บ้านอินโดนีเซีย
REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง
โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]
โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ
บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]
HIDEOUT HORIZON ชาร์จพลังกลางป่าบาหลีในบ้านไม้ไผ่สุดเฟี้ยว
Hideout Horizon บ้านสไตล์รีสอร์ต กลางป่าบนเกาะบาหลีอย่าง Hideout Network ที่มีโครงสร้างและการออกแบบที่ซับซ้อนที่สุด โดยโครงสร้างหลักเป็นไม้ไผ่
บ้านตู้คอนเทนเนอร์รับวิวสวนเมืองร้อนบนเกาะบาหลี
บ้านหลังนี้ซึ่งตั้งอยู่ในย่าน Canggu บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และในท้ายที่สุด บ้านตู้คอนเทนเนอร์ ที่ตั้งใจทำเป็นบ้านชั่วคราว ก็กลายเป็นบ้านสวยแบบถาวร
ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี
นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์
The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง
เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]
Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ
ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]