ปลายใบแหลม
พลูปีกนก
พลูใบย่น/พลูระเบิด/มอนสเตอรา ‘คาร์สตีเนียนัม’/บลูเบิร์ด ชื่อวิทยาศาสตร์: Monstera sp. ‘Karstenianum’ วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้เลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นเล็กทรงกระบอก มีข้อปล้อง รากออกตามข้อปล้อง ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปรีถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจนจนดูเหมือนผิวใบย่น แผ่นใบหนาสีเขียวอมเหลือง ดอก: ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ดอกย่อยขนาดเล็ก ไม่มีก้านดอก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขังแฉะ แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลางถึงมาก การขยายพันธุ์: ปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อทุกสภาพอากาศ ใช้ตกแต่งบ้านได้ดี นิยมปล่อยให้เลื้อยขึ้นหลัก เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในเวเนซุเอลา รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ Monstera karstenianum ซึ่งเป็นชื่อไม่เป็นทางการ ตลาดต่างประเทศรู้จักกันในชื่อ Monstera spp. ‘Peru’ คาดกันว่าน่าจะเป็น […]
ไทรเกาหลี
ไทรเกาหลี / Fig ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus sp. วงศ์: Moraceae ประเภท: เป็นทั้งไม้ต้นและไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวขุ่น เมื่ออายุมากมีรากอากาศห้อยย้อยลงมายังผิวดิน ใบ: ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอก: ดอกเป็นช่อกระจุกบนฐานรองดอกเดียวกัน ออกตามซอกใบ มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จำนวนมากกว่าดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผล: ผลเป็นส่วนของฐานรองดอกที่ขยายขนาด ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: น้อย-ปานกลาง ทนน้ำท่วมหรือชื้นแฉะได้ดี การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงหรือไม้กระถาง ถ้าปลูกลงดินต้นจะเติบโตได้ดีและมีขนาดใหญ่ กรณีที่มีพื้นที่น้อยควรหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ แข็งแรงทนทาน เจริญเติบโตได้ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร ปลูกเลี้ยงง่าย เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
มะลิเขย่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum didymum G.Frost subsp. didymum วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: สูง 2-4 เมตร บางต้นเลื้อยได้ไกลถึง 15 เมตร ใบ: ใบประกอบ 3 ใบ ใบสุดท้ายใหญ่ที่สุด หนาและแข็ง บางครั้งมีใบเดี่ยว โคนใบสอบ ปลายใบแหลม กิ่งยอดและใบเหนียวแข็งและมีขนสั้นปกคลุม เส้นแขนงใบด้านบนเป็นร่องตื้น 4-5 คู่ ดอก: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกย่อย 15-50 ดอก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว 4-5 กลีบ ปลายกลีบลู่ลงหรือบิดพลิ้ว มีกลิ่นหอมแรง ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ผล: ผลเดี่ยวหรือแฝด ทรงกลม ผลแก่เดือนมีนาคม-เมษายน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: […]
มะลิพุทธชาด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum auriculatum Vahl วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้พุ่มรอเลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: มียอดยืดยาวมาก ใบ: ใบเดี่ยว รูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ยอดอ่อนมีขนสั้น ดอก: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอดของกิ่งข้าง ดอกสีขาว มีมากกว่า 50 ดอก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 6 กลีบ มีกลิ่นหอมแรง ทยอยออกดอกเกือบตลอดปี ผล: ต้นที่ปลูกในไทยไม่ติดผล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง และจัดแต่งกิ่งยอดให้เลื้อยพันซุ้มให้มีทรงพุ่มกลมสวยงามหรือมีรูปทรงต่างๆ หากปลูกกลางแจ้งห่างจากต้นไม้อื่นสามารถตั้งพุ่มอยู่ได้ด้วยตัวเอง เกร็ดน่ารู้: พบครั้งแรกในจีน หลังจากนั้นมีการนำไปปลูกในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทย นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับและไม้ดอกหอมกันมานาน
มะลุลีใบด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum multiflorum ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น
มะลุลีใบด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum multiflorum ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น
จมูกปลาหลด
