนครับ คุยไปคุยมาก็ทราบว่าชอบเลี้ยงปลาคาร์ปเหมือนกัน เลยคุยกันถูกคอ เข้าใจอะไรตรงกันง่ายขึ้น ผมเข้าไปดูสวนที่บ้านคุณต๊อด ซึ่งเดิมเป็นสวนญี่ปุ่นอยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกต้องตามแบบฉบับสวนญี่ปุ่นดั้งเดิมเสียทีเดียว อีกทั้งสวนก็เริ่มโทรมแล้วด้วย คุณต๊อดเลยอยากปรับปรุงสวนใหม่ทั้งหมด “การทำงานออกแบบของผมอาจไม่ได้เริ่มที่ ลูกค้าต้องการอะไร แต่เริ่มจากผมมีอะไรมากกว่าครับ ผมมีของที่ต้องใช้สำหรับสวนญี่ปุ่นที่สั่งเข้ามาค่อนข้างมาก ผมเฟ้นหาและสะสมต้นไม้ในบ้านเราจากทั่วทุกภาคที่มีลักษณะใกล้เคียงกับต้นไม้ที่ต้องใช้ โดยไม่ต้องสั่งนำเข้าจากญี่ปุ่น เวลาไปคุยกับลูกค้าก็จะรู้ว่าเขาชอบอะไร อยากได้อะไร และผมมีอะไรที่จะนำมาใช้ได้ จึงค่อยออกแบบให้ลูกค้าสวนที่ได้ก็จะตรงใจกับที่สิ่งที่เขาต้องการครับ “คุณต๊อดให้อิสระในการออกแบบเต็มที่ส่งแบบที่ชอบให้ดู เริ่มจากซุ้มประตูหน้าบ้าน ผมดึงซุ้มประตูบ้านที่ญี่ปุ่นมาใช้ อยากสื่อถึงการต้อนรับเข้าบ้าน พื้นวางแผ่นหินแกรนิตเรียบ ๆ ที่เดินง่าย เป็นแผ่นแกรนิตโบราณอายุนับร้อยปี นำเข้าจากญี่ปุ่น ผ่านรอยเกวียน รอยวัวเดินมาแล้ว จึงทำให้มีผิวเรียบลื่นและมันวาว ซึ่งในบ้านเราไม่มีครับ ส่วนที่เหลือโรยด้วยหินแม่น้ำของบ้านเรา สนใบพายต้นใหญ่ทรงบอนไซอายุกว่า 60 ปีเป็นต้นเดิมที่มีอยู่แล้ว ตกแต่งเพิ่มด้วยตะเกียงหิน หินประดับ และตุ๊กตาจิโซซัง (เทพผู้คุ้มครองเด็ก) “ทางเดินในสวนเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่ตั้งใจนำมาใช้เล่าเรื่องในสวน ถัดจากซุ้มประตูเข้ามาจะเป็นทางเดินที่เรียกว่า ‘โนะเบะดัน’ จะเห็นได้ตามวังหรือวัดในญี่ปุ่น วางแผ่นแกรนิตโบราณและกรวดแม่น้ำในรูปแบบการวางหินตามตำราโบราณ มีลักษณะเป็นทางเดินที่ทอดยาวเป็นเส้นตรง เน้นให้เดินง่ายและเดินเร็วได้ สองข้างทางก็จะเล่าเรื่องของสวนภูเขา มีเนินมอสส์วางประดับด้วยหินที่สมมติว่าเป็นภูเขา แต่ด้วยความที่ทางเดินทอดยาวมากอาจทำให้รู้สึกน่าเบื่อ จึงต้องทำฉากไม้ไผ่ตกแต่งด้วยต้นไม้ขึ้นมากั้น เพื่อเรียกความสนใจระหว่างทาง ก่อนที่อารมณ์ของผู้เดินจะหลุดไปที่ท้ายสวนเร็วเกินไปครับ “ผ่านจากทางเดินโนะเบะดันแล้ว จะเปลี่ยนรูปแบบทางเดินใหม่ที่เรียกว่า ‘อะระเระโคะโปะชิ’จะใช้ก้อนหินทรายที่ขัดลบเหลี่ยมมาวางเรียงต่อกันแบบฟรีฟอร์ม ผมเรียงหินในรูปแบบที่ชื่อ‘มุชิกุย’ (หมายถึง แมลงกินใบไม้) […]
ต่อเติมบ้านลอฟต์ให้เป็นคลับเฮ้าส์ของครอบครัว
