รวม ” แบบบ้านไม้ ” บ้านไม้ บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้-บ้านและสวน

บ้านไม้ แบบไทยๆ กลิ่นอายโมเดิร์นของ ป๊อด ธนชัย อุชชิน ( ป๊อด โมเดิร์นด็อก )

บ้านไม้ สไตล์ไทยโมเดิร์นของ ป๊อด โมเดิร์นด็อก ศิลปินคนดัง ที่ปลีกตัวมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในช่วงวันธรรมดากับคุณแม่

บ้านปาร์คนายเลิศ ชมบ้านไม้สักโบราณจากไม้สักทองอายุ 105 ปี

เปิดบ้านปาร์คนายเลิศ เรียนรู้การอนุรักษ์ บ้านไม้ โบราณ และชมงานฝีมือจากไม้จากของสะสมต่างๆ ผ่านนิทรรศการ “เรื่องเล่าผ่านไม้” โดยมีคุณวทัญญู เทพหัตถี ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์โบรารณสถานและสถาปัตยกรรม สถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการบูรณะเรือนไม้สักโบราณบ้านปาร์คนายเลิศมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีต รวมไปถึงการอนุรักษ์งานไม้ของบ้านปาร์คฯ พร้อมเยี่ยมชมงานศิลปะไม้โบราณล้ำค่าที่หาดูได้ยาก บ้านไม้สัก “บ้านปาร์คนายเลิศ” เรือนไม้ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 ด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันมีอายุมากถึง 105 ปี ออกแบบโดยนายเลิศ เศรษฐบุตร หรือ เลิศ สะมันเตา ผู้ก่อตั้งปาร์คนายเลิศและผู้ริเริ่มธุรกิจหลายอย่างที่กลายเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน  บ้านไม้สัก บ้านปาร์คนายเลิศ คุณวทัญญูเล่าว่า แรกเริ่มนายเลิศได้เดินทางมาถึงบริเวณทุ่งบางกะปิ (ชื่อของละแวกที่ตั้งปาร์คนายเลิศในปัจจุบัน) แล้วได้กว้านซื้อพื้นที่แถวนี้ เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศ เนื่องด้วยพื้นที่บริเวณนี้เดิมทีเป็นท้องนา ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย จึงมาถมที่แล้วสร้างบ้านพักตากอากาศไว้พักผ่อน รวมถึงสร้างสวน ที่เรียกว่าเป็นสวนสาธารณะเอกชนแห่งแรกให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้งาน ตัวบ้านแบ่งเป็นเรือน 2 หลัง หลังแรกใช้เป็นที่พัก หลังที่สองไว้รับแขก ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเพราะเป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี และในสมัยนั้นไม้สักยังเป็นไม้ที่หาได้ทั่วไป ราคาไม่แพงเหมือนปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อสังเกตฝ้าเพดาน บันไดและราวบันไดจะเห็นการใช้ไม้เป็นชิ้นๆ ซึ่งไม้ทั้งหมดนี้ เป็นไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมต่อเรือของนายเลิศ  ในตอนที่คุณวทัญญูเข้ามาบูรณะซ่อมแซมบ้านก็พบว่าตัวบ้านชำรุดเยอะ ไม่มีเสาเข็ม […]

ชีวิตธรรมดาใน บ้านไม้ใต้ถุนสูง

บ้านไม้ใต้ถุนสูง แบบไทยๆ ได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียง เน้นการทำช่องเปิดไว้ทางฝั่งทิศตะวันออกให้มากกว่าฝั่งทิศตะวันตก

