บ้านไม้
รวม ” แบบบ้านไม้ ” บ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้-บ้านและสวน
บ้านไม้ริมคลอง ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาร่วมร้อยปี
บ้านไม้ริมคลอง ที่ประกอบด้วยบ้านไม้สักสีธรรมชาติฉลุลายแบบขนมปังขิงหนึ่งหลัง ส่วนอีกหลังเป็นบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลทาสีเขียวอ่อน ซึ่งผ่านกาลเวลามาได้เกือบร้อยปี
เพิ่มมูลค่าบ้านไม้เก่าเกือบร้อยปี ให้กลับมาสวย สร้างรายได้
รีโนเวตบ้านไม้เก่าอายุเกือบร้อยปีที่ถูกปล่อยร้าง และผลัดมือเปลี่ยนมาหลายเจ้าของ ให้กลับมาสวยงามและเพิ่มมูลค่าเชิงธุรกิจ โดยปรับเปลี่ยนเป็นบ้านพักรับรองพร้อมสระว่ายน้ำสุดชิล เป็นอีกไอเดียสำหรับคนที่มีบ้านเก่าและไม่อยากปล่อยไว้ให้ผุพังไปเฉยๆ ออกแบบ : Jhan-achitects โดย คุณจตุพล หาญโสภา เจ้าของ : คุณพิชชานันท์ ชัยงาม Amata Boutique Pool Villa งานสระว่ายน้ำ : คุณสุกมล มุสิกะนันทน์ Poolandwellness การบรรจบกันของบ้านเก่าและโอกาส ใครจะเชื่อว่าการขับรถผ่านแถวคูเมืองประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ จะทำให้ คุณแบม-พิชชานันท์ ชัยงาม พบ บ้านไม้เก่า อายุเกือบร้อยปีซึ่งมีพื้นที่ใช้สอย 453 ตารางเมตร ตั้งอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นอาคารคอนกรีต ถึงแม้จะมีความทรุดโทรมตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงมีเค้าความงามอยู่มาก จึงไม่รอช้ารีบติดต่อไปยังเจ้าของบ้านหลังนั้นจนได้สัญญาเช่าเพื่อทำบ้านให้เป็นที่พักรับรองแขก โดยมีสัญญาใจว่าจะบูรณะและปรับปรุงบ้านหลังนี้โดยคงสภาพเดิมให้มากที่สุด รีโนเวตเสร็จใน 6 เดือน เจ้าของบ้านได้ให้โจทย์กับสถาปนิก คุณหนุ่ย-จตุพล หาญโสภา แห่ง Jhan-achitects (สถาปนิก ชาน) ผู้ออกแบบและปรับปรุง บ้านไม้เก่า หลังนี้ ว่าต้องการห้องพักจำนวน 4 ห้อง […]
บ้านไม้ไทย เปิดโปร่ง ใต้ถุนโล่ง
บ้านไม้ไทย ริมน้ำที่จังหวัดลำพูนหลังนี้ดูลึกลับเมื่อซ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ใบหนา จนแทบมองไม่เห็นในครั้งแรก แต่เมื่อก้าวผ่านประตูใหญ่ด้านหน้าเข้าไป จึงรู้สึกได้ถึงความสดชื่นร่มเย็นของบ้านซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ สร้างความอบอุ่นสบายใจแก่ผู้มาเยือนได้ทันที เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสาธิต กาลวันตวานิช สถาปัตยกรรม : อาจารย์จุลพร นันทพานิช เจ้าของ บ้านไม้ไทย หลังนี้คือ คุณสาธิต กาลวันตวานิช CreativeDirector ของ Propaganda บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์และของแต่งบ้านซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลงานชุด Mr. P และผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาแห่ง Phenomena เขาเริ่มต้นเล่าว่า “ที่ดินเดิมมีขนาดประมาณครึ่งไร่ ภายหลังผมซื้อเพิ่มเติมและมีที่งอกตรงชายตลิ่งบ้าง ปัจจุบันจึงกลายเป็นเกือบหนึ่งไร่ต้นไม้เดิมมีแค่ลำไยแก่ๆ 6 ต้น หลายปีก่อนตอนปลูกบ้านต้องตัดทิ้งไป 2 ต้น เพื่อการใช้พื้นที่ได้สะดวกขึ้น