บ้านสามชั้น
บ้านรีโนเวตจากตึกแถวเก่าที่เปิดรับลมและแสงธรรมชาติ
บ้านรีโนเวตจากตึกแถวเก่า เปลี่ยนอาคารที่ทึบตันให้กลายเป็นบ้านโมเดิร์นหน้าตาเรียบง่าย ทันสมัย แต่ซ่อนสเปซโปร่งโล่งและอบอุ่นเอาไว้ภายใน เมื่อต้องการขยับขยายที่อยู่อาศัยออกจากห้องคอนโดมิเนียมเดิมเพื่อสร้างครอบครัวในอนาคต คุณปุย – สิรินภา รัตนโกศล และ คุณเซบาสเตียน ดูส สองสามีภรรยาจึงมองหาบ้านใหม่ในหลายทำเล จนกระทั่งได้มาพบกับตึกแถวเก่าขนาด 3 คูหาหลังหนึ่งย่านถนนจันทน์ พร้อมกับชวน คุณวิทย์ – พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล และ คุณพลอย – หฤษฎี ลีละยุวพันธ์ สถาปนิกและมัณฑนากรจาก PHTAA ซึ่งเป็นเพื่อนที่รู้จักคุ้นเคยกันให้มาดูตึกหลังนี้ด้วยตั้งแต่แรกเริ่ม ก่อนเปลี่ยนโฉมให้เป็น บ้านรีโนเวตจากตึกแถวเก่า ดีไซน์ทันสมัยกว่าเดิม “ชวนพลอยมาดูตั้งแต่ที่ยังไม่ได้ซื้อเลยค่ะ วันที่ได้เปิดประตูเข้าไปดูด้านในเป็นครั้งแรกก็เกิดนิมิตขึ้นมาเลยว่า ‘นี่แหละบ้านฉัน’ นึกภาพออกเลยว่าเราจะทำอะไรกับตึกหลังนี้ได้บ้าง ชอบความเงียบสงบแม้จะอยู่ใจกลางเมือง เพราะตรงนี้อยู่สุดซอย ไม่ยินเสียงรถเลยค่ะ” คุณปุยเล่า จากตึกแถวเก่าจึงกลายมาเป็นโจทย์การออกแบบบ้านหลังใหม่ ตามที่คุณวิทย์อธิบายว่า “เราตัดสินใจรีโนเวตแทนที่จะทุบสร้างใหม่ครับ โครงสร้างอาคารเดิมออกแบบไว้แข็งแรงดีอยู่แล้ว เพดานก็สูง นอกจากนั้นยังถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายด้วยครับว่าเราจะออกแบบสเปซใหม่ในกรอบโครงสร้างเสาคานเดิมได้อย่างไร” ตึกแถวที่เดิมทีเคยเป็นทั้งโรงพิมพ์และโรงเย็บผ้าแห่งนี้มีพื้นที่ใช้สอยมาก การพลิกโฉมตึกแถวแห่งนี้ให้เป็นบ้านจึงรวมไปถึงการเปลี่ยนพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งให้กลายเป็นที่ว่างด้วย “เราเริ่มจากการออกแบบพื้นที่หลักๆ ก่อนครับ เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องครัว ว่าต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ เราพบว่าพื้นที่ที่ต้องการคิดเป็นแค่ […]
ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา
บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]
ทุบบ้านเก่าอายุเกือบ 40 ปี สร้างใหม่เป็น “บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล” บนพื้นที่เดิม
ตัวบ้านออกแบบใน บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล โดยเปิดให้เห็นมุมมองที่ดีคือ ด้านหน้าบ้านซึ่งเป็นทิศเหนือและด้านหลังบ้าน ส่วนด้านข้างบ้านทำผนังทึบเป็นส่วนใหญ่
Family and Function Comes First บนพื้นฐานของความรักและเข้าใจ
เมื่อถึงเวลาสร้างครอบครัว คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีบ้านเดิมอยู่แล้วคงหนีไม่พ้นว่าจะขยายพื้นที่ที่มีหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น สำหรับ คุณนัย – นัยนารถ โอปนายิกุล และ คุณยอด ตันติอนุนานนท์ เจ้าของบ้านหลังนี้ขอเลือกสร้างพื้นที่เล็กๆ ของครอบครัวในที่ดินของบ้านเดิม โดยก่อนหน้านี้เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วก็ย้ายไปอยู่คอนโดมิเนียมที่ไม่ไกลจากบ้านเก่า แต่พอเวลาผ่านไปสักพักและทั้งสองมีลูกน้อย จึงได้ทราบความต้องการที่แท้จริงว่า “บ้านที่ทำให้รู้สึกไม่เบื่อเร็ว” เป็นคำตอบที่ใช่ บ้านสีเทาสไตล์โมเดิร์นขนาดสามชั้นหลังนี้แฝงด้วยกลิ่นอายความคลาสสิก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ แต่ยังคงความเป็นชุมชนเดิมที่สงบเงียบและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ บ้านนี้ปลูกสร้างใหม่บนสนามหญ้าหน้าบ้านเดิมของคุณนัยแวดล้อมด้วยบ้านคุณพ่อคุณแม่ และบ้านคุณตาคุณยายที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ชั้นล่างเป็นส่วนแพนทรี่ขนาดใหญ่และโต๊ะรับประทานอาหารชุดสวย ห้องรับแขก และห้องเด็กที่ออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกในอนาคต หรือให้คุณพ่อคุณแม่มาพักผ่อนได้ ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนของ น้องเร – เรวิณฬ์ ส่วนชั้นสามเรียกว่าเป็นชั้นเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะเป็นที่รวมความสุขของทุกคนอย่างห้องเก็บไวน์ โฮมเธียเตอร์ ห้องเด็กที่เต็มไปด้วยของเล่น และห้องทำงานแบบส่วนตัว มีระเบียงด้านนอกที่สามารถปรับเป็นพื้นที่สำหรับปาร์ตี้ได้อย่างสบาย เจ้าของบ้านเลือกรูปแบบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน เพราะเชื่อในมาตรฐานของงานก่อสร้าง โดยเลือกขนาดที่ใช่ ลิสต์รายการห้องและการใช้งานที่อยากได้ แล้วเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับจำนวนห้องและปรับขนาดของห้องให้สะดวกกับการใช้งานยิ่งขึ้น คุณยอดเล่าว่า “ผมเลือกแบบบ้านจากฟังก์ชันที่เราอยากได้ แล้วมาปรับขนาดของห้องต่างๆ ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ผมชอบบ้านทรงกล่องๆ เหลี่ยมๆแบบไม่มีหลังคา ตอนอยู่คอนโดเราตกแต่งต่างออกไป เป็นแบบมีสีสันหน่อยด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้รู้ความชอบของตัวเองจริงๆ มาลงตัวที่สไตล์โมเดิร์นผสมคลาสสิก ดูขรึมแต่เรียบง่าย เน้นใช้งานได้นานและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว” เจ้าของบ้านได้พูดคุยกับ คุณเล็ก – […]
รอยต่อของ 3 ยุคในบ้านโมเดิร์นกลิ่นอายไทย
แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”
Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง
แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]
The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง
เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]