FUKAKUSA STUDIO HOUSE สตูดิโอของคู่รักงานไม้กลางป่าไผ่ในเกียวโต

บ้านกึ่งสตูดิโอ ของคู่รักงานไม้ ในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจสร้างบ้านเป็นของตนเอง จึงวางใจให้สถาปนิกจากสำนักงานออกแบบ masaru takahashi เป็นผู้สานฝันให้บ้านใหม่นี้ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละพื้นที่ทำงานคราฟต์ที่พวกเขาหลงรัก โดยเริ่มจากการหาทำเลดี ๆ ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ จนมาพบกับที่ดินอันเงียบสงบใกล้ ๆ กับป่าไผ่ ซึ่งได้ทั้งวิวป่าไผ่และทุ่งนา กลายเป็นทิวทัศน์ที่ช่วยเสริมให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ หลังนี้ ดูโดดเด่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติ แต่ที่ดินนี้ก็มีข้อจำกัดเรื่องปัญหาการเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม อีกทั้งยังติดกฎระเบียบทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น กฎหมายภูมิทัศน์เมืองเกียวโต ซึ่งได้กลายมาเป็นความท้าทายในการออกแบบครั้งนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากที่ตั้งของบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งมีความสูงของพื้นที่ฝั่งหนึ่งมากถึง 1.7 เมตร จากฝั่งถนน และอีกฝั่งก็มีสภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบผนังให้มีความหนา 250 มิลลิเมตร เพื่อเป็นกำแพงกันดินในฝั่งดังกล่าว ซึ่งมีธรณีสัญฐานเป็นดินและทราย ขณะเดียวกันก็พลิกข้อกำจัดของพื้นที่ให้เป็นโอกาสด้วยการผสานตัวอาคารให้เป็นหนี่งเดียวกับป่าไผ่ เริ่มจากการวางผังอาคารขนาด 3 ชั้น ที่หันทิศทางหน้าบ้านไปทางป่าไผ่ เพื่อมอบวิวดี ๆ สำหรับต้อนรับเมื่อเจ้าของเปิดประตูเข้าบ้าน พื้นที่ชั้น 1 กำหนดให้เป็นสตูดิโอทำงานไม้ เน้นช่องเปิดที่ให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในให้มากที่สุด และมองเห็นป่าไผ่ขณะทำงานได้อย่างเต็มตา ในชั้นนี้กั้นห้องแบบผนังหนาพิเศษ สำหรับการทำงานไม้ที่มักมีเสียงดังรบกวน โดยวางห้องไว้ตำแหน่งในสุด ส่วนของโถงทางเข้าและโถงบันไดมีช่องเปิดเพียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมปริมาณแสงสำหรับเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงผลงาน […]

G HOUSE แค่ต่อเติมระเบียงบ้าน…บรรยากาศก็เปลี่ยนไป

 รีโนเวตบ้านไม้ ใหม่สำหรับสมาชิกทั้งหมด 4 ครอบครัว ซึ่งเดิมทีพื้นที่ชั้น 1 หันหน้าไปทางทิศใต้จึงมักถูกเงาจากบ้านเรือนข้างเคียงบดบัง ทำให้แสงธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในทิศเดียวกันนี้บนชั้น 2 กลับเปิดมุมมองให้เห็นท้องฟ้าอันแจ่มใสและแสงแดดที่สาดส่องเข้ามา จากศักยภาพดังกล่าวสถาปนิกจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งนี้ให้กลายมาเป็นห้องนั่งเล่นแทน ชั้น 2 ของบ้านประกอบไปด้วยห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ครัว และระเบียงไม้สนที่ยื่นออกไป กลายเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน กลายเป็นลานกิจกรรมผืนใหญ่จุดศูนย์รวมของสมาชิกในครอบครัว พื้นที่ชั้นล่างที่เคยปิดทึบไม่สามารถระบายอากาศได้ ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนอนขนาดใหญ่โล่ง 1 ห้อง ซึ่งในอนาคตเมื่อลูก ๆ โตขึ้น สามารถแบ่งห้องออกเป็นห้องย่อย ๆ ได้ถึง 3 ห้อง ส่วนทรงและขนาดของหลังคาที่ดูไม่สมมาตรอย่างที่เห็นนั้น เกิดจากการต่อเติมพื้นที่ระเบียง โดยใช้เพิ่มตำแหน่งและขนาดของโครงสร้างตามวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายคือเวลาและงบประมาณที่มีจำกัด การต่อเติมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายทั้งรูปร่างและสัดส่วนที่สอดคล้องกับฟังก์ชันการใช้งาน อย่าง ระเบียงที่ขยายออกไปบนชั้น 2 ที่สามารถช่วยบังแดดจากทางทิศใต้ ไม่ให้ความร้อนส่องกระทบลงมาถึงห้องนอนชั้นล่างได้นั่นเอง ออกแบบ: masaru takahashi architectural design office ออกแบบโครงสร้าง: Kensuke Noto ก่อสร้าง: บริษัท ฟุกุอิ […]

TORIGUCHI SANCI บ้านไม้และคลินิกกายภาพบำบัดในงบประมาณจำกัด

“TORIGUCHI SANCI” คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่

บ้านชั้นเดียวบนเนิน โชว์ผิวสัมผัสไม้สน

แบบบ้านชั้นเดียว สร้างขึ้นจากไม้สนด้วยระบบน็อกดาวน์ โชว์สีสันและผิวสัมผัสแบบไม้สนอย่างสวยงาม คู่กับหลังคายางชิงเกิ้ลสีเทาดูเข้ากัน

บ้านหลังน้อย บนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา

บ้าน 3 หลัง 3 สไตล์ของศิลปินหนุ่ม ซึ่งน่าจะเป็นบ้านในฝันของใครหลายคน ทั้ง บ้านไม้ใต้ถุนสูง ที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวบรรยากาศน่าสบาย บ้านปูนเปลือยหลังคาสูง เเละบ้านดินสีสันสดใส มองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติได้โดยรอบ พร้อมการตกแต่งด้วยงานศิลปะสไตล์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บ้านทั้ง 3 หลัง ที่ตกแต่งได้สวยน่ารักเหมือนกระท่อมกลางป่านี้  คือบ้านของ คุณซัน – ณชนก เสียมไหม ศิลปินที่ฝากฝีมือเพ้นต์รูปสวย ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ในเชียงใหม่ ที่สามารถสัมผัสกับวิวภูเขาได้รอบทิศทางแบบ 360 องศา เเถมด้วยวิวสวนผลไม้และดอกไม้ที่ชาวดอยปลูกไว้สำหรับตัดขาย ในฤดูที่ดอกไม้ออกดอกพร้อมกัน บอกได้คำเดียวว่า “สวย…ลืมโลก”  บ้านไม้ใต้ถุนสูง “พี่เป็นคนใต้ แต่ที่ชอบอยู่เชียงใหม่เพราะที่นี่มีทั้งธรรมชาติและความเป็นเมืองผสมกัน เวลามาที่บ้านนี้เราจะอยู่ท่ามกลางต้นไม้ ภูเขา เหมือนโดนตัดขาดจากภายนอกเลยนะ สัญญาณโทรศัพท์ก็ไม่ดี อินเทอร์เน็ตนี่ไม่ต้องพูดถึง เพราะขนาดโทรทัศน์ยังดูได้ไม่ครบทุกช่องเลย แต่บางครั้งถ้าเกิดอยากเฮฮากับเพื่อนบ้าง ขับรถแค่ 15-20 นาที ก็สามารถไปนั่งจิบกาแฟที่ร้านสวย ๆ ในตัวเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว” คุณซันเล่าเหตุผลที่เลือกมาตั้งรกรากที่นี่ให้เราฟังอย่างอารมณ์ดี ทีมงานได้ฟังก็เห็นด้วยแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ บ้านหลังน้อย 3 หลังที่สร้างบนเนินเขาเอียง […]

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่เปรียบดั่งงานศิลป์บนเนินเขา

