- Home
- บ้านอิฐแดง
บ้านอิฐแดง
บ้านชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐมอญ ในสวนดอกไม้
ดอกบานชื่นสีสดในแปลงตลอดสองข้างทางเดินนำไปสู่ บ้านชั้นเดียว ก่อผนังอิฐโชว์แนวที่มีเหลืองชัชวาลและกุหลาบเลื้อยพันขึ้นไปบนผนังคลุมตัวบ้านบางส่วนเอาไว้ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 งาน ภายในหมู่บ้านสันก่อเก็ต อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเลขตัวเดียว ขณะที่กลางวันอากาศเย็นสบายกำลังดีเพียงต้น 20 องศาเซลเซียสเท่านั้น เจ้าของ : คุณพลอยทับทิม สุขแสง เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้คือคุณพลอย–พลอยทับทิม สุขแสง ผู้เป็นสถาปนิกและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด บริษัทจัดสวนที่มีผลงานโดดเด่นในสไตล์มินิมัล บ้านหลังนี้จึงผสมผสานทั้งความเรียบง่ายแบบโมเดิร์นในสไตล์ที่เธอชอบสำหรับการอยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ที่สะดวกสบาย แต่เจือปนด้วยบรรยากาศอบอุ่นแบบชนบทของบ้านต่างจังหวัดด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่างอิฐมอญมาตกแต่งบ้าน และนำมาตั้งชื่อบ้านว่า “บ่าดินกี่” ในภาษาเหนือแปลว่า “อิฐ“ พลอยเล่าว่าเดิมทีบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านแบบครึ่งปูนครึ่งไม้สร้างอยู่กลางพื้นที่ ซึ่งคุณแม่สร้างให้คุณยายตั้งแต่ราว 20 กว่าปีก่อน เมื่อคุณยายเสีย บ้านหลังนี้ถูกปิดไว้ ไม่ได้ใช้งาน ทำให้สภาพค่อนข้างทรุดโทรม และเกิดปัญหาคือปลวกขึ้นจนพื้นไม้ชั้นสองเสียหาย ไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้ ประกอบกับบ้านเดิมใช้งานไม่สะดวกนักตามลักษณะของบ้านยุคก่อน เนื่องจากตัวบ้านค่อนข้างเตี้ย มีหน้าต่างขนาดเล็กแบบบ้านทางเหนือที่มักจะทำช่องเปิดเล็กเพื่อป้องกันลมหนาว ทำให้บ้านดูทึบ พลอยจึงตัดสินใจรื้อบ้านและสร้างใหม่ โดยปรับตำแหน่งตัวบ้านให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อให้เหลือพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ได้มากขึ้น บ้านหลังนี้นำวัสดุของบ้านเดิมมาใช้งานหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาลอนคู่ที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาล้างทำความสะอาดและมุงหลังคาใหม่ ไม้จากบ้านเดิมก็นำมาใช้ในส่วนโครงสร้าง ทั้งหลังคา […]
P HOUSE บ้านอิฐดินเผา ที่เย็นสบายด้วยวัสดุและแนวคิดแบบยั่งยืน
โปรเจ็กต์การออกแบบ บ้านอิฐดินเผา ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม พร้อมโจทย์การออกแบบที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน ผ่านการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นเดียวกับการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต P House หรือ บ้านอิฐดินเผา หลังนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ T H I A architecture ซึ่งมาพร้อมกับโจทย์ที่สร้างความท้าทายให้แก่สถาปนิกไม่น้อย เนื่องจากทำเลที่ตั้งมีความกว้างแค่เพียง 4.3 x 15 เมตร แถมยังถูกขนาบข้างด้วยอาคารเพื่อนบ้านและโรงงานเก่าทั้งสองด้าน ทำให้มีช่องเปิดมีอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น การออกแบบจึงต้องเน้นย้ำเรื่องความปลอดโปร่งและแสงสว่างเป็นสำคัญ สถาปนิกจึงได้จัดการแก้ปัญหาทางกายภาพของที่ตั้ง ไปพร้อมกับการเน้นใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน โดยส่วนใหญ่เป็นวัสดุทำมาจากธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เช่น อิฐ ไม้ และคอนกรีต ซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้บ้านมีทั้งความสวยงามและอยู่สบาย รูปลักษณ์ของอาคารมีจุดโดดเด่นคือ เปลือกอาคารอิฐดินเผาสีส้ม ที่ออกแบบให้มีระยะยื่นออกจากตัวบ้าน เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้ามาถึงภายในบ้านโดยตรง อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นราวระเบียงและแผงกันแดดที่มีการจัดเรียงอิฐเป็นแพตเทิร์นง่าย ๆ โดยในวันอากาศดีสามารถเปิดผนังกระจกบานเลื่อนที่ซ้อนอยู่หลังระเบียงของแต่ละชั้นออกได้จนสุด เพื่อให้ลมพัดพานำความเย็นสบายและถ่ายเทความร้อน ขณะที่สีส้มของอิฐดูตัดกับใบไม้สีเขียวของพรรณไม้เลื้อยที่ห้อยระย้าลงมาจากระเบียงหลังคาเหนือพื้นที่จอดรถ ช่วยให้เกิดมุมมองที่สดชื่นสบายตา ลดความแข็งกระด้างจากวัสดุและอาคารทรงเหลี่ยมได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้ามาภายในตัวบ้าน ชั้น 1 จะพบกับลานโล่งที่เชื่อมต่อกับคอร์ตสวนหลังบ้าน ก่อนจะขึ้นมาที่ชั้น 2 ชั้นนี้ประกอบด้วยมุมโซฟาสำหรับพักผ่อน โต๊ะรับประทานอาหาร […]
บ้านคอนกรีตเปลือย สลับผนังอิฐดินเผา โชว์เสน่ห์ลอฟต์บนเกาะบาหลี
Uma Bulug Guest House บ้านคอนกรีตเปลือย ขนาดสองชั้นที่ตั้งอยู่บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย สร้างขึ้นบนพื้นที่ 200 ตารางเมตร กับดีไซน์ที่เอื้อต่อการพักอาศัยในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ท่ามกลางวิวทุ่งนาแบบขั้นบันไดและสวนมะพร้าว โดดเด่นด้วยตัวอาคารคอนกรีตเปลือยแบบยกใต้ถุนสูง พร้อมสร้างสรรค์แพตเทิร์นการเรียงอิฐดินเผาจนกลายเป็นฟาซาดที่สวยงามมีมิติ ยอมให้แสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามาได้ในเวลากลางวัน และยอมให้แสงไฟจากตัวบ้านทะลุผ่านออกมาในยามค่ำคืน ดูสุกสว่างกลางฉากหลังท้องฟ้าสีดำ ขับเน้นให้มองเห็นลวดลายของผนังอิฐอย่างชัดเจน บ้านคอนกรีตเปลือย จากแนวรั้วบล็อกช่องลมหน้าบ้านที่มีระดับความสูงมากพอ สำหรับปิดกั้นสายตาจากผู้คนภายนอก ไม่ให้มองเห็นการใช้งานบริเวณพื้นที่ชั้นล่างชัดเจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านใน Biombo Architects ตั้งใจออกแบบพื้นที่ใช้งานชั้นล่างให้ดูปลอดโปร่งแบบไร้ผนังกั้น ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดรับลมและอากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะกับการพักผ่อนได้รอบทิศทาง ซึ่งประกอบด้วยมุมพักผ่อนร่วมกันอย่าง โต๊ะรับประทานอาหารขนาดใหญ่ และมุมนั่งเล่นแบบบิลท์อินจากคอนกรีตเปลือย เปิดมุมมองออกสู่วิวสระว่ายน้ำเบื้องหน้าซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของที่นี่ โดยสถาปนิกเลือกออกแบบสระว่ายน้ำให้มีรูปทรงออร์แกนิก และสีของน้ำที่ดูราวกับน้ำทะเลริมชายหาดที่ใสสะอาด ตัดกับรูปทรงของอาคารเกสต์เฮาส์ที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบ ๆ สระปลูกพรรณไม้เขตร้อน เพื่อสร้างความร่มรื่นและร่มเงาให้แก่เตียงนอนอาบแดด ขณะที่ชั้นบนออกแบบให้มีพื้นที่ยื่นยาวออกมาคลุมครึ่งหนึ่งของสระว่ายน้ำ เพื่อให้เกิดมุมมองภายนอกที่ดูเหมือนอาคารลอยอยู่เหนือน้ำ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นหลังคาให้แก่พื้นที่ใช้งานชั้นล่างไปในตัว ชั้นสองประกอบด้วยห้องนอน 2 ห้อง ซึ่งตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ พื้นหินขัด Terrazzo เพดานกรุฝ้าไม้อัดสีเข้ม ผนังหัวเตียงเป็นคอนกรีตเปลือย ส่วนอีกฝั่งเป็นผนังอิฐดินเผาที่ให้แสงส่องเข้ามาได้ โดยมีกระจกใสและม่านซ้อนอยู่อีกชั้น จัดวางของตกแต่งและโคมไฟที่ส่วนใหญ่เป็นงานหัตถกรรมของบาหลี บอกเล่าวัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านการพักผ่อน ภายในที่พักที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง […]
CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก
บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]
บ้านอิฐชั้นเดียว ที่มีช่องลมหมุนเวียนช่วยประหยัดพลังงาน
บ้านอิฐแดง ชั้นเดียวที่ไม่สูงมากหลังนี้ นำเส้นสายสายของภูเขามาออกแบบเพื่อรับกับวิวภูเขาได้เต็มที่ และเปิดพื้นที่ภายในให้โปร่งรับลมจนไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์