หลังจากนั้นก็หาไม้พื้นบ้านและไม้ผลมาปลูกโดยได้รับคำแนะนำจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเน้นการสอนแนวทางส่งเสริมสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน ท่านบอกว่า ให้ลงไม้ที่เกิดจากเมล็ดและเป็นไม้พื้นบ้านซึ่งเหมาะกับระดับทะเลในพื้นที่ รวมทั้งไม่ให้ถมดิน เพราะดินเดิมเป็นดินชายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยตะกอนของหน้าดินที่พัดมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับพืชปรากฏว่า แค่ปีเดียวต้นไม้โตท่วมศีรษะ สองปีสูงเกินสะพานที่เชื่อมตัวบ้านกับศาลาชายน้ำ สามปีก็แผ่กิ่งคลุมตัวบ้านและศาลา […]
บ้านไม้มินิมัล สเปซโปร่งๆ ที่อบอุ่นด้วยงานไม้
บ้านไม้มินิมัล เน้นเส้นสายของอาคารที่เฉียบคมดูเรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดของเทคนิคงานช่างมากฝีมือ ตลอดเวลา 30 ปีที่สวมหมวกนายช่างใหญ่เพื่อควบคุมการสร้างบ้านและอาคารให้สถาปนิกชั้นนำของไทยมาหลายต่อหลายหลัง นอกจากจะได้สร้างผลงานคุณภาพที่ทั้งสถาปนิกและเจ้าของบ้านไว้ใจแล้ว คุณขจี เกศจุมพล ยังบอกด้วยว่าเขาเองก็ได้เรียนรู้ภาษาของสถาปัตยกรรมนอกห้องเรียนอยู่มากมาย และสะสมเป็นประสบการณ์อันมีคุณค่ามาจนถึงวันที่เขาตัดสินใจนำมาใช้กับการรีโนเวตบ้านหลังเดิมของตัวเองให้ตอบรับการใช้งานได้มากขึ้น และกลายเป็น บ้านไม้มินิมัล ที่สวยเท่จนสถาปนิกเองยังเอ่ยชม “ผมซื้อบ้านนี้มาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซื้อเพราะชอบต้นแก้วที่อยู่หน้าบ้านนี่แหละ ส่วนอื่นๆ คิดว่าน่าจะรีโนเวตเองได้ ซึ่งตอนนั้นก็ทำไปหลายอย่างก่อนจะมาปรับอีกครั้งในรอบนี้ เพื่อให้รับกับความต้องการและยุคสมัยมากขึ้นก็เลยเพิ่มพื้นที่ชั้น 3 ขึ้นมา แล้วตกแต่งให้เป็นเหมือนเพ้นต์เฮ้าส์ที่ผมกับภรรยาอยู่ด้วยกัน ยกพื้นที่ชั้น 2 ให้ลูกสาว ชั้นล่างก็เป็นพื้นที่ส่วนกลางและที่อยู่ของน้องหมา 3 ตัว ส่วนลูกชายอยู่บ้านอีกหลังหนึ่งใกล้ๆ กัน” แนวทางการออกแบบตัวบ้านหลักๆ เน้นให้สอดคล้องกับบริบทของธรรมชาติที่มีอยู่เดิม เพราะคุณขจีต้องการเก็บร่มเงาและความสดชื่นทุกอย่างไว้ ระยะต่างๆ ของบ้านจึงกำหนดขึ้นมาจากการหลบเลี่ยงต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการเจาะช่อง ร่นระยะผนัง และเปิดคอร์ตให้ต้นไม้เหล่านี้ยังชูกิ่งก้านใบได้สวยงามเหมือนเดิม แถมยังใช้เป็นช่องแสงธรรมชาติเพื่อเอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้เอง อีกทั้งเพิ่มความปลอดโปร่งให้ผู้อาศัยภายในบ้านไปในตัว “ผมชอบต้นไม้มาก เพราะให้ร่มเงา ให้ออกซิเจน กรองฝุ่นกรองแดด และช่วยให้บ้านเย็นสบาย ส่วนภายในก็ปล่อยให้เรียบโล่งแบบมินิมัล เพราะอยู่แล้วสบายตาสบายใจ ดูแลง่าย ถึงจะมีของเยอะแต่ก็ทำช่องเก็บของบิลท์อินซ่อนไปกับผืนผนังให้หมด เวลาอยากได้ของอะไรใหม่ ก็ต้องหาทางปล่อยของเดิมไป ไม่ว่าจะยกให้ลูกน้องหรือขายก็ตาม มันทำให้เรามีชาเลนจ์และสนุกกับข้าวของใหม่ๆ […]
LA EXTRAVIADA บ้านไม้-คอนกรีต ที่ออกแบบให้กลมกลืนไปกับเนินเขา เข้ากับทะเล
La Extraviada บ้านเนินเขา ที่ตั้งอยู่ริมหาด Mermejita ประเทศเม็กซิโก โดยซ่อนตัวอยู่บนเนินเขาที่เงียบสงบและรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันเขียวชอุ่ม
20 บ้านชั้นเดียวที่มีคนเข้าชมมากที่สุด
นี่คือบ้านชั้นเดียวที่แฟนเว็บไซต์บ้านและสวนชื่นชอบมากที่สุด เราจึงขอรวมมาให้ชมกันในโพสต์นี้โพสต์เดียวแบบจุใจ สามารถเซฟภาพเก็บไว้ชมเพลินๆและใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของคุณได้ รับรองว่าสวยและน่าอยู่ทุกหลังเลยละ 1.บ้านชั้นเดียวกลางธรรมชาติ ออกแบบสถาปัตยกรรม: Anonym โดยคุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ และคุณปานดวงใจ รุจจนเวทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม : P_do Landscape Studio บ้านชั้นเดียวอยู่สบาย ที่เน้นบรรยากาศเงียบสงบ สามารถนั่งมองธรรมชาติอันเรียบง่ายรอบตัวที่มุมระเบียงไม้โปร่ง บรรยากาศเหมือนนั่งอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเกียวโต ก่อให้เกิดเเรงบันดาลใจจนนำมาสู่การออกแบบ บ้านชั้นเดียว ที่สร้างความสุขอันลึกล้ำและกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ >>อ่านต่อ 2. บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน ติดริมคลอง โปร่งสบายน่าอยู่ เจ้าของ : คุณคำนึง ยินดีสุขออกแบบ : OTATO Architect โดยคุณภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน บ้านพักผ่อนที่หลานชายผู้เป็นสถาปนิกสร้างให้กับคุณตา โดยใช้พื้นที่ร่มรื่นขนาด 100 ตารางวา กลางสวนมะพร้าวติดริมคลองหนองสลิดมาเป็นทำเลหลัก โดยคงต้นไม้ใหญ่อย่างมะขาม ขนุน และมะพร้าวรอบๆ ไว้ จากนั้นจึงสร้างบ้านปูนแบบชั้นเดียวขึ้นมาด้วยพื้นที่ใช้สอย 75 ตารางเมตร ในรูปทรงเหมือนกล่องตัวยู (U) ต่อกันทั้งหมด 4 ก้อนเชื่อมต่อกันโดยมีการเว้นช่องหน้าต่างทรงสูงเล็กๆ ไว้เพื่อไม่ให้บ้านดูทึบเกินไป >> อ่านต่อ 3. […]
บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น
บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ปนไทย โดยออกแบบให้ดูเรียบง่าย มีความสมถะ ซึ่งตรงกับความเป็นเซนที่พบในบ้านญี่ปุ่น แต่ประยุกต์ใช้วัสดุและพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะกับเมืองไทย โดยเฉพาะการเลือกใช้ไม้เก่าอย่างรู้คุณค่า พร้อมทำผนังบ้านให้โปร่งโล่งเพื่อเปิดรับธรรมชาติอันสวยงามของปากช่อง เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น หลังนี้เป็นบ้านพักหลังเล็กๆในจังหวัดนครราชสีมาของ คุณวรพจน์ ประพนธ์พันธ์ุ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการของเก่ามานาน โดยผสมผสานความเป็นบ้านไทยเข้ากับสไตล์เซนของญี่ปุ่นได้อย่างกลมกล่อม “ผมตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมหลังเล็กๆสำหรับพักผ่อนในวันหยุด อยู่ท่ามกลางทุงหญ้าป่าเขาที่ปากช่องแห่งนี้ โดยออกแบบเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว รูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่าที่จำเป็น ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นธรรมชาติโอบล้อมบ้านเอาไว้” จากแนวคิดเบื้องต้นทำให้บ้านหลังนี้ตกแต่งในรูปแบบผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับญี่ปุ่น