บ้านไม้ยกพื้นสูงที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาโล่ง เปิดรับลมได้ทุกทาง ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของเจ้าของบ้านและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน ทำให้บ้านหลังนี้เปรียบได้กับงานศิลป์ขนาดย่อมที่ตั้งอยู่บนเนินเขา เจ้าของ – ออกแบบ : รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร   มีคนเคยบอกไว้ว่าการชมงานศิลปะนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนว่าจะจินตนาการสิ่งที่ตัวเองเห็นออกมาเป็นอย่างไร เฉกเช่นประติมากรรมชิ้นใหญ่บนเนินเขาในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่หลังนี้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านศิลปะของ รองศาสตราจารย์เกศ ชวนะลิขิกร ศิลปินแนวแอ๊บสแตร็คท์และอาจารย์ของนักศึกษาสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย “ผมได้บ้านหลังนี้มาอย่างน่าประหลาดใจ เหมือนพรหมลิขิตที่จู่ๆวันหนึ่งก็มีพ่อค้าเจ้าของเขียงหมูในตลาดเดินเข้ามาบอกขายที่ดินขนาดสามไร่ในราคาถูกมาก จึงตกลงซื้อไว้ ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะทำอะไร แต่ก็บังเอิญอีกที่ได้ซื้อยุ้งข้าวเก่าของชาวบ้านในเวลาต่อมา ซึ่งไม้เก่าทั้งหมดมีคุณภาพดีมากๆ เลยรื้อแล้วมาประกอบร่างใหม่เป็นบ้านหน้าตาอย่างที่เห็นครับ” นอกจากฝีแปรงที่ฝากร่องรอยบนผืนผ้าใบอย่างอิสระเสรีประกอบกับงานศิลปะจัดวางในผลงานศิลปะหลายต่อหลายชิ้นของอาจารย์เกศแล้ว บ้านหลังนี้ก็เป็นงานศิลป์อีกชิ้นหนึ่งที่ท่านลงมือออกแบบด้วยตัวเอง “ผมวาดภาพบ้านจากความรู้สึกว่าตัวเองอยากอยู่อย่างไร ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นต้นไม้และภูเขา จึงได้ภาพบ้านที่เปิดโล่ง รับลมได้ทุกทาง มีห้องนอนพอให้ซุกหัวนอนกับที่ทำงานเล็กๆน้อยๆ ส่วนครัวจะแยกออกมาจากตัวบ้าน แต่ก็มีฟังก์ชันครบถ้วน เผื่อให้ภรรยามาใช้เวลามาพักผ่อนที่นี่ โดยมีทั้งครัวฝรั่งซึ่งมีเตาอบและเตาแก๊สใช้งานได้สะดวกกับครัวไทยด้านหลังที่ทำเตาอั้งโล่ไว้นอกบ้าน เผื่อไว้สำหรับทำบาร์บีคิวปิ้งย่าง เวลามีเพื่อนๆศิลปินหรือลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยมเยียน แต่ตัวผมเองใช้แค่เตาไมโครเวฟสำหรับอุ่นอาหารก็พอแล้ว ชั้นบนของห้องครัวเป็นห้องน้ำ ผมทำระเบียงทางเดินเชื่อมกับห้องนอน ชอบอารมณ์ที่เดินออกมารับลมนอกบ้าน รู้สึกเหมือนบ้านไทยโบราณที่จะแยกส่วนครัวและห้องน้ำไว้ด้านนอกเป็นสัดเป็นส่วน  “สำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านก็ซื้อต่อจากชาวบ้าน เป็นของเก่าจริงๆและมีไม่มาก อย่างห้องนอนมีเพียงฟูกกับหมอนก็นอนได้แล้ว แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คืองานศิลปะของตัวเองและของเพื่อนๆซึ่งประดับประดาอยู่ทั่วบ้าน อีกสักพักผมจะทำแกลเลอรี่ในบริเวณใกล้ๆบ้านนี่แหละ ไว้สำหรับติดงานศิลปะเอาไว้ดูเองบ้างอวดเพื่อนๆบ้าง สนุกดี” น้ำเสียงเรียบๆไร้โทนสูงต่ำซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์ศิลปินท่านนี้เอ่ยจบลงพร้อมด้วยรอยยิ้มใจดี บรรยากาศน่าสบายของบ้านหลังนี้ชวนให้ปลดปล่อยพันธนาการจากภาระอันหนักอึ้ง และเปิดรับความอบอุ่นของขุนเขากับเสียงเพรียกของต้นไม้ใบหญ้าได้อย่างเต็มที่ […]

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูงที่อยู่ติดกับทุ่งนาและมีภูเขาเป็นฉากหลัง

บ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ในเชียงใหม่ เด่นด้วยการใช้ไม้เก่าเป็นวัสดุหลัก เพื่อให้ตัวบ้านดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นทุ่งนาเเละภูเขา

บ้านแก้วตาเหิน ปรัชญาแห่งศิลปะในแบบอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

