บ้านครอบครัวใหญ่ – บ้านและสวน

บ้านทรงกล่อง ที่ยื่นผนังและปาดเอียงฝ้า เพื่อให้ได้มุมมองที่ดีที่สุด

บ้านทรงกล่อง ที่ออกแบบให้มีผนังกับฝ้ายื่นและปาดเอียง เพื่อเปิดมุมมองของทุกชั้นภายในสู่ธรรมชาติของท้องฟ้า ผืนน้ำ และพื้นที่สีเขียว ในแบบเฟรมเดียวกัน

ไอเดีย แต่งบ้านไม่กั้นห้อง เพื่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว

แต่งบ้านไม่กั้นห้อง หรือ Open plan เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่การใช้งานต่างๆ มารวมไว้ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน เช่น ห้องนั่งเล่น โต๊ะกินข้าว มุมครัว ทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของบ้าน เป็นพื้นที่ที่สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ได้มีปฎิสัมพันธ์ รับรู้ถึงกันได้ถึงแม้จะอยู่คนละมุมของห้องก็ตาม การ แต่งบ้านไม่กั้นห้อง โดยเฉพาะบ้านที่มีสมาชิกหลายช่วงวัย เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า และลูกหลาน การจัดวางผังในสอดคล้องกับการใช้งาน เหมาะสมกับคนหลายช่วงอายุ จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงตั้งแต่ต้น รวม 3 พื้นที่สำคัญไว้ในห้องใหญ่ การ แต่งบ้านแบบไม่กั้นห้อง มี 3 มุมสำคัญ ครัว(แพนทรี่) – โต๊ะกินข้าว – มุมนั่งเล่น ไว้ในห้องเดียวกัน เมื่อไม่มีการกั้นพื้นที่แบ่งห้อง แต่เปิดให้เป็นห้อง 1 ห้อง ขนาดใหญ่ เมื่อระยะมองเห็นกว้างโล่งขึ้นย่อมทำให้รู้สึกถึงความโปร่งโล่ง ไม่อึดอัด และถึงแม้จะอยู่คนละมุมของห้อง ก็ยังคงรับรู้ถึงกันและกันได้ตลอดเวลา พื้นที่ต่างกันก็จัดผังแบบเปิดโล่งได้ ห้องแคบยาว – บ้านขนาดเล็ก บ้านแฝด ทาวน์โฮม หรือคอนโด สามารถวางทั้ง […]

บ้านรีโนเวตครอบครัวขยาย เชื่อมต่อสเปซหลากหลายในบ้านหลังเดียว

จากบ้านเก่าบนที่ดินใจกลางเมือง แปลงโฉมเป็น บ้านรีโนเวตครอบครัวขยาย สูง 4 ชั้น หน้าตาทันสมัย ที่จัดสรรสเปซส่วนตัวของสมาชิกหลากวัย ได้แก่ คุณพ่อ คุณแม่ คุณย่า และครอบครัวขยายของลูกชายทั้งสามคนเอาไว้ภายในบ้านหลังเดียว บ้านรีโนเวตครอบครัวขยาย หลังนี้เป็นผลงานการออกแบบของ PVWB Studio ที่นำโดยสถาปนิก คุณเตอร์ – วิชญ์วัส บุญประสงค์ และ คุณเชอร์รี่ – พัสวี ว่องเจริญ ผู้เป็นทั้งมัณฑนากรและภรรยาของ คุณกอล์ฟ – ภูริพัฒน์ วุฒิภารัมย์ ลูกชายคนเล็กของบ้านด้วย โดยคุณกอล์ฟเล่าถึงที่มาของการรีโนเวตว่า “เราอยู่บ้านหลังเดิมมากว่า 15 ปีครับ จนลูกชายทั้งสามคนเริ่มแต่งงานมีครอบครัว เลยถึงเวลาปรับปรุงจากบ้านครอบครัวเดี่ยวให้เป็นบ้านครอบครัวขยาย โดยจัดสรรพื้นที่ใหม่ให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ยังมีความเป็นส่วนตัวครับ” ด้วยเนื้อที่จำกัด การรีโนเวตบ้านเก่าสำหรับสมาชิกครอบครัวทั้ง 11 คน จึงเป็นการปันส่วนพื้นที่แต่ละชั้นสำหรับแต่ละครอบครัวย่อย และเชื่อมต่อกันในแนวตั้งด้วยโถงบันไดหลักของบ้าน ด้วยแนวคิดการอยู่ร่วมกันแบบบ้านหลายหลังบนที่ดินผืนใหญ่ “เราออกแบบให้บ้านหลังนี้เป็นเหมือนกับที่ดินที่ลูกแต่ละคนปลูกบ้านอยู่ด้วยกันหลายๆ หลัง โดยที่โถงบันไดเป็นเหมือนกับสนามหน้าบ้านที่เชื่อมบ้านของแต่ละคนเข้าด้วยกันค่ะ” คุณเชอร์รี่อธิบาย โถงบันไดถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมต่อทุกโซนเข้าด้วยกัน ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังย่อยๆ ของตัวเอง […]