จากความต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บ้านโครงสร้างเหล็ก หลังนี้จึงเกิดขึ้น เป็นบ้านลอฟต์หลังใหม่ที่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการสังสรรค์ ช่วยเชื่อมชีวิต ช่องว่างระหว่างวัย และความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกว่าเก่า เมื่อลูกเริ่มต้องการสเปซส่วนตัว จุดเริ่มต้นของ บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่ออกแบบเป็นบ้านลอฟต์สไตล์คลับเฮ้าส์หลังนี้เกิดจากความต้องการสร้างพื้นที่ไลฟ์สไตล์ให้ลูก เนื่องจากลูกชายและลูกสาวกำลังโตเป็นวัยรุ่นที่เริ่มมีชีวิตส่วนตัว มีสังคมเพื่อนฝูง และตัวบ้านเดิมซึ่งเป็นบ้านจัดสรรไม่ตอบโจทย์พื้นที่ใช้งาน ผนวกกับความต้องการให้ส่วนต่อเติมใหม่นี้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น เป็นพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งรูปแบบครอบครัวและส่วนตัว ที่พ่อแม่สามารถเห็นไลฟ์สไตล์ลูกๆ ในสายตา ขณะเดียวกันลูกๆ ก็ได้เห็นว่าพ่อแม่มีงานอดิเรกเลี้ยงปลาคาร์ป ทำสวน มีเพื่อนฝูงมาพบปะ ใช้ชีวิตเหมือนตัวเอง เพียงแค่ต่างวัยกันเท่านั้น โครงสร้างเชื่อมต่อวิถีชีวิต สถาปนิกเริ่มออกแบบโครงสร้างและพื้นที่การใช้งานจากสิ่งแวดล้อมเดิม ได้แก่ ทิศทางแดด และลม พื้นที่สวนที่มีต้นไม้ใหญ่ของคุณแม่และบ่อปลาคาร์ปของคุณพ่อ ซึ่งนำมาเป็นองค์ประกอบร่วมของการกำหนดรูปทรงบ้าน รูปแบบและทิศทางของพื้นที่ใช้งานแต่ละจุดของการต่อเติมบ้านลอฟต์ทั้งภายนอกและภายใน จึงออกมาเป็นบ้านลอฟต์ 2 ชั้นที่ทุกคนใช้พักผ่อน รับแขก เรียน ทำงาน ทำกิจกรรมได้ครบหมด ร่วมด้วยวิวสวนเดิมและบ่อปลาคาร์ปใหม่ ที่เป็นเหมือนการเชื่อมต่อวิถีชีวิตเดิมของพ่อแม่ในรูปแบบใหม่เข้ากับวิถีชีวิตของลูกๆ เชื่อมต่อห้องลูกชายกับบ้านลอฟต์ การต่อเติมใหม่นี้ใช้วิธีสร้างความต่อเนื่องและจุดเปลี่ยนผ่านจากบ้านหลังเก่าสู่บ้านลอฟต์หลังใหม่ จากห้องนอนของลูกชายบริเวณชั้น 2 ที่ต่อเติมขยายห้องและมีประตูเชื่อมต่อกับพื้นที่สังสรรค์ใหม่ของเขาได้เหมือนเป็นบ้านส่วนตัว ส่วนสมาชิกในบ้านคนอื่นสามารถเดินมายังบ้านหลังใหม่โดยใช้จุดเชื่อมบริเวณชานพักบันไดชั้น 2 ที่เชื่อมติดกับพื้นที่ของบ้านคลับเฮาส์ชั้น 2 ได้เช่นเดียวกัน ลอฟต์สนุก เปิดโล่ง เชื่อมความสัมพันธ์ บ้านลอฟต์หลังใหม่ออกแบบด้วยโครงเหล็ก […]
บ่อปลาคาร์ปหมายเลข 8 ในสวนญี่ปุ่นร่วมสมัย
สวนญี่ปุ่นร่วมสมัยที่มีหัวใจอยู่ที่บ่อปลาคาร์ป โดยลงทุนวางระบบต่างๆอย่างละเอียด เพื่อให้ปลามีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมแนวคิดในการจัดสวนที่เน้นความสงบร่มรื่นอิงธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็สร้างสเปซและเส้นสายต่าง ๆ ให้ดูเรียบง่าย แต่เปี่ยมด้วยความอบอุ่น ออกแบบจัดสวน : Murraya Garden โดยคุณฐาปนิต โชติกเสถียร เจ้าของ : คุณพิริยรัชต์ ภัทรกิตต์เกษม บ่อปลาคาร์ปในสวนญี่ปุ่นร่วมสมัย “ปลาคาร์ปที่มีลักษณะดีจะมีราคาสูง คือ มีโครงสร้างส่วนสะบักหลังใหญ่ สีสันและลวดลายบนลำตัวชัดเจน มีลักษณะการว่ายน้ำที่สมดุล” คุณเอก–พิริยรัชต์ ภัทรกิตต์เกษม เจ้าของบ้าน ชี้ชวนให้เราดูปลาคาร์ปสวย ๆ ที่ว่ายวนไปมาในบ่อ “หลังฝนตกสังเกตว่าน้ำในบ่อจะเกิดฟองบนผิวหน้า เนื่องจากค่า pH ของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ทำให้ปลาขับเมือกออกมา เราจึงต้องหาวิธีขจัดเมือกเหล่านี้ด้วยระบบกรองที่ดี” คุณเอกเกริ่นนำว่า เริ่มเลี้ยงปลาคาร์ปมานานกว่าสิบปี เคยส่งปลาเข้าประกวดได้รับรางวัลจากเวทีต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง แต่หลังจากนั้นก็ได้ชะลอการเลี้ยงลง เมื่อถูกถามถึงสาเหตุ คุณเอกเล่าว่าแม้จะได้ปลานำเข้าที่มีลักษณะสวยงามถูกใจมาเลี้ยง แต่หากระบบกรองที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวย ก็ทำให้ปลาที่มีคุณภาพเหล่านี้เกิดโรคและไม่สวยงามตามที่คาดหวังไว้ จนเมื่อสองปีก่อนงานระบบบ่อเลี้ยงปลาในเมืองไทยเริ่มพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก มีผู้นำเข้าอุปกรณ์ที่มีคุณภาพมาจำหน่ายกันมากขึ้น ทำให้คุณเอกหันมาสนใจเรื่องการเลี้ยงปลาคาร์ปอีกครั้ง เริ่มจากรีโนเวตบ่อปลาและสวนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งในเรื่องของสวนนั้นยกให้ คุณไม้–ฐาปนิต โชติกเสถียร […]
บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่เชื่อมโยงการอยู่ร่วมกันด้วยสวนกลางบ้าน
บ้านโมเดิร์น ที่มองจากภายนอกเห็นเป็นเพียงอาคารทรงกล่องปิดทึบ เเต่ภายในกลับโปร่งสบายด้วยคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมโยงทุกคนในครอบครัวให้มีกิจกรรมร่วมกัน โดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวเเละไลฟ์สไตล์อิสระของเเต่ละคนเอาไว้เเบบไม่อึดอัด
สวนของคนรักปลาคาร์ปกับความสุขใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
บรรยากาศสีเขียวและไอเย็นที่ลอยออกมาจากบ้านทำให้รู้สึกได้ถึงความสบายและสดชื่น โดดเด่นด้วย บ่อปลาคาร์ป เเละพรรณไม้น้อยใหญ่ที่ปลูกลดหลั่นกันไปดูเป็นธรรมชาติ DESIGNER DIRECTORY : เจ้าของ : คุณก้องเกียรติ – คุณอัมพร สุขรัตนวงศ์ /จัดสวน : บริษัทสวนสวย แลนด์สเคป จำกัด ก่อนที่ผมจะเดินเข้าไปในสวนที่โดดเด่นด้วย บ่อปลาคาร์ป ย่านตลิ่งชันแห่งนี้ บรรยากาศสีเขียวและไอเย็นที่ลอยออกมาจากบ้าน ทำให้ผมรู้สึกได้ถึงความสบายและสดชื่น คุณไห – ทินกร ศรีวัฒนะธรรมา จากบริษัทสวนสวยแลนด์สเคป จำกัด ผู้ออกแบบสวนแห่งนี้ กล่าวทักทายและเล่าถึงการจัดสวนแห่งนี้ให้ฟังคร่าว ๆ ว่า “สวนและ บ่อปลาคาร์บ แห่งนี้มีรูปทรงคล้ายตัวแอล (L) ครับ มีพื้นที่บริเวณหลังบ้านค่อนข้างกว้าง แต่ตอนจัดสวนมีความยุ่งยากเล็กน้อย เพราะเราก่อสร้างน้ำตกด้วย จึงไม่สามารถเอาเครื่องจักรเข้ามาทำงานได้เต็มที่ ต้องใช้แรงงานคนทั้งหมด เราเลยเลือกใช้หินทรายแดงซึ่งมีน้ำหนักค่อนข้างเบากว่าหินชนิดอื่น แล้วใช้รอกจัดวางเรียงเป็นชั้นน้ำตก ส่วนเสาเข็มเองก็เช่นกัน เราต้องใช้คนตอกแทนปั้นจั่น” บรรยากาศภายในสวนหน้าบ้านดูร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ที่ปลูกลดหลั่นกันไปดูเป็นธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้รกเสียทีเดียว “ความจริงสวนแห่งนี้จัดเสร็จมานานแล้วครับ แต่บังเอิญเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 จึงต้องมาเริ่มจัดใหม่ ยังดีที่มีต้นไม้รอด เช่น […]
สวนทรอปิคัลของคนรักปลาคาร์ป ที่มีความสุขทั้งคนทั้งปลา
สัมผัสบรรยากาศความสดชื่นของ สวนทรอปิคอล ไปพร้อมกับความมีชีวิตชีวาของปลาคาร์ปตัวโต ที่แหวกว่ายไปมาอย่างพลิกพลิ้ว จนเกิดสุนทรียภาพในหลากหลายแขนง
หลากหลายข้อดี ของการมีน้ำในสวน
รู้หรือไม่ ?? ปลาเป็นสัตว์มงคล เพราะคำว่าหยู ที่หมายถึงปลา จะพ้องเสียงกับคำว่าหยู ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ปลาจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง
ปลาในสวน
การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยปลาลงบ่อ ซึ่งควรให้ความระวังและหาข้อมูลตามประเภทและชนิดของปลาเพื่อปฏิบัติให้เหมาะสม ครั้งนี้เราจะมาแนะนำปลาที่เลี้ยงได้ในบ่อกลางแจ้งกัน
พักกาย พักใจ ใน สวนเมืองร้อน
แม้เทรนด์การจัดสวนจะมีให้เลือกหลากหลาย ทว่า “ สวนเมืองร้อน ” ยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอ บรรยากาศรอบตัวที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ชวนให้รู้สึกน่าพักผ่อน
ขั้นตอนการเตรียมทำบ่อปลาคาร์ป พร้อมเทคนิคการดูแล
ปลาคาร์ป คงไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่แปลกใหม่สำหรับใครหลายคน แต่หากถามถึงวิธีการเลี้ยงและดูแลปลาชนิดนี้หลายคนอาจเริ่มไม่แน่ใจ เราจึงขอหยิบยกเคล็ดลับการเตรียม บ่อปลาคาร์ป มาเล่าให้ฟัง เผื่อให้ลองไปทำตามกันครับ