- Home
- บ้านชนบท
บ้านชนบท
บ้านไม้ ของ เขียนไขและวานิช โฮมสตูดิโอสไตล์พื้นถิ่น
บ้านไม้ พื้นถิ่น ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา เป็นโฮมสตูดิโอของศิลปิน“ เขียนไขและวานิช ”
บ้านไม้ไผ่ ในวิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม
เพราะไม้ไผ่ถือเป็นวัตถุดิบสารพัดประโยชน์ เจ้าของบ้านจึงนำมาเป็นวัสดุหลักของ บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก โดยนำรูปเเบบการวางผังเเละหน้าตาของเรือนเครื่องผูกของชาวเขามาปรับใช้ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิมจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นชายคาที่ยื่นยาว หลังคายกสูงทำให้พื้นที่ภายในโปร่ง อากาศถ่ายเท บ้านจึงไม่ร้อน พร้อมๆไปกับการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง เจ้าของ – ออกแบบ : คุณชัชชัย นนทะเปารยะ บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก รถสองแถวคันใหญ่แล่นมาจอดข้างดงไม้ เสียงเบรกดังตามด้วยฝุ่นแดงๆ คลุ้ง ป้ายไม้ข้างทางบอกว่าถึง“สถานีบางไผ่” ผมกระโดดลงจากรถ เเบกของพะรุงพะรังข้ามฝั่งถนนมานั่งพักอยู่ที่เพิงสังกะสีหน้าร้านขายของชำเเละอุปกรณ์การเกษตร เหลือบมองนาฬิกาตอนนี้บ่ายสองโมงสามสิบห้า ไม่เป็นไร…ผมเลยเวลานัดมานิดเดียว (เนื่องจากการซ่อมถนนแถวแก่งคอยทำเอารถติดยาวเหยียดร่วมชั่วโมง) บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก ได้ยินเสียงรถเครื่องมาจอดเทียบข้างๆ ร้านพอดี คุณอ๊อด – ชัชชัย นนทะเปารยะ บุรุษหนวดงามร่างสันทัดวัยห้าสิบกว่าๆ ยิ้มทักทาย แล้วชวนผมซ้อนมอเตอร์ไซค์คู่ใจขับไต่เนินทางลูกรังและทุ่งมันสำปะหลังเข้าไปเยี่ยม “บ้าน” ของเขาที่เชิงเขา ระหว่างทางยังถามอย่างห่วงใยว่า “โน้ตบุ๊กชาร์จแบตแป๊บเดียวจะใช้พอเหรอ ที่บ้านผมไม่ใช้ไฟฟ้านะเต้” ผมเดินสำรวจรอบๆ บ้านบนเนินดินลาดกว้าง มีพื้นหลังเป็นภูเขาหัวตัดลูกโตเขียวชอุ่มกับท้องฟ้าใส ทั้งตัวบ้านทั้งของใช้ในบ้าน เเทบจะทำจากวัสดุชนิดเดียว คือ “ไม้ไผ่” เป็น บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก ที่ดูเรียบง่ายและพอเพียง “การออกเเบบเเละการใช้งานต่างๆ ในบ้านหลังนี้ส่วนใหญ่มีที่มาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ทั้งนั้น […]
PHU YEN HOUSE บ้านชั้นเดียว บรรยากาศแสนสบายกลางชนบทเวียดนาม
บ้านชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่กลางสวนในชนบทเวียดนาม โดดเด่นด้วยรูปทรงบ้านแบบปิดล้อม แต่ภายในโปร่งสบาย พร้อมรูปแบบการก่อสร้างเรียบง่าย เหมาะเป็นแบบบ้านพักตากอากาศในชนบท ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว แม้จะไปศึกษา ทำงาน และอยู่อาศัยในเมืองใหญ่ แต่ในใจก็ยังคิดถึงชีวิตที่สุข สงบ และเรียบง่ายตามวิถีชนบทในบ้านเกิด บ้าน Phu Yen House หลังนี้ จึงถูกสร้างขึ้นจากความต้องการของเจ้าของที่อยากมี บ้านชั้นเดียว ที่ต่างจังหวัดไว้ใช้พักผ่อนตากอากาศในวันหยุดฤดูร้อน และวันหยุดตามประเพณีของเวียดนาม รวมถึงการได้พาลูก ๆ ออกมาสัมผัสกับบรรยากาศและประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างจังหวัด หลบหนีจากความวุ่นวายทั้งปวง โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเมืองใหญ่ อย่างเช่นเวลานี้ บ้านสีขาวชั้นเดียวที่เห็นตั้งอยู่โดดเด่นกลางสวน เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Story Architecture รั้วด้านนอกที่โอบรอบบ้านไว้ ได้รับการออกแบบให้มีระดับที่สูง เพื่อความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว บดบังการมองเห็นจากสายตาคนภายนอก ก่อนจะตัดสีสันด้วยประตูทางเข้าทรงโค้งสีเขียวดูน่ารัก เมื่อเข้ามาด้านในจะพบกับบรรยากาศโล่งกว้าง ทุกพื้นที่เปิดทะลุถึงกันแบบไม่มีการติดตั้งประตู หรือบานกระจกใด ๆ ประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานหลักอย่าง ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร เชื่อมโยงด้วยลานภายในและพื้นที่สีเขียว ช่วยให้พื้นที่ของบ้านโปร่งสบาย เข้าถึงธรรมชาติอย่างพื้นที่สนามหญ้า สระว่ายน้ำ และพื้นที่เล่นสนุกของเด็ก ๆ ได้จากทุกมุม ผ่านช่องผนังแบบซุ้มโค้งที่สามารถเดิน […]