บ้าน Neoclassical ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่ของครอบครัว

บ้าน Neoclassical หลังนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบรับการใช้งานคนสามวัย ให้ทุกๆคนได้มีพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ส่วนรวมที่พอดิบพอดี องค์ประกอบแบบ Neoclassical สร้างให้บ้านแลดูเหมือนงานศิลปะ ในขณะที่แฝงไว้ด้วยความชอบในไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน และพื้นที่งานอดิเรกที่บอกเลยว่าจริงจัง สถาปนิก: INCHAN ATELIER โดยคุณอินทนนท์ จันทร์ทิพย์ เจ้าของ: คุณพล – คุณอภิญญา ศรีพงศ์เพา บ้านที่จะเป็นพื้นที่ของทุกๆคน บ้าน Neoclassical หลังนี้เป็นบ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่บนที่ดินเดิมด้วยความที่บ้านเดิมนั้นเริ่มมีการทรุดตัว ประกอบกับการที่เป็นหมู่บ้านจัดสรรค์มาก่อน การจะหาแบบแปลนของบ้านเพื่อทำการรีโนเวทจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และด้วยความต้องการที่เปลี่ยนไป คุณต้อง และคุณเชอร์รี่ (คุณพล – คุณอภิญญา ศรีพงศ์เพา) จึงตัดสินใจทุบบ้านหลังเดิมทิ้งและสร้างใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ต้นแทน เมื่อเป็นบ้านที่เริ่มต้นจากหนึ่งใหม่แล้ว สิ่งแรกที่ถูกตั้งเป็นโจทย์จึงเป็นเรื่องของการใช้งาน บ้านหลังนี้ตั้งใจให้สามารถเป็นที่รวมญาติๆ พ่อแม่ พี่น้อง และเด็กๆได้ในทุกเทศกาล(หรือไม่ใช่เทศกาลก็ตาม) เพราะการใช้เวลาร่วมกันของครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้อง และคุณเชอร์รี่ให้ความสำคัญ การออกแบบพื้นที่ที่สามารถรองรับจำนวนสมาชิกที่มากไปกว่าครอบครัวของคุณต้องเองจึงเป็นสิ่งที่ถูกหยิบขึ้นมาคิด ภายในบ้านหลังนี้นั้นจะต้องมีพื้นที่ที่ทุกๆคนจะได้ใช้เวลาร่วมกัน และในขณะเดียวกันก็ต้องมีพื้นที่ส่วนตัวให้ทุกๆคนสามารถอยู่กับสิ่งที่ชอบของตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราจะเห็นได้จากการวางผังและแบ่งพื้นที่ในแต่ละชั้นของบ้านหลังนี้ อย่างที่สองคือความชื่นชอบในศิลปะ และแฟชั่นของคุณต้องและคุณเชอร์รี่ เมื่อจะเริ่มทำบ้านหลังใหม่ รูปแบบของบ้านจึงต้องตอบโจทย์และตอบใจของเจ้าของบ้านด้วยนั่นเอง ซึ่งในที่สุดก็กลายออกมาเป็นสไตล์ Neoclassical ที่เจือกลิ่นอาย Modern และแฝงอารมณ์ Street Art […]

บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ที่เชื่อมโยงคนสามวัยเข้าด้วยกัน

บ้านโมเดิร์นทรงจั่วหลังนี้ สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมในย่านวิภาวดีจากการตัดสินใจ “ไม่รีโนเวต” เพื่อให้การใช้งานบ้านหลังใหม่นั้นตอบโจทย์ของครอบครัวที่มีถึง 3 ช่วงวัยได้ชัดเจนขึ้น ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการที่ผังบ้านมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ของทุก ๆ คนเข้าหากัน และสร้างให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นของครอบครัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ:  INCHAN Atelier เราเริ่มต้นด้วยที่มาของบ้านซึ่งคุณเปี่ยม – มนต์เทพ มะเปี่ยม และคุณหนู-พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม เจ้าของบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟัง “สิบปีก่อนเราเคยอยู่คอนโดฯ เราสองคนทำงานที่ม.เกษตร และคุ้นชินพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย พอมีลูกเราก็เริ่มมองหาบ้านชั้นเดียวสำหรับสิบขวบปีแรกของลูกชาย และญาติก็แนะนำบ้านและที่ดินตรงนี้ให้” คุณเปี่ยมเล่าว่าเดิมเป็นบ้านขนาด 80 ตารางเมตร ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก พื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านจึงเป็น Common Area เสียเป็นส่วนใหญ่ และนั่นจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของบ้านที่ส่งผ่านมายังบ้านหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จซึ่งออกแบบโดย INchan atelier “พื้นที่กลางบ้านสำหรับทุกคน” “Common Area คือส่วนสำคัญของบ้านหลังนี้ จะเห็นว่าเข้ามาในบ้าน สิ่งแรกที่พบก็คือโต๊ะกินข้าว ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทานอาหารร่วมกันเราก็มักจะรวมตัวกันอยุ่ตรงนี้ และโต๊ะกินข้าวนี้เองที่จะเชื่อมโยงกับครัวของคุณยาย เพราะบ้านเราทำอาหารกินกันสามมื้อ เรียกว่าคุณยายใช้ครัวแทบจะตลอดเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นโต๊ะกลางตรงนี้และห้องครัว แต่ก็มีส่วนห้องนั่งเล่นที่เป็นทีวีกับโซฟาอยู่หลังพาร์ทิชั่นไปทางที่ติดกับสวนครับ” ชั้นล่างของบ้านหลังนี้ จากการใช้งานแล้วแทบจะรวมกันเป็นห้องเดียวโดยมีโต๊ะทานข้าวเป็นศูนย์ […]

บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่เชื่อมโยงการอยู่ร่วมกันด้วยสวนกลางบ้าน

บ้านโมเดิร์น ที่มองจากภายนอกเห็นเป็นเพียงอาคารทรงกล่องปิดทึบ เเต่ภายในกลับโปร่งสบายด้วยคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ทำหน้าที่เป็นส่วนกลางเชื่อมโยงทุกคนในครอบครัวให้มีกิจกรรมร่วมกัน โดยยังคงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวเเละไลฟ์สไตล์อิสระของเเต่ละคนเอาไว้เเบบไม่อึดอัด

รอยต่อของ 3 ยุคในบ้านโมเดิร์นกลิ่นอายไทย

แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

Ode to Two Little Love เพื่อสองหัวใจดวงน้อย

เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]

Third House’s Project บ้านครอบครัวใหญ่

เราอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ รู้สึกอุ่นใจที่มีญาติๆอยู่ใกล้ๆ อีกหน่อยพอน้องแมตต์โตขึ้น...