บ้านทรงไทย ที่ดูมีเอกลักษณ์หลังนี้ได้รับการปั้นแต่งโดยศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่บ้านจะแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมอันหลากลาย รวมถึงปรัชญาศิลปะอยู่ทุกมุมในบ้าน ออกแบบ  : อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี  / เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล บ้านทรงไทย ความอ่อนช้อยที่ผสานด้วยความแข็งแกร่งของบ้านที่มีชื่อว่า “แก้วตาเหิน” หลังนี้ คงเปรียบได้กับหญิงผู้งามสง่าเต็มเปี่ยมด้วยบารมี ชื่อของบ้านเป็นชื่อเรียกอีกชื่อของดอกมหาหงส์ ซึ่งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และเป็นดอกไม้ที่ คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล เจ้าของบ้านชื่นชอบเป็นพิเศษ คุณสุจินตนาเป็นนักธุรกิจสาวผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและมีใจรักงานศิลปะด้วย เธอสะสมงานศิลป์ไว้มากมาย ปัจจุบันยังช่วยบริหารงานมูลนิธิที่ช่วยเหลือและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในประเทศแถบลุ่มน้ำโขง (Mekong Organization for Mankind : MOM) < http://momthai.org > ซึ่งคุณแม่ของเธอ (คุณกัลยา จรรยาทิพย์สกุล) เป็นผู้ก่อตั้ง “ทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไหมมานาน ได้รู้จักกับนักออกแบบชาวสเปน ซึ่งสั่งผ้าที่เราตั้งใจทอให้มีคุณภาพพิเศษไปตกแต่งพระราชวังของกษัตริย์ฮวน คาร์ลอส ในที่สุดพระองค์ทรงมีรับสั่งให้ศิลปินจากเอเชียไปศึกษาวัฒนธรรมในประเทศสเปน  จึงมีโอกาสได้รู้จัก อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ในการเดินทางครั้งนั้น” หลังรู้จักและสนิทสนมกับอาจารย์ถวัลย์มามากกว่า 20 […]

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย น่าสนใจในการเลือกใช้วัสดุและการตีความวิถีคนในถิ่นอีสานปรับพื้นที่ใต้ถุนแปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่ต่อเนื่องกัน

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]

AWAKEN DESIGN STUDIO

  ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ที่อยู่ : 759  ชั้น 4 Room 403 NapLab Building Bangkok  ซอยจุฬาฯ 6 ถนนบรรทัดทอง  เเขวงวังใหม่  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 Facebook : www.facebook.com/AwakenStu Instagram : awakendesignstudio

บ้านไม้สไตล์มินิมัลที่มีรั้วขอบชิดเป็นธรรมชาติ

แบบบ้านไม้ สไตล์มินิมัล ไร้รั้วโอบรอบ ที่สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ตั้งใจมอบธรรมชาติเป็นเส้นแบ่งระหว่างบ้านกับทางเดินเท้า ในเขตที่พักอาศัยใหม่ของเกียวโต