รวมบ้านที่ตื่นมาก็เจอวิวทุ่งนา ใช้ชีวิตเหมือนอยู่สวรรค์บนดิน
หากลืมตาตื่นขึ้นมาทุกเช้าก็ได้เห็นวิวทุ่งนาในยามยืนต้นเขียวขจีไปจนถึงสีทองอร่ามตา ก็มีคนจำนวนไม่น้อยฝันอยากมี บ้านกลางทุ่งนา แบบนี้บ้างล่ะ
บ้านเหล็กลอนลูกฟูก ทุนสร้างต่ำ สำหรับคนที่อยากกลับไปอยู่ชนบท
บ้านชนบท ดีไซน์โมเดิร์นทรงกล่องลุคเรียบง่าย ที่มาพร้อมกับโจทย์ด้านงบประมาณที่ไม่สูง พร้อมความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งและสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเวียดนาม นี่คือโปรเจ็กต์งานออกแบบโดย H&P Architects กับการสร้าง บ้านชนบท ของคนรุ่นใหม่ที่อยากหันกลับไปใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุธรรมดาสามัญที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ซึ่งมาพร้อมกับดีไซน์โมเดิร์นดูทันสมัย แถมแอบสอดแทรกฟังก์ชันการใช้งานสนุก ๆ เพื่อให้การอยู่บ้านเป็นเรื่องไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมาพร้อมคอนเซ็ปต์ด้านการใช้พลังงานที่ยั่งยืน บ้านขนาดสองชั้นหลังนี้ โครงสร้างเสาและคานทำจากเหล็กทั้งหลัง จึงใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จได้ไว ง่ายต่อการออกแบบพื้นที่เพิ่มเติมได้อีกในอนาคต ขณะที่ผนังอาคารชั้นนอกเด่นสะดุดตาด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูกทำสีขาวที่ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิมมาอย่างดีแล้ว ช่วยให้บ้านมีลุคโมเดิร์นดูทันสมัย แต่กลับไม่ร้อนอย่างที่คิดไม่ว่าจะมาจากการออกแบบหลังคาให้เป็นทรงจั่ว เพื่อถ่ายเทความร้อนจากแสงอาทิตย์ ด้านใต้ซ้อนด้วยแผ่นฉนวนกันความร้อน และฝ้าธรรมชาติอย่างไม้ไผ่อีกชั้น จนกลายเป็นแพตเทิร์นตกแต่งเพดานบ้านไปในตัว ขณะที่ช่องเปิดอย่าง ประตู และหน้าต่าง ได้รับการออกแบบเป็นบานเหล็กแบบซี่เพื่อระบายอากาศ โดยมีชายคากันแดดเหนือช่องเปิดทุกบานไม่ให้ส่องเข้าสู่พื้นที่ภายในโดยตรง จึงช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันช่วยให้บ้านเย็นสบายและปลอดโปร่งตลอดวันส่วนงานออกแบบตกแต่งภายใน ผนังกรุด้วยอิฐดินเผาวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนให้แก่บ้าน ซึ่งเข้ากันดีกับเหล่าเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบลอยตัว ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างยืดหยุ่น เมื่อต้องการใช้พื้นที่แบบโล่งกว้างสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆเมื่อขึ้นมาที่ชั้น 2 ของบ้าน จะพบกับไฮไลท์อย่างเปลตาข่ายที่ขึงไว้อย่างแน่นหนาสำหรับไว้ใช้นั่งหรือนอนเล่น นอกจากจะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่สนุกไม่น่าเบื่อแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความอึดอัดของพื้นที่ใช้งานระหว่างชั้น 1 กับชั้น 2 ซึ่งชั้นบนนี้ได้รับการออกแบบสเปซแบบโอเพ่นแปลน มีเพียงตู้เสื้อผ้าทำหน้าที่เป็นตัวกั้นเตียงนอนให้ดูเป็นสัดส่วนเท่านั้นความน่าสนใจของบ้านไม่เพียงเป็นการออกแบบที่ดูเรียบง่ายเอาใจคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมแนวคิดในการใช้พลังงานแบบยั่งยืน เห็นได้จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในครัวเรือน โดยปริมาณไฟฟ้าที่เหลือจะถูกจัดเก็บหรือขายต่อได้ นอกจากนั้นยังมีรางระบายน้ำฝนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในแท็งก์ สำหรับไว้ใช้รดต้นไม้และแปลงผักรอบ ๆ บ้าน […]
