RUPU HOUSE บ้านสองชั้นโมเดิร์น เฉียบเรียบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตเอาต์ดอร์

บ้านสองชั้นโมเดิร์น โดดเด่นในรูปทรงเรขาคณิตเฉียบเรียบ เปิดรับธรรมชาติ กับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ทั้งพื้นที่สังสรรค์ และพื้นที่ส่วนตัว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Junsekino A+D บ้านสองชั้นโมเดิร์น หลังนี้ มีโจทย์เริ่มต้นมาจากการสร้างบ้านหลังใหม่ของลูกชายให้อยู่ใกล้กับบ้านของคุณพ่อ โดยแต่เดิมกำหนดให้บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนที่ดินเดียวกันกับบ้านหลังเดิมของคุณพ่อ แต่ภายหลังได้ถูกย้ายตำแหน่งมาอยู่ในที่ดินฝั่งตรงกันข้าม จึงมีการหมุนแบบบ้านเพื่อให้เหมาะสมกับที่ตั้งใหม่ในลักษณะวนเป็นวงกลม จึงเป็นที่มาของชื่อบ้าน “RUPU HOUSE” ที่ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่าวนรอบหรือวนเป็นวงกลมนั่นเอง RUPU House ตั้งอยู่บนที่ดินขนาดราว 200 ตารางวา มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดราว 680 ตารางเมตร โดยบ้านสำหรับครอบครัวใหม่หลังนี้ถูกสร้างให้เป็น บ้านสองชั้นโมเดิร์น โดยตั้งใจให้เหลือพื้นที่รอบๆ บ้านไว้เป็นสวนที่เขียวที่โล่งกว้างพอสมควรเพื่อความปลอดโปร่ง พื้นที่ใช้สอยของบ้านแบ่งออกจากกันอย่างชัดเจน โดยชั้นล่างเป็นส่วนสาธารณะอันประกอบด้วยครัว และห้องโถงรับประทานอาหารใจกลางบ้าน จากนั้นจึงแยกมาเป็นห้องนั่งเล่นที่มุมหนึ่ง ทั้งส่วนรับประทานอาหาร และห้องนั่งเล่นนี้ตั้งประกบพื้นที่รับแขกกึ่งกลางแจ้งภายนอก และกั้นด้วยผนังกระจกบานใหญ่ให้ความรู้สึกต่อเนื่องกัน อาจกล่าวได้ว่าโถงกึ่งกลางแจ้งถือเป็นหัวใจของพื้นที่ชั้นล่างก็ว่าได้ เนื่องจากเจ้าของบ้านชื่นชอบการใช้ชีวิตที่ได้สัมผัสกับบรรยากาศเอ้าต์ดอร์ที่ปลอดโปร่ง พร้อมมีการต้อนรับแขก และจัดงานสังสรรค์กันอยู่เสมอ โจทย์เหล่านี้จึงสะท้อนในการออกแบบโถงกึ่งกลางแจ้งแห่งนี้ ให้กลายเป็นโถงไร้ผนังที่กว้างขวางพอจะรับแขก และตั้งอยู่ใต้ชายคาที่ให้ร่มเงาพร้อมเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก ในอีกแง่หนึ่ง โถงนี้ก็คล้ายเป็นการจำลองลักษณะของใต้ถุนเรือนไม้ในอดีตมาไว้ในบ้านสมัยใหม่ โดยในชีวิตประจำวันก็จะถูกใช้งานต้อนรับแขกเหรื่อ และนั่งสังสรรค์ได้โดยไม่รบกวนส่วนใช้งานอื่นๆ ในบ้านอีกด้วย ในขณะที่ชั้นล่างเป็นส่วนไว้ใช้ต้อนรับแขกอย่างเต็มที่ ชั้นบนก็แยกตัวเป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างชัดเจนเช่นกัน โดยประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง […]

บ้านเหล็ก ยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไทยเดิม

บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัล

บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง

บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]

รวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง อบอุ่น เย็นสบายสไตล์ไทยๆ

บ้านไม้ใต้ถุนสูง ยังคงเป็นรูปแบบบ้านที่ครองใจมหาชนชาวบ้านและสวนมาโดยตลอด อาจด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเมืองไทย ซึ่งสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี จึงช่วยระบายความร้อนและเปิดรับลมเย็นสบาย อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพที่ตั้งที่มักถูกน้ำท่วมบ่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ บ้านไม้ใต้ถุนสูง จะติดโผแบบบ้านยอดฮิต ครั้งนี้เราจึงได้รวบรวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูงมาให้ชมกันอย่างจุใจอีกครั้ง เลื่อนชมบ้านหลังงามด้านล่างได้เลย บ้านไม้ใต้ถุนสูง บ้านไม้สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน เจ้าของ – ตกแต่ง  : คุณจาตุรงค์ ขุนกอง และคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง บ้านไม้ใต้ถุนสูงสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน >> อ่านต่อ  บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี เจ้าของ : คุณธีระศักดิ์-คุณชื่นประภา พรหมลา ออกแบบ : คุณธีระศักดิ์ พรหมลา แบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง สุดแสนเรียบง่าย โดยข้างล่างทำหน้าที่เป็นทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก มุมดริปกาแฟเล็ก ๆ  และด้านบนที่มีเพียงห้องนอนกับห้องน้ำ เจ้าของบ้านเน้นให้อยู่สบาย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ที่สำคัญคือต้องเป็นบ้านที่ไม่สร้างภาระ ไม่สร้างหนี้สิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นบ้านอยู่สบายหลังนี้ >> อ่านต่อ  ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า […]

บ้านปูนใต้ถุนสูงท่ามกลางธรรมชาติ

แบบบ้านปูนใต้ถุนสูง ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่เจ้าของพัฒนาที่ดินจากสวนหมากและมะม่วงที่รกร้างกลายเป็นบ้านที่น่าอยู่ขึ้นทีละน้อย

รวมบ้านสไตล์อีสานน่าอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ

 แม้ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ และมีทรัพยากรธรรมชาติงดงามมากเพียงใด หากแต่ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว บ้านสไตล์อีสานมีการนำเสนอให้เห็นไม่มากเท่าที่ควร ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามขนบธรรมเนียมของคนท้องถิ่น ทำให้รูปแบบของเฮือนอีสานหรือเรือนไทยอีสานดูเรียบง่ายกว่าเรือนไทยภาคกลางที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถึงอย่างไรก็เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่นอย่างงดงาม เหมือนเช่นบ้านทั้ง 4 หลังที่เรานำมาให้ชม แม้ไม่ใช่รูปแบบของเรือนอีสานดั้งเดิม ทว่าก็มีแนวคิดและกลิ่นอายบางประการมาผสมผสานให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่และทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติเหมือนเช่นที่เคยเป็นมา    บ้านไม้อีสานอยู่สบาย สงบร่มรื่นในบ้านไทยอีสาน เจ้าของ : คุณศักดา – คุณอรพินท์ ศรีสังคม ออกแบบ : อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล นิยม สถาปนิกโครงการ : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ และคุณอรพิมพ์ ตันติพัฒน์ ตกแต่งภายใน : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ ด้วยความที่เจ้าของบ้านชื่นชอบบ้านเรือนไทยมาตั้งแต่เด็ก บวกกับได้รับอิทธิพลมาจากคุณพ่อซึ่งหลงรักวัฒนธรรมอีสาน ผู้ออกแบบจึงนำลักษณะที่สำคัญของการปลูกเรือนอีสานมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ เช่น การออกแบบพื้นที่ชั้นล่างให้เป็นเหมือนใต้ถุนโล่ง เพื่อให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติรอบตัว โดยเฉพาะทุ่งปอเทืองหน้าบ้าน มีชานหลังคายื่นออกไปเป็นพื้นที่อเนกประสงค์และรับแขกได้ บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายเรือนสามหลังที่มีชานแดดผูกติดกันตรงกึ่งกลาง เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวกทุกพื้นที่ เรือนแต่ละหลังมีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันแดดและฝน ชั้นล่างใช้ผนังดินอัดเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนหน่วงความร้อนให้บ้านเย็นลงในช่วงกลางวัน ส่วนหลังคาไม้ก็ปรับไปใช้หลังคาไม้ซีดาร์ วัสดุส่วนใหญ่เลือกใช้ไม้เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งดูดและคายความร้อนได้รวดเร็ว >>> […]

ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ใน บ้านทรงไทย เรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

บ้านทรงไทย จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่    บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา สันกำแพงเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกมาจากกลางเมืองเพียงครึ่งชั่วโมงก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติและความสงบเงียบแบบชนบท และที่นี่ยังมีโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้น้อยใหญ่ ด้วยถนนขนาดเล็กด้านหน้าเป็นเหมือนปราการช่วยกั้นไม่ให้ความวุ่นวายและเสียงรบกวนจากรถยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาถึง ภายในจึงสงบเงียบจนได้ยินเสียงใบไม้ไหวตามแรงลมและเสียงนกน้อยเจื้อยแจ้วอย่างชัดเจน เมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าจึงเห็นเรือนไม้ไทยโบราณอยู่ด้านหลังแนวรั้วต้นไม้สีเขียวครึ้ม ดูจากลักษณะที่ตั้งของเรือนไทยเก่าพอจะบอกได้ว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนขนาดเล็กซึ่งอยู่กันแบบเรียบง่าย จึงไม่มีการกั้นรั้วสูงจนมองไม่เห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่อาศัยต้นไม้เป็นขอบเขตธรรมชาติทางสายตา และที่นี่เองที่เป็นโฮมสเตย์ในชื่อ วิลล่า มัชฌิมา ที่พักสำหรับคนโหยหาธรรมชาติและความสงบในทางสายกลางที่พอดีกับจิตใจ คุณปู- ชยสิริ วิชยารักษ์ ผู้หญิงซึ่งเคยเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าแม่อาคารโบราณ ผู้ปลุกปั้นบ้านเก่าทิ้งร้างกว่า 20 ปีริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น “พระยา พาลาซโซ” โรงแรมบูติกสุดสวย เธอมาเจอเรือนไม้เก่าหลังนี้ที่กำลังบอกขาย ด้วยความเสียดายไม่อยากให้สถาปัตยกรรมไทยโบราณต้องถูกรื้อทิ้งแยกส่วนขายเป็นชิ้นไม้เก่า ก็เลยตัดสินใจขอซื้อและลงมือลงแรงบูรณะทั้งหมดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงหลองข้าวเก่าของชาวเหนือให้กลายเป็นเรือนพักที่แสนสบาย “ด้วยความที่เป็นหลองข้าวเก่ามีโครงสร้างเป็นไม้แต่ก็มีสเกลใช้งานเล็กๆ ที่ไม่เหมือนบ้าน เมื่อเรานำมาปรับปรุงให้เป็นบ้าน บางอย่างก็ต้องเติม อย่างการเพิ่มสัดส่วนความสูงของพื้นที่ในห้องน้ำ บางอย่างก็ต้องรื้อออกเช่นรายละเอียดที่มากเกินไป อย่างน้อยก็ถือว่าได้เก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า ‘วิลล่า มัชฌิมา’ เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง คือมีทั้งธรรมชาติและความสะดวกสบายแบบพอดี” ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า […]

พักสบายในเรือนยุ้งข้าว ในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่  

ที่พักซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนยุ้งข้าว ปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ : ยุ้งข้าวล้านนา  ซอยเวียงกุมกาม 7 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-9633 – 2573    โฮมสเตย์ไม้ ออกแบบ – ตกแต่ง : Lanna Architect Ltd. โดยอาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ   อาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ เจ้าของและผู้ออกแบบ ยุ้งข้าวล้านนา ตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ได้อย่างน่ารักและสะท้อนภาพความเป็นท้องถิ่นได้ชัดเจน โดยตัวอาคารที่พักนั้นดัดแปลงมาจากเรือนไม้พื้นถิ่น แน่นอนว่าต้องมีเรือนยุ้งข้าวรวมอยู่ด้วย เรือนเหล่านี้เป็นเรือนของชาวบ้านในอดีต ซึ่งนับวันมีแต่จะหายไปจากวิถีชีวิตคนล้านนา เรือนทุกหลังปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โครงสร้างไม้ทั้งหมด มีการตั้งเสายกพื้นสูงทำให้มีบริเวณใต้ถุนตามแบบอย่างบ้านโบราณ และจัดวางกลุ่มเรือนใหม่ แต่ละเรือนออกแบบเป็นที่พักแบบ 2 ห้องนอนหรือ 3 ห้องนอน มีชานไม้และทางเดินเชื่อมต่อกันทุกเรือน นอกจากนี้ยังมีเรือนที่เปิดโล่งไม่มีห้อง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเฉพาะการจัดงานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ สำหรับห้องพักมีทั้งหมด 20 […]