โดยดึงเอางานไม้สัก หลังคาทรงปั้นหยา บานประตูหน้างต่าง บานกระทุ้งและบานเฟี้ยมของไทยมาประยุกต์ใช้ แต่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยใหม่โดยนำข้อดีของบ้านญี่ปุ่นมาประยุกต์ โดยยกพื้นขึ้นเล็กน้อยและโรยกรวดรอบบ้านกันสัตว์ร้ายปีนขึ้นบ้าน นอกจากนี้ยังใช้บานเลื่อนโชจิที่เป็นโรงไม้กรุกระดาษสา ทำให้สามารถเลื่อนปิดกันฝนหรือกันลมหนาว หากฤดูร้อนก็สามารถเปิดออกรับลมเข้าบ้านอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าบ้านนี้เกิดจากการผสมผสานข้อดีของเรือนไทยและญี่ปุ่นมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศของปากช่อง ซึ่งมีทั้งช่วงอากาศร้อน ฝนและหนาว การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยใช้ทุกมุมเป็นมุมพักผ่อนได้ทั้งหมด เน้นพื้นที่โถงหน้าบ้านเปิดโล่งเป็นทางยาวเชื่อมต่อกับระเบียงรอบบ้านได้ทุกมุมเพื่อรับลมเย็นๆ แบ่งส่วนห้องน้ำและครัวแพนทรี่ไว้ฝั่งตะวันตกให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และช่วยบังความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ส่วนภายในมีการยกระดับขึ้นแบ่งสัดส่วนและสามารถปิดมุมมองด้วยบานเลื่อนเพื่อความเป็นส่วนตัว กั้นห้องเท่าที่จำเป็น โดยกั้นแค่ห้องนอนเล็กๆและห้องน้ำเท่านั้น ที่เหลือสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ “งานโครงสร้างและพื้นที่ใช้สอยนั้นผมต้องยกความดีให้เพื่อนสนิทอย่าง คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]
Sher Maker
ที่อยู่: 122/164 หมู่ 6 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200 เบอร์โทรศัพท์: 089-175-7004 / 086-619-6396 Facebook: shermaker Website : https://www.shermaker.com/
เวฬา วาริน สถาปัตยกรรมยุคสงครามโลกที่รีโนเวตเป็นบูติกโฮเทลสไตล์อีสานอินเตอร์
การรีโนเวตบ้านไม้เก่ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลายเป็นบูติกโฮเทล โดยรักษาฟาซาดเดิมไว้ แต่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและฟังก์ชันใหม่ เพื่อต่อลมหายใจให้อาคารยังคงแสดงเอกลักษณ์และบอกเล่าความเป็นมาในอดีตได้ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: SuperGreen Studio วารินชำราบ ย่านเจริญในยุคสงคราม ‘วารินชำราบ’ เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานอีกทั้งที่นี่ยังเคยเป็นหนึ่งในพื้นที่ตั้งฐานทัพอากาศอุบล (Ubol Royal Thai Air Force Base) ระหว่าง พ.ศ. 2508–2517 ของหน่วยทหารสหรัฐสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้วารินชำราบในสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งเปรียบได้กับย่านเจริญกรุงในปัจจุบัน และด้วยความเจริญดังกล่าวก่อเกิดเป็นชุมชมที่มีสถาปัตยกรรมที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคืออาคารไม้ทรงแปดเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็น บ้านไม้โบราณ ที่มีคุณค่า ‘โรงแรมเวฬา วาริน เป็นโครงการที่ตั้งใจออกแบบให้ไปไกลว่าคำว่าร่วมสมัย แต่ต้องการให้ที่นี่นั้น Timeless คือไม่จำเป็นต้องมารีโนเวตบ่อยครั้ง นอกจากนั้นเรายังใช้แสงและเงามาใช้มากกว่าเป็นการให้แสงธรรมชาติกับอาคาร แต่ตั้งใจใช้แสงและเงาสร้างความรู้สึกตามแนวความคิดในการออกแบบอย่าง ‘ทวิภพ’ ครับ’ คุณวรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ Before VELA WARIN ก่อนจะกลายมาเป็นโรงแรมเวฬา วาริน […]
เรือนไม้หลังงามจากยุคล่าอาณานิคมของเมืองไทย
มีคนเคยพูดว่า “ศิลปะเป็นสิ่งสากล ซึ่งอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของศาสนา เชื้อชาติ และกาลเวลาเสมอ” บ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ช่วยยืนยันได้อย่างดี ด้วยรูปแบบการสร้างที่มีกลิ่นอารยธรรมทั้งจากตะวันตกและอิสลามผสมผสานกัน แสดงถึงลักษณะงานศิลปะในรัชสมัยรัชกาลที่ 4-6 อันเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย เจ้าของ: คุณชัยรัตน์ – คุณนาตยา สมันตรัฐ บ้านไม้โบราณ หลังนี้เปี่ยมด้วยเรื่องราวความผูกพันอันยาวนานเกือบร้อยปี ซึ่งบอกเล่าโดยลูกหลานผู้สืบเชื้อสายมาจากหลวงโกชาอิศหาก ต้นสกุลของเจ้าของบ้านหลังนี้ “เดิมพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ซึ่งเป็นคุณพ่อรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดสตูล แต่มาซื้อที่และปลูกบ้านหลายหลังเพื่อให้ลูกหลานอยู่รวมกันได้เรียนหนังสือและใช้เป็นที่รับรองแขกในกรุงเทพฯ เลยได้วิ่งเล่นในบ้านหลังนี้มาตั้งแต่ยังเล็ก” ด้วยเชื้อสายที่เป็นชาวมุสลิมจากทางภาคใต้ ประกอบกับบ้านหลังนี้สร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคมของเมืองไทย จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้ลักษณะของศิลปะผสมผสานกันอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการสร้างและตกแต่ง โดยการฉลุเป็นลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) และแบบลายขนมปังขิง อันเป็นเอกลักษณ์งานไม้แห่งอิสลาม โดยเน้นลวดลายพรรณพฤกษาในกรอบทรงเรขาคณิตเป็นหลัก ติดตามบริเวณต่างๆรอบบ้าน ทั้งขอบกันสาดของส่วนที่ยื่นออกมาเหนือประตู หน้าต่าง แผ่นไม้ที่ติดระหว่างช่วงเสา ขอบชายคาโดยรอบบ้าน สันหลังคา หน้าจั่ว มุขหน้า ขอบลูกกรงระเบียง และส่วนกันแดดตอนบนของระเบียง ส่วนที่ติดเพดาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการถ่ายเทอากาศภายในบ้าน ด้วยการออกแบบโครงสร้างมีประตูหน้าต่างมากมาย และเจาะช่องลม ทั้งบริเวณใต้หลังคา ส่วนที่เป็นกรอบอยู่เหนือหน้างต่างประตู และตอนบนของผนังที่อยู่ใต้ฝ้าเพดานลงมา เพื่อให้ลมผ่านและช่วยระบายความร้อนใต้ฝ้าออกไป “การฉลุไม้ลวดลายแบบแขกมัวร์ (Mauresque Art) […]
บ้านภูภัทรา บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลที่แม้จะอยู่บนเนินเขาแต่ก็ยังต้องการใต้ถุน
บ้านใต้ถุนสูง บนทำเลทองของเขาใหญ่ ผลงานออกแบบของ Spacetime Architects บริษัทสถาปนิกที่มีลายเส้นเฉพาะตัว โดยมีคำจำกัดความของบ้านว่า “ Modern Tropical House ”
รวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง อบอุ่น เย็นสบายสไตล์ไทยๆ