PLUR SUK JAI เผลอสุขใจไปกับบ้านไม้หลังน้อยบนเกาะล้าน

ถ้าคุณตั้งใจจะมาพักผ่อนที่เกาะล้าน ระวังจะ ‘เผลอสุขใจ’ โดยไม่รู้ตัว ! เผลอสุขใจ ที่พักเกาะล้าน ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากท่าเรือหน้าบ้านเพียง 300 เมตร แต่ถ้าใครมาพักก็สามารถแจ้งให้ทางโฮสเทลมารับได้ถึงท่าเรือ ที่พักเกาะล้าน แห่งนี้เดิมทีเป็นบ้านเก่าขนาด 2 ชั้น ลักษณะเป็นครึ่งปูนครึ่งไม้ที่ได้รับการรีโนเวตใหม่ทั้งหลังจนไม่เหลือเค้าเดิม เก็บเพียงโครงสร้างและวัสดุบางส่วนที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เท่านั้น โดยภายในได้ทำการรื้อผนังบางส่วนออกไปเพื่อปรับฟังก์ชันให้เหมาะสำหรับเป็นที่พัก โดยดึงศักยภาพของบ้านเดิมมาใช้ เช่น พื้นที่ยกระดับหลังบ้าน ที่ดัดแปลงมาเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ให้แขกมานั่งรับประทานอาหารและพักผ่อนได้แบบชิล ๆ พร้อมบริการเสิร์ฟขนมและอาหารทานเล่นตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังมีการเจาะช่องแสง และเปลี่ยนทางเข้า-ออกใหม่ เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาถึงพื้นที่ภายในได้อย่างทั่วถึง เช่น บริเวณด้านหน้าที่รื้อผนังเดิมออก แล้วเปลี่ยนกรุกระจกใสในวงกบไม้จริง ช่วยลดความอับทึบได้อย่างดี อีกหนึ่งความพิเศษของที่นี่คือทุกมุมสามารถถ่ายรูปเพื่อเช็คอินได้ เนื่องจากที่นี่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ และของสะสมมีดีไซน์วางจังหวะและเลือกขนาดได้อย่างลงตัว เน้นสีขาว และสีน้ำตาลจากไม้เป็นหลัก แล้วแต่งแต้มความสดชื่นด้วยไม้กระถางนานาพรรณ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายเหมาะกับการพักผ่อน โดยตั้งใจให้แขกที่มาพักรู้สึกเหมือนได้มาพักที่บ้านเพื่อนสนิท ส่วนในห้องพักส่วนตัวจำนวน 6 ห้อง ทุกห้องได้รับการตกแต่งแบบไม่ซ้ำกันเลย โดยเฉพาะบริเวณห้องน้ำที่จะมีอ่างอาบน้ำสำหรับแช่ผ่อนคลายไว้ให้ด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในไม่กี่โรงแรมบนเกาะล้านที่มีอ่างอาบน้ำไว้บริการสุดชิลขนาดนี้ Idea to steal แบ่งฟังก์ชันแบบโดยไม่ต้องกั้นห้องแบบง่าย ๆ ด้วยการการยกระดับ โดยไม่จำเป็นต้องยกสูงมาก วิธีนี้จะช่วยให้พื้นที่โปร่งโล่ง และมีพื้นที่ใช้สอยแนวตั้งเพิ่มขึ้นด้วย […]

บ้านไม้ริมน้ำที่ซื้อมาในราคา 80,000 กับวิวที่ทำให้เข็มนาฬิกาเดินช้าลง

อาทิตย์ธารา บ้านไม้สองชั้น ริมน้ำ ที่ประกอบเป็นโรงแรมขนาดเล็กริมน้ำที่ปราจีนบุรี สำหรับผู้ที่หลงรักชนบท อิ่มเอมไปกับสายลมเย็นสบายจากคุ้งน้ำ

สัมผัสความอบอุ่นเป็นกันเองผ่าน 5 ที่พักไม้ในบรรยากาศสบาย ๆ

เชื่อว่า “ไม้” คงเป็นวัสดุในใจของใครหลาย ๆ คน ด้วยคุณสมบัติที่หาที่ไหนเหมือนไม่ได้ กับการสร้างบรรยากาศความอบอุ่นเป็นกันเองให้แก่พื้นที่ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกสบายเสมือนได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนให้นึกถึงบรรยากาศในวันวานของครอบครัวขยายของไทยสมัยก่อน หลาย ๆ โรงแรมและที่พักจึงเลือกวัสดุ “ไม้” มาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบตกแต่งเอื้อให้เจ้าของและแขกผู้เข้าพักรู้สึกเป็นกันเอง สบาย ๆ ทั้งยังดูกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบของพื้นที่  ซึ่ง room จึงได้รวบรวม 5 ที่พักไม้ ในบรรยากาศสบาย ๆ มาฝาก ให้คุณเลือกตามไปพักผ่อนท่ามกลางวัสดุอบอุ่นสุดพิเศษนี้กันครับ 01 | CHANN BANGKOK NOI พื้นที่เชื่อมสัมพันธ์แบบไทยริมคลองบางกอกน้อย โรงแรมที่มีกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมคลองบางกอกน้อย กับการออกแบบภายใต้แนวคิด Simply at Ease อันพัฒนามาจากรากฐานของสิ่งรอบตัวซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ แวดล้อมด้วยสถานที่สำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน (สถานีรถไฟธนบุรีเดิม) และชุมชนริมคลองบางกอกน้อย ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตริมน้ำและวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีเอกลักษณ์ ที่นี่โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่าง “ไม้” เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของ “บ้านไทยสมัยก่อน” ตัวอาคารเป็นบ้านสองชั้น จำนวน 4 หลังที่เชื่อมต่อพื้นที่กันด้วย “ชาน” ซึ่งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นที่แต่ละส่วนเข้าไว้ด้วยกัน […]