© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านธรรมชาติ น่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายๆ คน แต่เมื่อรอบตัวล้อมไปด้วยบรรยากาศเมืองใหญ่ ทำอย่างไรให้ยังคงรู้สึกเชื่อมต่อกับ ต้นไม้ สายลม และแสงแดด มาดูการแปลงบรรยากาศสีเขียวเข้ามาใกล้ตัว ทำ บ้านธรรมชาติ กลางเมือง ด้วยไอเดียของสถาปนิก จูน เซคิโน เมื่อคนเปลี่ยนไป บ้านก็ต้องเปลี่ยนตาม หลายคนชื่นชอบ บ้านธรรมชาติ แต่เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยน บ้านที่อาศัยอยู่ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย “โลกมันก็เหมือนเดิม พระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกอยู่ทุกวัน แต่ที่เปลี่ยนมันเกิดจากคนนี่ล่ะครับ” จูน เซคิโน แห่ง Junsekino Architect and design พูดถึงการแปรเปลี่ยนของบ้านผ่านช่วงชีวิตที่คลุกคลีกับงานออกแบบมากว่า 20 ปี “พื้นที่สีเขียวลดลง อากาศแย่ขึ้น ความหนาแน่นของเมืองมากขึ้น นี่คือปัจจัยแรกที่คนทนไม่ได้ ปัจจัยที่สองคือเรื่องของการก่อสร้าง ราคาของวัสดุที่ไม่มีเหมือนเมื่อก่อน เช่นไม้ สมัยก่อนเรายังใช้ไม้ได้อย่างสนุกสนานอยู่เลย 10 ปีหลังนี้แทบไม่มีโอกาส ปัจจัยที่สามคือเทคโนโลยีการก่อสร้าง อย่างกระจกเดี๋ยวนี้เป็นแค่กระจกใสอย่างเดียวไม่พอ ต้องป้องกันความร้อนได้ด้วย ปัจจัยในภาพใหญ่ที่เปลี่ยนไปมาก ทำให้ตัวเราซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ ต้องปรับตาม” “ในสมัยก่อนเราต้องออกไปหา ต้องออกไปปฏิสัมพันธ์ เดี๋ยวนี้เราอาจจะไม่สะดวกขนาดนั้น เลิกงานดึก เสาร์อาทิตย์ก็ไม่มีเวลาไปสวน […]
รีโนเวตทาวน์เฮ้าส์ในเมือง ให้รองรับการใช้ชีวิตของแม่ที่อายุมากขึ้น โจทย์หลักคือการติดตั้งลิฟต์อำนวยความสะดวก
บ้านเหล็กเล่นระดับ บังสายตาด้วยฟาซาด ทรงอาคารเรียบขรึม และการเว้นระยะจากถนนด้วยซุ้มประตูทางเข้าสีดำ เพิ่มความสงบในการพักผ่อนอย่างเต็มรูปแบบ DESIGNER DIRECTORY สถาปนิก : Junsekino A+D ท่ามกลางความวุ่นวายของย่านพัฒนาการ คือ บ้านที่พรางตัวด้วยฟาซาดเหล็กทอล้อมบ้านทั้งหลัง และการเว้นระยะจากถนนด้วยซุ้มประตูทางเข้าสีดำ สะท้อนความต้องการของคู่รักที่ตั้งต้นโจทย์ในการทำบ้านบนที่ดินผืนใหม่ คือความเป็นส่วนตัว และดูแลง่าย โดยพกรายละเอียดการใช้ชีวิตไปให้ คุณจูน เซคิโน แห่ง Junsekino Architect and Design ซึ่งเป็นสถาปนิกที่ชื่นชอบและติดตามผลงานมานาน ให้ช่วยรังสรรค์ออกมาเป็นบ้านที่ตอบ โจทย์การใช้ชีวิตของทั้งคู่ ออกแบบบ้านด้วยเทคนิค “ทอยลูกเต๋า” “ผมชอบใช้ชีวิตในห้องที่ไม่ได้รู้สึกเปิดโล่ง ชอบให้เป็นห้องๆ เป็นสัดส่วน ให้รู้สึกเหมือนเป็น Comfort Zone ไม่อยากนั่งอยู่ตรงกลางแล้วคนอยู่ตรงนั้นด้วยกันหมด รู้สึกไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวเท่าไร แต่ก็ไม่ต้องการให้เป็นห้องทึบที่ดูอึดอัด” จากโจทย์ของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยยังคงความเป็นส่วนตัวในแบบที่ชื่นชอบ และอยากได้บ้านที่มีสัดส่วนชัดเจน ไม่ต้องการพื้นที่ตรงกลางขนาดใหญ่ที่รวมฟังก์ชันหลายอย่างเข้าด้วยกัน สถาปนิกจึงเสนอแนวคิดในการเปลี่ยนระดับห้องแทนการกั้นด้วยผนัง โดยแยกห้องต่างๆ ออกมาเสมือนลูกเต๋า 5-6 ลูก ทอยเข้าไปในผืนที่ดิน แล้วจัดเรียงลูกเต๋าเหล่านี้ให้มีระดับสูงต่ำต่างกัน ทำให้ห้องต่างๆ ในบ้านค่อยๆ ถ่ายระดับขึ้น-ลงหากันในแต่ละห้อง “บ้านจะค่อยๆ ถ่ายระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ความรู้สึกมันจะไม่ใช่บ้านสองชั้นแบบสองชั้นจริงๆ […]
