บ้านไทยใต้ถุนสูง – บ้านและสวน

รับวิวตะวัน ที่บ้านไร่สไตล์โรงนา

บ้านสไตล์โรงนา หลังนี้ ตั้งอยู่กลางไร่พลิศาซึ่งเป็นไร่ปลอดสาร บนเส้นบายพาสชะอำ-หัวหิน มีความพิเศษตรงการวางตัวอาคาร และช่องเปิดของบ้านให้รับวิวสวย ๆ ได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินจากทิวเขาที่อยู่ล้อมรอบไปสุดตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Phyicalist คุณตุ๋ย-อมรรัตน์ จันต๊ะ เจ้าของบ้าน บ้านสไตล์โรงนา แห่งนี้ มีกิจการร้านอาหารไทยในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในนาม Chat Thai ซึ่งมีการทำไร่ออร์แกนิกที่ไบรอนเบย์อยู่แล้ว จึงได้นำประสบการณ์มาทำไร่ออร์แกนิกปลูกพืชหมุนเวียนในที่ดินแห่งนี้ โดยนำวัตถุดิบบางส่วนส่งกลับไปใช้ที่ร้านอาหารในออสเตรเลียด้วย ทั้งยังมีร้านอาหารเปิดให้บริการแก่คนทั่วไปในพื้นที่ของไร่พลิศา พร้อมกับวางผังตรงกลางให้เป็นบ้านส่วนตัว รายล้อมไปด้วยความสดชื่นของไม้ดอกและไม้ใบตามความชอบ ลักษณะของบ้านจึงมีโครงสร้างที่คล้ายกับอาคารทางกสิกรรม แต่ทำการยกสูงแบบใต้ถุนไทยให้เหมาะกับเขตร้อน บนเนินที่มีความสูง 3 เมตร จากระดับถนนปกติ สถาปนิกผู้ออกแบบคุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ แห่ง Physicalist ได้นำเสนอแนวคิดการเปิดช่องว่างเพื่อให้รับกับวิวและสายลมได้เต็มที่ วางแนวอาคารทอดตัวยาวรับด้านพระอาทิตย์ขึ้นเป็นด้านห้องนอนของคุณตุ๋ย ด้านพระอาทิตย์ตกเป็นด้านห้องนอนของคุณเทิดน้องชายคุณตุ๋ย และห้องนั่งเล่นอยู่ปลายอีกด้าน ทั้งหมดเชื่อมกันด้วยทางเดินยาว ทำหน้าที่สร้างความไหลลื่นให้กับทางสัญจรและให้อากาศถ่ายเท ภายใต้หลังคาขนาดใหญ่ซึ่งยื่นออกไปจากตัวชั้นสอง 2.5 เมตร เมื่อดูจากแปลนเราก็จะเห็นผนังทึบ ผนังโปร่ง และช่องเปิด เรียงสลับกันไปอย่างลงตัว การเปิดประตูออกจากห้องสู่พื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ใต้ชายคา จึงเหมือนการเปิดประตูสู่พื้นที่สีเขียวของไร่ในทันที ชั้นล่างที่เป็นชั้นใต้ถุน เป็นโครงสร้างปูน […]

บ้านไทยร่วมสมัยใต้ถุนสูง บ้านกึ่งโฮมสเตย์ ชื่อ Baan Lek Villa

บ้านไทยดีไซน์โมเดิร์นร่วมสมัย ใต้ถุนสูง ในจังหวัดจันทบุรี ที่ทำบ้านให้เป็นกึ่งโฮมสเตย์อารมณ์เหมือนบ้านต่างจังหวัด ซึ่งมีทั้งความเรียบง่ายเเละกลมกลืนกับบริบทของที่ตั้งที่คำนึงถึงสภาพอากาศเเสงเเละลม

สงบร่มรื่นใน บ้านใต้ถุนสูง สไตล์ไทยอีสาน

บ้านใต้ถุนสูง บรรยากาศอันร่มรื่นของแมกไม้และสไตล์บ้านที่ดูสงบและสวยงามเป็นอย่างมาก นี่คือบ้านไทยอีสาน ประยุกต์ที่ดูร่วมสมัย ผสมกลิ่นอายเรือนไทยและจังหวะสนุกๆของครอบครัว

หลายวัฒนธรรมรวมเป็น บ้านล้านนาร่วมสมัย

บ้านไทยร่วมสมัย บนพื้นที่ 1 ไร่ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ โดยปรับเป็นเกสต์เฮ้าส์ที่ใช้ชื่อว่า “บ้านบูลู เกสต์เฮ้าส์” ด้วยในตัว

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ในบรรยากาศแสนสบาย

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ที่ดัดแปลงจากหลองข้าวเก่า แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ตัวบ้านเปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

โฮมสเตย์ บ้านไททอ ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจจากกันและกัน

บ้านสองหลังที่ต่อเติมเพื่อเติมเต็มชีวิตของคนหลากวัย เกิดเป็นการต่อเติมร้านกาแฟ ร้านเสื้อผ้า และ โฮมสเตย์ ของครอบครัวตามลำดับ

บ้านตถตา บ้านไม้ บนรอยเท้าของชาวล้านนา

“ตถตา” ที่หมายถึง “เป็นเช่นนั้นเอง” คือชื่อของ บ้านไม้ หลังนี้ สื่อถึงการใช้ชีวิตแสนธรรมดา ทว่ารุ่มรวยด้วยเสน่ห์จากบรรยากาศในพื้นที่ รายละเอียดเชิงช่าง