ผักไหม ตะหมูกปลาไหล ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxystelma secamone (L.) Karst. วงศ์: Asclepiadaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อนขนาดเล็ก ลำต้น: มีน้ำยางสีขาว ยอดอ่อนมีขน ใบ: รูปแถบยาว ปลายแหลม สีเขียวเข้มอมเทา ดอก: ออกเป็นช่อ ดอกตูมกลมพองคล้ายลูกบัลลูน เมื่อบานดอกสีชมพูอ่อน กลางดอกสีชมพูม่วงเข้ม รูปถ้วยตื้น ปลายแยก 5 แฉก ขนาดดอก 2 เซนติเมตร ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผล: เป็นฝักรูปกระสวย มีเมล็ดจำนวนมาก ที่ปลายด้านหนึ่งมีพู่ขนเป็นกระจุก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นไม้ประดับสวนได้ดี เถาต้มน้ำกลั้วคอแก้เจ็บคอ และใช้น้ำยางชะล้างแผลมีหนอง ดอกและใบรับประทานได้
เทียนดอย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Impatiens violaeflora Hook.f. วงศ์: Balsaminaceae ประเภท: พืชล้มลุก /วัชพืช ความสูง: 20-40 เซนติเมตร ลำต้น: อวบน้ำ ใบ: รูปขอบขนานแกมรี ยาว 1.5-4 x 3-7 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ดอก: เดี่ยว ออกตามซอกใบ สีชมพูแกมแดง มีกลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบล่าง 1 กลีบ ยืดยาวเป็นจะงอยแหลม กลีบดอก 5 กลีบขนาดไม่เท่ากัน ปลายกลีบบนมักเว้าลึก ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว ผล: สีเขียว เมื่อแก่แตกตามยาว ภายในมีเมล็ดเล็กๆ ดีดไปได้ไกล อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามที่ชุมชื้นในป่าดิบหรือริมลำธาร ที่ระดับความสูง […]
ยูฟอร์เบียเดคาร์ยีสไปโรสตีชา
ไดโนเสาร์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia decaryi Guillaumin var. spirosticha วงศ์: Euphorbiaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ความสูง: 20 – 25 เซนติเมตร ลำต้น: ทรงพุ่มแผ่เตี้ย ลำต้นสีดำ มีหนามสั้น ๆ รอบต้น ใบ: แตกออกจากลำต้น รูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ออกเวียนรอบต้น กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 5 – 10 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียว ขอบใบเว้าเป็นคลื่น ปลายใบแหลม ดอก: ช่อดอกแบบกระจุก ดอกสีเหลือง รูปกรวยเชื่อมติดกันตรงโคนเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแผ่กว้าง อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดีหรือใช้กาบมะพร้าวสับ น้ำ: น้อย แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: […]
มะลิฉัตร
มะลิพิกุล /Arabian Jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton ‘Mali Chat’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ความสูง: 50 เซนติเมตร ลำต้น: แตกกิ่งสั้นๆ จำนวนมากเป็นพุ่มกลม ใบ: ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปไข่หรือไข่กลับ กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 4 – 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม เส้นใบย่อยด้านบนเป็นร่องทุกเส้น ดอก:ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1 – 3 ดอกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นซี่แหลมเรียวยาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น 6 – 7 แฉก เรียงเวียนโดยรอบ 3 – 4ชั้น คล้ายฉัตร สีขาว ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง1 – 1.5 […]
จิกสวน
จิกน้ำ/จิกบ้าน/Wild Guava ชื่อวิทยาศาสตร์: Barringtonia racemosa (L.) Spreng. วงศ์: Lecythidaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: 5 – 20 เมตร ทรงพุ่ม: แผ่กว้างหนาทึบ ใบ: ใบมักอยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 10 – 13 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบหนาสีเขียว ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอก: ดอกออกเป็นช่อกระจะห้อยจากปลายกิ่ง ยาว 30 – 60 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวถึงสีชมพู 4 กลีบ เกสรเพศผู้สีขาวจำนวนมาก ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกทยอยบาน ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: รูปไข่ปลายตัด ดิน: ดินร่วนชื้นแฉะ แสงแดด: รำไรถึงจัด […]
กระชายขาว
ว่านเพชรกลับ ชื่อวิทยาศาสตร์: Boesenbergia thorelii (Gagnep.) Loes. วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้าทอดเลื้อยรูปทรงกลม สีน้ำตาล เนื้อในหัวสีขาว ใบ: เดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอก ปลายใบแหลมกาบใบสีแดงอ่อน ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายลำต้นเทียม สีขาว แต้มสีแดง ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง ในช่วงฤดูหนาวจะพักตัว ควรงดให้น้ำ แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านทางคงกระพันชาตรีที่นักเลงว่านโบราณนับถือมาก ช่วยป้องกันการถูกคุณไสย แก้อาถรรพณ์ต่าง ๆ หากมีไว้ในบ้านหรือพก ติดตัวเวลาไปเที่ยวป่าจะปลอดภัยเสมอ ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย