© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
รีโนเวตตึกเเถวจากบ้านเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เจ้าของบ้านได้ชุบชีวิตใหม่ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างาม และสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลาได้อย่างน่าทึ่ง เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย และคุณนพดล ขาวสำอางค์ ในวันที่มาเยี่ยมชมบ้านหลังนี้ แม้จะไม่ได้พบเจ้าของบ้าน แต่เรากลับไม่รู้สึกว่าบ้านดูเหงา เพราะทุกอย่างในบ้านดูสวยงามและมีชีวิต ซึ่งมาจากมุมมองทางศิลปะที่ยอดเยี่ยมของเจ้าของบ้าน คุณนพดล ขาวสำอางค์ ช่างภาพมืออาชีพ และ คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย ศิลปินเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ รีโนเวตตึกแถว เก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส กลางย่านถนนนครใน ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างามและสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลา มองจากภายนอกอาจเห็นเพียงโครงตึกเก่าสองชั้นที่ใช้โทนสีเทาเข้ม ทว่าก็สร้างความรู้สึกประทับใจได้ตั้งแต่แรกเห็น บริเวณหน้าบ้านวางกระถางต้นไม้เป็นแนว ช่วยให้บ้านตึกแถวริมถนนดูน่าอยู่และกลมกลืนไปกับชุมชนรอบ ๆ ทั้งยังรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้านไว้ด้วย รีโนเวตตึกเเถว ภายในบ้านเน้นการตกแต่งแบบเรียบง่ายและใช้ข้าวของน้อยชิ้น มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนเล็กๆเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เมื่อเดินมาถึงกลางบ้านจะเห็นคอร์ตยาร์ดที่เปิดโล่งรับแสงธรรมชาติ ทำให้ลืมภาพบ้านตึกแถวที่แคบและมีแสงสลัวๆไปเลย บริเวณนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งมักเปิดโล่งและทำเป็นบ่อน้ำ ทว่าก่อนการปรับปรุงเจ้าของเดิมมุงหลังคากระเบื้องเพื่อป้องกันลมฝน คุณนพดลและคุณเกล้ามาศจึงออกแบบให้เปิดหลังคาออก เพื่อรับแสงแดดและลมได้เต็มที่ แต่เก็บบ่อน้ำของเดิมเอาไว้ เจ้าของบ้านทั้งสองพยายามคงเสน่ห์ของของเดิมในบ้านนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคารเดิม ระดับของฝ้าเพดานที่สูงโปร่ง บันไดไม้เดิมทาสี พื้นไม้เก่าที่ทำความสะอาดใหม่และรักษาพื้นผิวขรุขระตามธรรมชาติของไม้ไว้ โดยไม่มีการขัดมันลงแวกซ์ ส่วนที่ต่อเติมใหม่คือบริเวณดาดฟ้าที่ออกแบบเป็นห้องพักแขก มีการกรุหน้าต่างกระจกใสรอบห้องนี้ เพื่อให้มองเห็นความสวยงามของบรรยากาศเมืองเก่าริมทะเลสาบสงขลา ทั้งยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพราะส่วนต่อเติมนี้ไม่บดบังหรือรบกวนสายตาบ้านเรือนข้างเคียง บรรยากาศที่สวยงามของบ้านหลังนี้ยังเกิดจากการจัดวางเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ทว่าแต่ละชิ้นให้ความรู้สึกเหมือนงานศิลปะ […]
บ้านปูนสไตล์โมเดิร์น ที่ผนวกฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละสตูดิโอถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง เด่นด้วยรูปทรงเรียบเท่ที่สถาปัตยกรรมได้กลายเป็นองค์ประกอบรองจากธรรมชาติ โดยเฉพาะไม้ใหญ่ฟอร์มสวยที่เปรียบเสมือนพระเอกของบ้าน บ่งบอกว่าการอยู่อาศัยท่ามกลางพื้นที่สีเขียวนั้นสำคัญยิ่ง DESIGNER DIRECTORY: สถาปนิก : SUBPER โดยคุณราชิต ระเด่นอาหมัด / เจ้าของ : คุณผกามาศ รัตสุวรรณ์ และคุณนที ชูทวี