บ้านในเมือง ที่ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยอาจไม่เอื้อให้เปิดรับวิว บดบังทิศลมและการระบายอากาศ การออกแบบบ้านจึงยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดี มาดูไอเดียการออกแบบบ้านไทยในบริบทเมือง ที่ผสมผสานภูมิปัญญาเดิมเข้ากับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ โดยยังคงคุณภาพชีวิตและความอบอุ่นที่คุ้นเคยเอาไว้ได้ เพื่อนบ้านอยู่ชิดใกล้ แต่ก็ยังเป็นส่วนตัวได้ การสร้างความเป็นส่วนตัวจากภายนอก เป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักของการมี บ้านในเมือง ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย ยิ่งปัจจุบันพื้นที่รอบบ้านถูกบีบแคบลงจนเพื่อนบ้านอยู่ห่างออกไปเพียงผนังบางๆกั้น การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้เข้ากับบริบท และยังอยู่สบายในเวลาเดียวกัน จึงมีความสำคัญมากขึ้น ผืนผนังซ้อนเหลื่อม บังมุมมองระยะไกล บ้านที่มีพื้นที่รอบสักหน่อย สามารถออกแบบส่วนประกอบรอบบ้าน เช่น ผืนผนังซ้อนเหลื่อมกัน ไปมาเพื่อบดบังสายตา เมื่อมองจากนอกบ้านก็แทบจะมองไม่เห็นภายในบ้าน แต่เมื่อเข้าสู่ภายในก็จะ พบกับอาณาเขตส่วนตัวที่สามารถผ่อนคลายได้อย่างสบายใจโดยไม่รู้สึกปิดทึบ ข้อแนะนำในการเลือกใช้วัสดุ : สามารถออกแบบให้เป็นผนังก่ออิฐวางบนคาน แผงระแนง กรองสายตา หรือเลือกใช้แนวพุ่มไม้บังสายตาก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับระยะต่างๆ ที่ยังทำให้ สัญจรสะดวก ลมพัดผ่านถ่ายเทอากาศได้ และวัสดุที่ทำให้ไม่รู้สึกอึดอัดเกินไป ทำพื้นที่กึ่งภายนอก ให้สร้างขอบเขตได้ ใช้งานก็ดี เฉลียง ระเบียง พื้นที่กึ่งภายนอกคลุมด้วยหลังคาหรือมีผนังบางส่วน สำหรับใช้งานเอนกประสงค์ที่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมภายนอก ผึ่งแดด รับลม ชมธรรมชาติรอบบ้านได้ ซึ่งความใกล้ชิดของบ้านในเมืองทำให้ลดความเป็นส่วนตัวลง ใช้งานได้ไม่สะดวกนัก สามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งแผงระแนงหรือผืนฟาซาด บังสายตา เพิ่มความเป็นส่วนตัว […]
บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน […]
จากบ้านเก่าบนที่ดินใจกลางเมือง แปลงโฉมเป็น บ้านรีโนเวตครอบครัวขยาย สูง 4 ชั้น หน้าตาทันสมัย ที่จัดสรรสเปซส่วนตัวของสมาชิกหลากวัย ได้แก่ คุณพ่อ คุณแม่ คุณย่า และครอบครัวขยายของลูกชายทั้งสามคนเอาไว้ภายในบ้านหลังเดียว บ้านรีโนเวตครอบครัวขยาย หลังนี้เป็นผลงานการออกแบบของ PVWB Studio ที่นำโดยสถาปนิก คุณเตอร์ – วิชญ์วัส บุญประสงค์ และ คุณเชอร์รี่ – พัสวี ว่องเจริญ ผู้เป็นทั้งมัณฑนากรและภรรยาของ คุณกอล์ฟ – ภูริพัฒน์ วุฒิภารัมย์ ลูกชายคนเล็กของบ้านด้วย โดยคุณกอล์ฟเล่าถึงที่มาของการรีโนเวตว่า “เราอยู่บ้านหลังเดิมมากว่า 15 ปีครับ จนลูกชายทั้งสามคนเริ่มแต่งงานมีครอบครัว เลยถึงเวลาปรับปรุงจากบ้านครอบครัวเดี่ยวให้เป็นบ้านครอบครัวขยาย โดยจัดสรรพื้นที่ใหม่ให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ยังมีความเป็นส่วนตัวครับ” ด้วยเนื้อที่จำกัด การรีโนเวตบ้านเก่าสำหรับสมาชิกครอบครัวทั้ง 11 คน จึงเป็นการปันส่วนพื้นที่แต่ละชั้นสำหรับแต่ละครอบครัวย่อย และเชื่อมต่อกันในแนวตั้งด้วยโถงบันไดหลักของบ้าน ด้วยแนวคิดการอยู่ร่วมกันแบบบ้านหลายหลังบนที่ดินผืนใหญ่ “เราออกแบบให้บ้านหลังนี้เป็นเหมือนกับที่ดินที่ลูกแต่ละคนปลูกบ้านอยู่ด้วยกันหลายๆ หลัง โดยที่โถงบันไดเป็นเหมือนกับสนามหน้าบ้านที่เชื่อมบ้านของแต่ละคนเข้าด้วยกันค่ะ” คุณเชอร์รี่อธิบาย โถงบันไดถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมต่อทุกโซนเข้าด้วยกัน ก่อนที่สมาชิกแต่ละคนจะเข้าไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังย่อยๆ ของตัวเอง […]
ชมตัวอย่างบ้านสวยแบบ บ้าน Well-being ที่เริ่มต้นปลูกต้นไม้ในบ้าน ซึ่งจุดสีเขียวเล็กๆหลายๆจุดก็สร้างความขจีและรื่นรมย์ให้แก่เมืองได้เช่นกัน
แบบบ้านโมเดิร์น : ใครจะเชื่อว่า ในซอยเล็กๆ อย่างสุขุมวิท 49 ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายของชีวิตคนเมือง จะเป็นที่ตั้งของ บ้านสวย แสนสงบเงียบหลังหนึ่ง...