พักผ่อนตลอด 365 วัน ในบ้านชั้นเดียวกลิ่นอายชนบท อยู่สบาย ผ่อนคลายทุกเวลา
บ้านไทยสไตล์รีสอร์ทที่บริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบเป็นบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย ดังที่เจ้าของบ้านต้องการ บ้านชั้นเดียวบรรยากาศรีสอร์ท สถาปนิก : คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ / ตกแต่ง : คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย / เจ้าของ : คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย – คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย หลังจากต้องเจอกับงานหนักมาตลอดทั้งวัน การได้กลับมาพักผ่อนในบ้านที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ น่าจะเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนจึงพยายามหาโอกาสสร้างบ้านบนทำเลที่ตัวเองชื่นชอบ เพื่อให้ทุกนาทีที่อยู่บ้านเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย และคุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย ก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยมีบ้านอยู่ในสถานที่ทำงาน จึงทำให้ทั้งคู่รู้สึกเหมือนต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสสร้างบ้านใหม่ สิ่งแรกที่เจ้าของบ้านทั้งสองทำก็คือ ตระเวนหาทำเลบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย จนพบที่ดินที่ถูกใจแถบชนบทของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ และแวดล้อมด้วยทุ่งนาอันเงียบสงบ เพื่อสามารถสูดกลิ่นอายแห่งพืชพรรณของรวงข้าวที่ตนเองชอบได้อย่างเต็มที่ จากความตั้งใจที่จะให้บ้านหลังใหม่แตกต่างจากบ้านตึกหลังเดิมที่เคยอยู่ ทั้งสองจึงตัดสินใจสร้างบ้านไทยสไตล์รีสอร์ทตรงตามความต้องการ คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ สถาปนิกผู้รับหน้าที่ออกแบบบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟังว่า “ครั้งแรกที่มาดูที่ดินกับเจ้าของบ้าน ก็คิดว่าที่นี่เป็นทำเลสร้างบ้านที่ดีมากครับ เพราะบริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมธรรมชาติได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบบ้านสไตล์รีสอร์ทอย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ อีกทั้งยังมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ไม่ต้องซื้อต้นไม้ใหม่มาปลูก […]
La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท
บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]
บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ
บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ที่รวมเอาประสบการณ์ 15 ปีในการออกแบบบ้านของ MUJI มาเรียงร้อยเพื่อนำเสนอรูปแบบการอยู่อาศัยตามปรัชญา “ความสุขเล็กๆที่เรียบง่ายและอบอุ่น” นี่คือหัวใจสำคัญของ Yō no Ie House บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ขนาดกะทัดรัดกับแปลนบ้านแบบผังอิสระที่ไร้ผนังกั้น พร้อมทั้งชานไม้ขนาดใหญ่ที่เน้นการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ยืดหยุ่นต่อรูปแบบการอยู่อาศัย และเอื้อต่อการเติบโตของครอบครัว “ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าบ้าน แต่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต” Yō no Ie House คือแบบบ้านที่มูจิเลือกนำเสนอในวาระครบรอบ 15 ปีที่ได้เริ่มธุรกิจบ้านสำเร็จของตนขึ้น ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในปี 2004 สิ่งที่ทำให้ MUJI สนใจในธุรกิจบ้านสำเร็จรูปก็คือ คำถามคาใจว่าทำยังไงจะแก้ปัญหาความเสื่อมราคาของตัวบ้านตั้งแต่วันที่ซื้อและถูกรื้อทิ้งเมื่อผ่านไป 30 ปี (ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายที่บังคับให้ต้องรื้อบ้านทิ้งหรือรีโนเวตทุกๆ 30 ปี เพื่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรวม) ด้วยเหตุนี้เอง MUJI จึงตั้งใจที่จะนำเสนอบ้านที่สามารถอยู่อาศัยไปได้อย่างมั่นคง และผูกพันธ์กับครอบครัวของเจ้าของบ้านตราบทศวรรษจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความเชื่อใน “ความสุขที่เรียบง่ายและอบอุ่น” ซึ่งจะนำพา “ชีวิตที่ดี” มาสู่เจ้าของและชุมชนโดยรวม ความพิเศษของ “ บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ” เรียบง่าย อยู่สบาย […]
อยู่ตามวิถีธรรมชาติในบ้านชนบทที่ บ้านต้นเต๊า
เรามาเยือน บ้านต้นเต๊า ในช่วงปลายฤดูฝน บรรยากาศของบ้านจึงดูชุ่มชื้นและสดชื่นเป็นอย่างมาก บ้านใต้ถุนสูงสีขาวสลับไม้ที่ใครหลายคนอาจเคยเห็นผ่านตา ที่นี่คือ “โฮมสเตย์ บ้านต้นเต๊า ” บ้านใต้ถุนสูงสีขาวสลับไม้ที่ใครหลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตาจากโลกโซเชียล บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากการที่ คุณเกด – ภัคธิมา วรศิริ ได้มาเป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วน คุณปอ – ชิติพัทธ์ วังยาว ก็สนใจธุรกิจข้าวอินทรีย์ จึงได้แวะเข้ามาที่ “บ้านบัว” หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและหมู่บ้านข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพะเยา เมื่อได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตเรียบง่ายอันเปี่ยมสุข ประกอบกับกำลังมองหาที่ดินสร้างบ้าน จึงได้พบที่หัวมุมถนนติดกับคลองที่เคยเป็นป่าว่างๆ ที่แห่งนี้มักมีน้ำท่วม แต่ด้วยความเป็นสถาปนิก ทำให้คุณเกดคิดว่าไม่ใช่ปัญหา และที่ผืนนี้มีต้นเต๊าหรือตองเต๊าตั้งอยู่กลางที่ดิน จึงใช้เป็นชื่อของบ้าน ทั้งสองจึงคิดปรับแนวทางมาสู่การค่อยๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ “เราอยู่กันง่ายๆ คนที่มาพักกับเราก็ต้องอยู่กันแบบง่ายๆตามเรา ที่นี่มีแค่สองห้องเท่านั้น กับคาเฟ่ที่เสิร์ฟอาหารจากผลิตผลในหมู่บ้าน ถ้ามีแขกเกินกว่านั้นเราก็จะให้เขาไปพักที่บ้านหลังอื่นในหมู่บ้านแทน เมื่อมาพักเราก็จะแนะนำให้ไปเยี่ยมบ้านอื่นๆในหมู่บ้านที่มีกิจกรรมอื่นๆให้ทำอีก เช่น สานเข่งหรือสุ่มไก่ และวิถีแบบเกษตรพอเพียงที่น่าสนใจ” คุณปอเล่าให้เราฟัง พลางพาเดินชมตัวบ้าน บ้านหลังนี้ออกแบบในลักษณะ “ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” เพราะคุณเกดเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมไทย จึงได้นำเอาเอกลักษณ์ของบ้านในพื้นที่ กับรูปแบบของหลองข้าวซึ่งเป็นอาคารเก็บข้าวเปลือกมาใช้กับตัวบ้านด้วย แต่ปรับเปลี่ยนวัสดุและสีสันให้เป็นโครงสร้างเหล็กผสมปูน และเน้นสีขาวเพื่อความสะอาดตา […]
บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต
ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]
บ้านไม้ในโครงสร้างเหล็ก ที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม
บ้านไทยอีสานในรูปแบบสมัยใหม่ที่กลมกลืนไปกับบริบทของสิ่งแวดล้อมแบบชนบท ของคุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ ที่อยู่เมืองไทยมาได้ 6 ปี จึงคุ้นเคยกับวิถีแบบไทยและติดใจในความเป็น “บ้านนอกที่อบอุ่น” ในจังหวัดอุดรธานีแห่งนี้
แบบบ้านไทย เรียบง่าย สไตล์คุ้มล้านนา
บ้านเก่าอายุกว่า 80 ปี ซึ่งเคยเป็นคุ้มของ เจ้าบุ ณ ลำปาง ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองลำปาง ก็คิดไปว่าบ้านนี้น่าจะเป็นบ้านที่ดูเงียบๆ มีบรรยากาศน่าเกรงขาม แต่เมื่อมาพบเข้าจริงๆ ผมกลับรู้สึกได้ถึงความมีชีวิตชีวา