บ้านไม้
รวม ” แบบบ้านไม้ ” บ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้-บ้านและสวน
บ้านชั้นเดียว เปิดรับวิวดอยสวย
บ้านชั้นเดียว สร้างขึ้นตามแนวคิดการอาบป่าของญี่ปุ่น หรือการใช้ธรรมชาติบำบัดเพื่อฟื้นฟูพลังชีวิต เลยตั้งชื่อบ้านนี้ว่า ‘ชินรินโยคุ’ (ชินริน แปลว่า ป่า) (โยคุ แปลว่า อาบ) เพราะเลือกทำเลบนเนินเขาที่มองเห็นความสดชื่นของต้นไม้ได้รอบตัว
บ้านสุขใจ” บ้านไม้กลางเขาใหญ่เน้นสุขกายสบายใจ
บ้านไม้ ตากอากาศบนเขาใหญ่ คุณภาพมาตรฐานญี่ปุ่นที่ถูกออกแบบและคิดวิธีก่อสร้างมาอย่างดี
20 บ้านไม้สวยๆ สำหรับคนรักความเป็นธรรมชาติ
บ้านไม้สวยๆ เป็นบ้านยอดฮิตที่แฟนๆบ้านและสวนหลงรักมาโดยตลอด ครั้งนี้เราได้รวมบ้านไม้หลากดีไซน์ ให้อารมณ์ใกล้ชิดธรรมชาติ มาฝากกัน
บ้านไม้โมเดิร์น ที่ใช้ครีบหินแบ่งสเปซและกั้นแดด
บ้านไม้โมเดิร์น หลังนี้เป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิกและช่างก่อสร้าง ทั้งการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติแท้ๆ ของหินและไม้ ทั้งขนาดที่ใหญ่เป็นพิเศษของวัสดุ และการติดตั้งแบบเหนือชั้น เปรียบเหมือนรถสปอร์ต์ที่ขับยากแต่สนุก
กลิ่นอายบ้านไทยในโครงสร้างเหล็กสมัยใหม่
บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ในกลิ่นอายแบบไทยๆ ผสมวัสดุสมัยใหม่แข็งแรง ทนทาน และดูแลรักษาง่าย ผสมด้วยไม้จากบ้านเดิมมาเป็นส่วนของพื้นและผนังตัวบ้านเป็นแนวยาวเพื่อขวางรับทางลมและไล่เรียงฟังก์ชันไปตามพื้นที่แบบง่ายๆ
บ้านไม้กลางทุ่งนา ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเข้าใจ
บ้านไม้กลางทุ่งนา ที่มีความเป็นอีสานผสมล้านนา โดยประยุกต์ฟังก์ชันและองค์ประกอบให้ทันสมัยขึ้น ท่ามกลางบรรยากาศทุ่งนาที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล
Little Tree Grocery คาเฟ่น่ารักในบ้านไม้แสนอบอุ่น
Little Tree Grocery สาขาใหม่ของคาเฟ่ดัง Little Tree Garden ตั้งอยู่ในอาคารที่มีลักษณะเหมือนบ้านไม้แสนอบอุ่น ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
20 สถาปนิกบ้านไม้ อบอุ่น อยู่สบาย แบบไทยๆ
รวมรายชื่อ 20 สถาปนิกบ้านไม้ ผู้เชียวชาญการออกแบบบ้านไม้ที่อบอุ่น อยู่สบาย แบบไทยๆ
บ้านไม้ติดน้ำ รับลม และโอบล้อมด้วยวิวภูเขา
บ้านไม้ติดน้ำ รูปทรงยาวที่ออกแบบให้ทุกห้องมองเห็นวิวธรรมชาติสวยๆ ทั้งบ่อน้ำ ภูเขา และท้องฟ้า ตัวบ้านมีลักษณะเหมือนบ้านใต้ถุนที่สูงเกือบ 4 เมตร ผสมคาแรกเตอร์มาจากบ้านไม้ตึกแถวของจันทบุรีและระยอง
ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน
ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]
บ้านชนบทชั้นเดียว สไตล์ไทยผสมญี่ปุ่น
บ้านชนบทชั้นเดียว ที่มีกลิ่นอายแบบชนบทไทยและใส่รายละเอียดบางอย่างแบบบ้านญี่ปุ่น โดยนำเอาระบบโมดูลาร์มาใช้ เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว
BAAN NOI DOI HANG บ้านต่างจังหวัด ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานจากบนดอย
BAAN NOI DOI HANG บ้านหลังเล็กแฝงกลิ่นอายสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ฟังก์ชันพอดีสำหรับใช้ชีวิต และทำงานแบบ Work from Home จากบนดอยที่จังหวัดเชียงราย บ้านน้อยดอยฮาง ขนาดพื้นที่ 35 ตารางเมตร ขนาดของบ้านไม่ต่างจากห้องในคอนโดมิเนียมกลางเมืองห้องหนึ่ง แต่สิ่งที่ต่างคือเป็นบ้านตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติบนภูเขาที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เจ้าของบ้านเป็นคู่รักที่ต้องการสร้างบ้านหลังเล็กเพื่อหลีกเร้นจากความวุ่นวาย และเร่งรีบของเมืองหลวง ออกไปสร้างพื้นที่ขนาดย่อมไว้ใช้ชีวิต และทำงานได้จากที่บ้าน โดยเริ่มจากการเลือกรูปแบบวิถีชีวิตที่ต้องการจริงๆ ก่อนออกแบบเป็นพื้นที่ใช้งานที่เรียบง่าย บ้านไม้ ที่ตัดสิ่งไม่จำเป็นออก จนเหลือเพียงพื้นที่ที่ได้ใช้งานจริงในทุกวัน คัดเฉพาะฟังก์ชันที่จำเป็น พื้นฐานของเจ้าของบ้านเป็นคนกรุงเทพฯ มีบ้านหลังอื่นมาก่อนที่จะทำบ้านหลังนี้ที่อยู่ในเมือง จึงตกผลึกความต้องการในการอยู่อาศัยมาระดับหนึ่งว่าฟังก์ชันบ้านที่ต้องการ และพอดีสำหรับตนเองเป็นแบบไหน จึงแลกเปลี่ยนไอเดียกับสถาปนิก จนออกมาเป็นบ้านหลังเล็ก เป็น Tiny House ที่มีห้องพักสำหรับนอน และทำงาน 1 ห้อง ห้องน้ำ 1 ห้อง เคาน์เตอร์ครัวสำหรับทำอาหารต่อเนื่องกับบาร์ชงกาแฟ ตู้เสื้อผ้า และระเบียงสำหรับทำกิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งข้อดีของบ้านเล็ก นอกจากจะเป็นเรื่องการคุมงบไม่ให้บานปลาย ยังดูแลรักษาง่ายทำให้เจ้าของบ้านมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นในชีวิตอีกด้วย ออกแบบบ้านรับกับบริบท ตัวบ้านตั้งอยู่บนเนินเขา หันมุมมองบ้านเปิดรับวิวไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ใช้ชายคาเป็นตัวช่วยบังแสงแดดในช่วงบ่ายก่อนเข้าสู่พื้นที่ห้องนอน […]