บ้านปูนสไตล์โมเดิร์น จากดีไซน์สุดดิบเท่ของ บ้านปูนสไตล์โมเดิร์น หลังนี้ คุณอาจคิดว่านี่เป็นบ้านเท่ ๆ ที่ไหนสักแห่งในกรุงเทพฯ เเต่ใครจะคิดว่าแท้จริงเเล้วที่นี่เป็นบ้านกลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีจุดเด่นอยู่ที่รูปทรงเรียบเท่แบบโมเดิร์น แต่เมื่ออยู่ท่ามกลางต้นไม้ใบเขียวขนาดใหญ่ ก็สามารถอิงแอบไปกับธรรมชาติรอบตัวได้อย่างกลมกลืนจนแทบจะกลืนหายไปจากสายตา นั่นเพราะ คุณราชิต ระเด่นอาหมัด สถาปนิกผู้ออกแบบจาก Subper ตั้งใจให้ต้นไม้เป็นพระเอกของสถานที่มากกว่างานสถาปัตยกรรม บ้านปูนสไตล์โมเดิร์น “เริ่มต้นตอนแรก เราแค่อยากมีบ้านสวย ๆ เพื่อใช้เป็นสถานที่ถ่ายภาพงานพรีเว้ดดิ้งที่ทำอยู่จะได้ไม่ต้องตะลอนไปตามที่ต่าง ๆ เลยไม่ค่อยได้คิดถึงฟังก์ชันอะไรมากไปกว่ามุมสวย ๆ หลากหลายมุมในบ้าน ก็ใช้วิธีไปดูไอเดียตามบ้านจัดสรรหลายที่ ก่อนจะมาให้สถาปนิกช่วยสร้างบ้านหลังนี้” คุณดา-ผกามาศ รัตนสุวรรณ์ เจ้าของบ้านเล่าถึงที่มาของการสร้างบ้านให้ฟัง บนพื้นที่โล่ง ๆ ขนาด 1 ไร่ สถาปนิกได้ออกแบบบ้านปูนสไตล์โมเดิร์น โดยให้หน้าบ้านหันไปรับแสงอ่อน ๆ […]
บ้านโมเดิร์น เหมือนกับที่เจ้าของบ้านบอกสถาปนิกไว้ก่อนสร้าง แบบบ้านไทยโมเดิร์น หลังนี้ว่า “อยากได้บ้านแบบไทยๆ ที่คนไทยอยู่ได้สบาย มีใต้ถุนที่เปิดโล่ง และลมพัดระบายอากาศ..
บ้านหลังนี้ซึ่งตั้งอยู่ในย่าน Canggu บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในท้ายที่สุด บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ที่ตั้งใจทำเป็นบ้านชั่วคราว ก็กลายเป็นบ้านสวยแบบถาวร
ดึงวิวธรรมชาติสวยๆ เข้ามาสู่มุมพักผ่อนในบ้าน โดยคำนึงถึงแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประกอบกัน เพื่อนำพาไปสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืนต่อไป
รวมไอเดียเอาใจคนชอบ บ้านทรงกล่องสไตล์โมเดิร์น ด้วยการคัดบ้านทรงกล่อง 12 หลัง ที่มีดีไซน์เรียบเท่มาให้ชม หรือถ้ายังไม่จุใจเข้าเว็บไซต์ baanlaesuan.com ก็ยังมีให้ชมอีกเพียบ!
แบบบ้านโมเดิร์น เบื้องหลังผนังสีขาวราวกระดาษที่ปิดทึบ ผลงานจาก IDIN Architects ที่ต่อยอดความหมายของ “Tropical Architecture” ได้อย่างน่าสนใจอีกครั้ง
แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”
เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณปวริศร์ – คุณสุรีย์ สุทธิสาร บ้านน่าอยู่ ไม่แปลกที่ธรรมชาติแห่งขุนเขาและกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า รวมถึงสายลมอันบริสุทธิ์สดชื่นรอบๆเขาใหญ่จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญของการบอกลาชีวิตในกรุงเทพฯ แต่เหนืออื่นใดก็คงเป็นเพราะ คุณแนน – สุรีย์ สุทธิสาร ภรรยาคนสวยเป็นคนพื้นถิ่นแถวนี้ ทำให้ คุณปั๊บ – ปวริศร์ สุทธิสาร ตัดสินใจมาสร้างครอบครัวและบ้านพักอาศัยหลังใหม่อยู่ที่เขาใหญ่เป็นการถาวร ระยะเวลาร่วม 8 ปีของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยๆ เหล่านี้ ยังทำให้คุณปั๊บเกิดแนวคิดที่จะแบ่งปันความสุขด้วยการสร้างโครงการบ้าน 1.618 ขึ้นบนพื้นที่กว่า 42 ไร่ ที่ระดับความสูงประมาณ 430 เมตร ซึ่งมีขุนเขาสูงโอบล้อมรอบทิศทาง แถมด้วยช่องลมธรรมชาติที่รับลมได้ตลอดทั้งปี สำหรับแนวคิดการออกแบบมีจุดเริ่มต้นจากอัตราส่วน 1.618 