© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ลงทุนบ้านเก่า ให้ทำเงินในแบบที่เป็นตัวเองแม้ไม่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ กับ Business Talk by Spotlight ว่าด้วยเรื่อง “วิกฤติ หรือ โอกาส ลงทุนอสังหาฯ ยุคนี้ ให้มีกำไร” ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม MR214 – 216 ชั้น 2 ไบเทค บางนา ลงทุนบ้านเก่า เป็นหนึ่งหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจ ซึ่งทาง Amarin Academy ภายใต้ Amarin Media and Event ร่วมกับ Business Talk by Spotlight โดย บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยในเมืองมายาวนานกว่า 30 ปี เป็นผู้สนับสนุนหลักในงานนี้ กับหัวข้อ กลยุทธ์รวยด้วยอสังหาฯ Session […]
เก็บไอเดียและเทคนิคดีๆ ในการ รีโนเวตบ้านปล่อยเช่า ให้ได้กำไร กับ Business Talk by Spotlight หัวข้อ “วิกฤติ หรือ โอกาส ลงทุนอสังหาฯ ยุคนี้ ให้มีกำไร” ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม MR214 – 216 ชั้น 2 ไบเทค บางนา เก็บตกเทคนิคดีๆ ในการ รีโนเวตบ้านปล่อยเช่า ให้สร้างกำไรระยะยาว ในสัมนาที่แชร์เคล็ดลับดีๆ จากนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ตัวจริงที่ Amarin Academy จัดขึ้นภายใต้ Amarin Media and Event ร่วมกับ Business Talk by Spotlight โดย บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยในเมืองมายาวนานกว่า 30 […]
161 Cafeteria and Crypt ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน บรรยากาศเหมือนพาตัวเองมานั่งกินข้าวในบ้านอบอุ่นยุคเจ็ดศูนย์ ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมบาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดิน กับร้านที่มีชื่อว่า 161 Cafeteria and Crypt โดยมีที่มาจากเลขที่บ้าน ต่อด้วยคำว่า Cafeteria ซึ่งแปลว่า “โรงอาหาร” เปรียบเสมือนสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มาพร้อมกับความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมบ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิตหลังใหญ่ที่ผ่านกาลเวลามานาน ซึ่งนับเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรกของกรุงเทพฯ ที่เริ่มหาดูยาก เมื่อบ้านรุ่นเดียวกันหลาย ๆ หลังในย่าน เริ่มทยอยถูกแทนที่ด้วยอาคารสมัยใหม่ และตึกสูงระฟ้า การนำพาสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคเก่าย่านเอกมัยให้คืนชีพกลับมาครั้งนี้ มาจากเจ้าของร้าน คุณส้ม-กัญญ์ณพัชร์ นุ่มประสิทธิ์ ที่อยากให้สถานที่นี้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาพักผ่อน ปรับอารมณ์ลงจากความเร่งรีบภายนอก เพื่อมาพบกับบรรยากาศสงบภายใน ชวนให้รู้สึกเหมือนได้กลับมากินข้าวที่บ้าน หลังจากที่ตัวบ้านไม่มีคนอยู่อาศัย และถูกปล่อยให้เช่า เมื่อคุณส้มมาพบกับทำเลนี้ เธอรู้สึกชอบในบรรยากาศ และสตอรี่ของบ้าน จึงตัดสินใจเช่า และรีโนเวตบ้านนี้ใหม่ โดยไม่ต้องการทุบอาคารออก แต่เลือกที่จะเก็บรักษาอาคารนี้ไว้ เพื่อดึงเสน่ห์ และความงดงามของสถาปัตยกรรมยุคเก่า ให้คนยุคใหม่ได้รู้จัก และเข้ามาใช้งานพื้นที่ จากถนนภายในซอยเมื่อมองเข้ามาจะเจอกับภาพอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กั้นพื้นที่สวนข้างบ้าน และลานจอดรถด้วยแนวกำแพงอิฐที่ทำขึ้นมาใหม่ ให้กลายเป็นผนังอิฐจัดเรียงแพตเทิร์นสวยงาม ล้อไปกับแนวขอบอาคารที่ทาสีใหม่เป็นสีส้มอิฐ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในร้านที่ได้รับการแบ่งเป็นโซนคาเฟ่ด้านหน้า มีเคาน์เตอร์บาร์ทำกาแฟ […]
บ้านพักครู อาคารไม้เก่า ๆ ไร้การดูแล ที่อยู่ของครูบรรจุใหม่ เหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่มักเห็นได้ตามนิยาย หรือละครไทย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ครูหลายคนต้องพบเจอ และอาคารหลังนี้ก็เช่นกัน อาคารบ้านพักครูอายุ 50 กว่าปี ของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคาร จากเดิมที่เป็นอาคารเก่าทรุดโทรม วันนี้ได้รับการบูรณะใหม่ โดยฝีมือการออกแบบของ Parin+Supawut ซึ่งเป็นการออกแบบปรับปรุงอาคารด้วยความคาดหวังว่า จะให้เป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ออกแบบปรับปรุงอาคารบ้านพักครูในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไป #เน้นซ่อมไม่เน้นสร้างใหม่ให้งบประมาณทำงานได้จริง “บ้านพักครูของโรงเรียนเฉลิมมณีฉายวิทยาคารหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2513 จากแบบสำเร็จโดยเป็นอาคารบ้านพักครูแบบกรมสามัญตามพิมพ์เขียนที่ถูกใช้ในโรงเรียนอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บ้านพักครูมักจะเป็นส่วนที่งบประมาณการปรับปรุงนั้นไม่เคยตกลงมาถึง นั่นทำให้บ้านพักครูเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นผลให้ภาระกลับไปตกอยู่กับครูทั้งหลายต้องออกไปเช่าบ้านพักด้วยเงินของตัวเองเดือนละหลายพันบาท “การออกแบบในครั้งนี้จึงเป็นการเน้นกระบวนการซ่อมแซม และรักษาโครงสร้างเก่าของบ้านไว้แทนที่การออกแบบอาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อเป็นต้นแบบในการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในรูปแบบเดียวกันนี้ในที่อื่น ๆ ของประเทศ ด้วยความคาดหวังที่จะทำให้ บ้านพักครู เป็นอาคารที่ใช้ได้จริง อยู่ในงบประมาณที่เป็นไปได้ และมีการปรับปรุงพื้นที่หลาย ๆ ส่วนให้ลงตัวต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การขยายพื้นที่ครัวให้เชื่อมต่อกับห้องนั่นเล่น การเปิดช่องแสงเพิ่ม เพื่อสร้างส่วนพักผ่อน และอ่านหนังสือที่รับแสงธรรมชาติไม่อุดอู้อย่างเดิม โดยในการใช้งานวัสดุนั้น ก็นำไม้อัดที่เลือกใช้ไปออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ เตียง ที่มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับการใช้งาน ร่วมกับบ้านพักครูหลังนี้ไปพร้อมกัน” #ดีไซน์ให้มากเพื่อลดภาระงานก่อสร้างให้น้อย […]
sydny เกิดจากการตั้งใจต่อยอดธุรกิจด้านคาเฟ่ จากประสบการณ์ที่เป็นนักธุรกิจทั้ง คาเฟ่ โรงแรม และสตูดิโอถ่ายภาพ ในระแวกเดียวกันย่านพุทธมณฑลสายหนึ่ง โดยเห็นบ้านหลังเก่านี้จากการเดินทางกลับบ้านในทุก ๆ วัน และมีติดประกาศให้เช่า ความเป็นสถาปนิกของคุณรณรงค์ ชมภูพันธ์ เจ้าของโครงการจึงตัดสินใจเช่า ด้วยเหตุผลสั้น ๆ จากความชอบหน้าตาและโครงสร้างเก่าของบ้านหลังนี้เพียงเท่านั้น
ปรับปรุงบ้านไม้เก่า ให้กลับมาใช้งานได้ โดยบูรณะให้อยู่ในสภาพเดิม ซึ่งได้รับรางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ในระดับดี ประจำปี 2565 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ บ้านบานเย็นเป็นหมู่เรือนไม้ที่คาดว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 ซึ่งยกย้ายตัวเรือนมาจากถนนราชดำเนิน (บริเวณหน้ากองสลากเก่า) เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเวนคืนที่ดินเพื่อตัดถนนราชดำเนิน และพระราชทานที่ดินแถวนี้ให้ย้ายมาอยู่แทน ในบริเวณบ้านปัจจุบันมีอาคาร 3 หลัง ประกอบด้วยเรือนพระยาหิรัญยุทธกิจ เรือนขุนวิเศษสากล และเรือนเพ็งศรีทอง (เรียงตามลำดับการสร้างก่อนและหลัง) ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ย่านบางขุนพรหม กรุงเทพฯ โดยพบหลักฐานการซื้อขายของเรือนเพ็งศรีทองในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งซื้อเรือนแล้วยกมาสร้างในที่ดินนี้เป็นหลังท้ายสุด มีอายุถึง 95 ปีแล้ว จึงสันนิษฐานได้ว่าเรือนอีกสองหลังที่สร้างขึ้นก่อนหลายปีมีอายุมากกว่าร้อยปีอย่างแน่นอน ปรับปรุงบ้านไม้เก่า “เรือนไม้วิกตอเรีย” บ้านบานเย็นเป็นหมู่เรือนไม้สักหลังคาทรงจั่วผสมทรงปั้นหยา ยกพื้นสูง ฐานช่วงล่างก่ออิฐฉาบปูนสร้างในช่วงที่สยามมีการเปิดรับรูปแบบอาคารบ้านเรือนจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกในยุคนั้นว่า “เรือนไม้วิกตอเรีย” เมื่อผู้ที่อาศัยในเรือนทั้ง 3 หลังต่างก็ถึงแก่อนิจกรรมและถึงแก่กรรม เรือนทั้ง 3 หลังจึงถูกปิดไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และอยู่ในสภาพทรุดโทรมลงตามกาลเวลา “เราทุกคนเติบโตมาจากอดีต และเป็นรากเหง้าของเรา ถึงแม้จะมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและหนังสือมากมาย แต่การได้เห็นของจริงที่ยังคงอยู่ มาสัมผัสพื้นผิวไม้ […]
แต่งบ้านเก่าให้น่าอยู่ จังหวะที่ย้ายเข้าบ้านเช่า แล้วเกิดอาการหลอน เราจะต้องแก้ไขยังไง ? มาดูไอเดีย เปลี่ยนฟีลหลอน ให้กลายเป็นบ้านอยู่สบายกัน
บ้านปูนริมน้ำ ซึ่งยกย้านบ้านไม้เก่า 2 ชั้นที่่ริมถนนสวรรคโลกมาประกอบเป็นบ้านหลังใหม่ แต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่าวินเทจ ในบรรยากาศของบ้านสวน
รวม บ้านโคโลเนียล หลังงามที่นำเสนอภูมิปัญญาแบบไทยและงานสถาปัตยกรรมจากชนชาติอื่นมาหลอมรวมจนกลายเป็นบ้านที่เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์และคุณค่า
บ้านโมเดิร์นทรงจั่วหลังนี้ สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมในย่านวิภาวดีจากการตัดสินใจ “ไม่รีโนเวต” เพื่อให้การใช้งานบ้านหลังใหม่นั้นตอบโจทย์ของครอบครัวที่มีถึง 3 ช่วงวัยได้ชัดเจนขึ้น ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการที่ผังบ้านมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ของทุก ๆ คนเข้าหากัน และสร้างให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นของครอบครัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: INCHAN Atelier เราเริ่มต้นด้วยที่มาของบ้านซึ่งคุณเปี่ยม – มนต์เทพ มะเปี่ยม และคุณหนู-พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม เจ้าของบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟัง “สิบปีก่อนเราเคยอยู่คอนโดฯ เราสองคนทำงานที่ม.เกษตร และคุ้นชินพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย พอมีลูกเราก็เริ่มมองหาบ้านชั้นเดียวสำหรับสิบขวบปีแรกของลูกชาย และญาติก็แนะนำบ้านและที่ดินตรงนี้ให้” คุณเปี่ยมเล่าว่าเดิมเป็นบ้านขนาด 80 ตารางเมตร ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก พื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านจึงเป็น Common Area เสียเป็นส่วนใหญ่ และนั่นจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของบ้านที่ส่งผ่านมายังบ้านหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จซึ่งออกแบบโดย INchan atelier “พื้นที่กลางบ้านสำหรับทุกคน” “Common Area คือส่วนสำคัญของบ้านหลังนี้ จะเห็นว่าเข้ามาในบ้าน สิ่งแรกที่พบก็คือโต๊ะกินข้าว ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทานอาหารร่วมกันเราก็มักจะรวมตัวกันอยุ่ตรงนี้ และโต๊ะกินข้าวนี้เองที่จะเชื่อมโยงกับครัวของคุณยาย เพราะบ้านเราทำอาหารกินกันสามมื้อ เรียกว่าคุณยายใช้ครัวแทบจะตลอดเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นโต๊ะกลางตรงนี้และห้องครัว แต่ก็มีส่วนห้องนั่งเล่นที่เป็นทีวีกับโซฟาอยู่หลังพาร์ทิชั่นไปทางที่ติดกับสวนครับ” ชั้นล่างของบ้านหลังนี้ จากการใช้งานแล้วแทบจะรวมกันเป็นห้องเดียวโดยมีโต๊ะทานข้าวเป็นศูนย์ […]
รีโนเวตตึกเเถวจากบ้านเก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เจ้าของบ้านได้ชุบชีวิตใหม่ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างาม และสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลาได้อย่างน่าทึ่ง เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย และคุณนพดล ขาวสำอางค์ ในวันที่มาเยี่ยมชมบ้านหลังนี้ แม้จะไม่ได้พบเจ้าของบ้าน แต่เรากลับไม่รู้สึกว่าบ้านดูเหงา เพราะทุกอย่างในบ้านดูสวยงามและมีชีวิต ซึ่งมาจากมุมมองทางศิลปะที่ยอดเยี่ยมของเจ้าของบ้าน คุณนพดล ขาวสำอางค์ ช่างภาพมืออาชีพ และ คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย ศิลปินเจ้าของบ้านหลังนี้ที่ รีโนเวตตึกแถว เก่าสไตล์ชิโน-โปรตุกีส กลางย่านถนนนครใน ให้เป็นบ้านโมเดิร์นร่วมสมัยที่สง่างามและสร้างเสน่ห์ให้ชุมชนเก่าในเมืองสงขลา มองจากภายนอกอาจเห็นเพียงโครงตึกเก่าสองชั้นที่ใช้โทนสีเทาเข้ม ทว่าก็สร้างความรู้สึกประทับใจได้ตั้งแต่แรกเห็น บริเวณหน้าบ้านวางกระถางต้นไม้เป็นแนว ช่วยให้บ้านตึกแถวริมถนนดูน่าอยู่และกลมกลืนไปกับชุมชนรอบ ๆ ทั้งยังรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้านไว้ด้วย รีโนเวตตึกเเถว ภายในบ้านเน้นการตกแต่งแบบเรียบง่ายและใช้ข้าวของน้อยชิ้น มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนเล็กๆเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เมื่อเดินมาถึงกลางบ้านจะเห็นคอร์ตยาร์ดที่เปิดโล่งรับแสงธรรมชาติ ทำให้ลืมภาพบ้านตึกแถวที่แคบและมีแสงสลัวๆไปเลย บริเวณนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งมักเปิดโล่งและทำเป็นบ่อน้ำ ทว่าก่อนการปรับปรุงเจ้าของเดิมมุงหลังคากระเบื้องเพื่อป้องกันลมฝน คุณนพดลและคุณเกล้ามาศจึงออกแบบให้เปิดหลังคาออก เพื่อรับแสงแดดและลมได้เต็มที่ แต่เก็บบ่อน้ำของเดิมเอาไว้ เจ้าของบ้านทั้งสองพยายามคงเสน่ห์ของของเดิมในบ้านนี้ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคารเดิม ระดับของฝ้าเพดานที่สูงโปร่ง บันไดไม้เดิมทาสี พื้นไม้เก่าที่ทำความสะอาดใหม่และรักษาพื้นผิวขรุขระตามธรรมชาติของไม้ไว้ โดยไม่มีการขัดมันลงแวกซ์ ส่วนที่ต่อเติมใหม่คือบริเวณดาดฟ้าที่ออกแบบเป็นห้องพักแขก มีการกรุหน้าต่างกระจกใสรอบห้องนี้ เพื่อให้มองเห็นความสวยงามของบรรยากาศเมืองเก่าริมทะเลสาบสงขลา ทั้งยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เพราะส่วนต่อเติมนี้ไม่บดบังหรือรบกวนสายตาบ้านเรือนข้างเคียง บรรยากาศที่สวยงามของบ้านหลังนี้ยังเกิดจากการจัดวางเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น ทว่าแต่ละชิ้นให้ความรู้สึกเหมือนงานศิลปะ […]
บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้ คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]