บ้านไม้ใต้ถุนสูง ยังคงเป็นรูปแบบบ้านที่ครองใจมหาชนชาวบ้านและสวนมาโดยตลอด อาจด้วยดีไซน์ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเมืองไทย ซึ่งสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี จึงช่วยระบายความร้อนและเปิดรับลมเย็นสบาย อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพที่ตั้งที่มักถูกน้ำท่วมบ่อยๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ บ้านไม้ใต้ถุนสูง จะติดโผแบบบ้านยอดฮิต ครั้งนี้เราจึงได้รวบรวมแบบบ้านไม้ใต้ถุนสูงมาให้ชมกันอย่างจุใจอีกครั้ง เลื่อนชมบ้านหลังงามด้านล่างได้เลย บ้านไม้ใต้ถุนสูง บ้านไม้สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณจาตุรงค์ ขุนกอง และคุณศิริวิทย์ ริ้วบำรุง บ้านไม้ใต้ถุนสูงสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน >> อ่านต่อ บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี เจ้าของ : คุณธีระศักดิ์-คุณชื่นประภา พรหมลา ออกแบบ : คุณธีระศักดิ์ พรหมลา แบบบ้านไม้ใต้ถุนสูง สุดแสนเรียบง่าย โดยข้างล่างทำหน้าที่เป็นทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก มุมดริปกาแฟเล็ก ๆ และด้านบนที่มีเพียงห้องนอนกับห้องน้ำ เจ้าของบ้านเน้นให้อยู่สบาย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ที่สำคัญคือต้องเป็นบ้านที่ไม่สร้างภาระ ไม่สร้างหนี้สิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นบ้านอยู่สบายหลังนี้ >> อ่านต่อ ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า […]
บ้านใหม่จาก บ้านไม้ เก่า ยกใต้ถุนสูงอยู่กลางสวนมะพร้าว
แบบ บ้านไม้ ยกใต้ถุนสูง หลังนี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดการผสมผสานไม้เก่าเพื่อให้ได้บ้านไม้หลังใหม่ในงบประมาณที่ไม่สูงเกินไป
บ้านไม้สักชั้นเดียว อบอุ่น โปร่งสบาย
บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น
F HOUSE บ้านไม้ที่ใช้ม่านแบ่งห้อง และมีหน้าผาจำลองให้เด็กได้ปีนป่าย
F-house คือ บ้านไม้ หลังน้อย ที่สร้างขึ้นในจังหวัดฮิราคาตะชิ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ในย่านที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบและมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่กับบ่อน้ำตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี
บ้านมะค่าโมง แบบ บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่หยิบเอาความทรงจำในวันเด็กมาสร้างให้เป็นจริง ภายใต้งบประมาณ 300,000 บาทในเวลาเพียง 8 เดือน
รวมแบบบ้านหลังเล็ก สวยน่ารัก ตอบโจทย์คนรักสันโดษ
ชม แบบบ้านหลังเล็กอยู่สบาย 4 สไตล์ ที่แม้จะเป็นบ้านไซส์เอส (S) ดู “คับที่” แต่ในด้านดีไซน์และการใช้งานนั้นจัดได้ว่า “คับแก้ว” จิ๋วแต่แจ๋ว
บ้านไม้ สีขาวใต้ถุนสูง ในวงล้อมของสวน
บ้านไม้ ใต้ถุนสูงสีขาว ที่ตั้งอยู่กลางวงล้อมของสวนอังกฤษซึ่งรายรอบด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ตัวบ้านมีขนาดกะทัดรัดโดยสร้างจากเรือนไม้เก่าที่เจ้าของบ้านออกแบบให้มีหน้าตาที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น ตกแต่งด้วยข้าวของสไตล์คลาสสิกที่ดูสวยหวาน