ที่เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีคิดค้นขึ้นจากสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และกลายเป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์ให้วงการศิลปะและสถาปัตยกรรมนำไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดโมนาลิซา วิหารพาร์เธนอน หรือโลโก้ของแบรนด์ Apple กระทั่งมาเป็นอัตราส่วนในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้ให้ลงตัวและงดงาม “ผมอยากสร้างบ้านที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ให้มากที่สุด ไม่ใช่เอาบ้านจากประเทศไหนๆมาตั้งอยู่ที่เขาใหญ่เฉยๆ เพราะด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกมาก ผมจึงให้ความสำคัญกับหลังคาเป็นอันดับแรก […]
บ้านชั้นเดียว ที่เด่นด้วยผนังอิฐโชว์แนวสีน้ำตาลแดงในแพตเทิร์นใหม่ๆ ดูแปลกตาตัดกับปูนเปลือยขัดมันทาบทับในแนวเฉียงแทรกด้วยงานไม้ไผ่ในแนวตั้ง
นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]
บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่คาดคะเนว่าอาจมีน้อยคนนักที่จะสนใจที่ดินผืนนี้…ทำไมน่ะหรือ Design Directory สถาปนิก : Kusol Im-Erbsin บ้านโมเดิร์น ก็เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่หินธรรมดาเสียด้วย เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการวางแปลนบ้านก็จะยากกว่าบ้านทั่วไปหรือแม้แต่บ้านบนเนินเขาหลายเท่านัก แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น ที่ดินขนาดประมาณ 1 ไร่นี้ดูคับแคบกว่าความเป็นจริง เพราะเต็มไปด้วยหินธรรมชาติขนาดยักษ์ ขอบเขตของพื้นที่ต่ำกว่าระดับถนนลงไปเป็นผาหินชัน บังตัวบ้านสองชั้นจนมองเห็นแค่หลังคาบางส่วนเท่านั้น เราจึงไม่อาจคาดเดาหน้าตาของบ้านว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร ที่ดินที่มีระดับแตกต่างกันมาก ประกอบกับเต็มไปด้วยหิน ทำให้การออกแบบอาคารต้องแยกพื้นที่ใช้สอยให้ห่างกัน เป็น บ้านโมเดิร์น ภายใต้หลังคาแบบเพิงหมาแหงนที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยทุกพื้นที่จะมีการ “เล่นเส้น” อย่างแยบยล สร้างความเชื่อมโยงและปรับความรู้สึกของแปลนรูปทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่น่าเบื่อด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ยกระดับพื้นให้ลดหลั่นกัน เปิดฝ้าเพดานขึ้นไปจนติดหลังคา ปล่อยเปลือยโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับแสงด้านข้างและลวงตาให้เกิดเป็นเส้นสายในงานออกแบบ ทำให้รูปทรงดูต่างออกไป และสร้างความรู้สึกสบายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ การวางตำแหน่งอาคารจึงแยกเป็น 3 หลัง มีเรือนหลังใหญ่สองชั้นที่วางแปลนเป็นรูปตัวที (T) ชั้นบนเป็นส่วนนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง เผยให้เห็นงานโครงสร้าง ผนังด้านในบางส่วนตีไม้ระแนง บางส่วนเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนสลับกับกระจกใส มีระเบียงโล่งแนวขวางตั้งฉากกับห้องจัดเป็นส่วนรับประทานอาหารแบบเอ๊าต์ดอร์ ส่วนชั้นล่างของเรือนใหญ่แม้จะเน้นให้มีความเรียบโล่ง แต่ก็มีผนังกั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนมากกว่าชั้นบน หลักๆ ออกแบบเป็นผนังบานเลื่อนกระจกใสขนาดใหญ่เต็มผนัง ประกอบด้วยส่วนนั่งเล่นที่ออกแบบเป็นเตียงขนาดใหญ่ ใกล้กันเป็นห้องรับประทานอาหารกึ่งทางการ และส่วนที่อยู่ในสุดเป็นแพนทรี่แบบทันสมัย เรือนหลังที่สองเป็นเรือนชั้นเดียว […]