ผสมผเส
ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี
นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์
บ้านสวย เพราะต้นไม้ผสมผสาน
อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร
วิลล่าสุขเสรี บ้านหลังนี้เพื่อครอบครัว
นิยามของบ้านที่หรูหราในความคิดของบางคนอาจเป็นเรื่องของงานออกแบบที่ดูวิบวับฟู่ฟ่าหรือมีความซับซ้อนจนดูน่าเกรงขาม แต่สำหรับ คุณวัชราวุธ วิคเตอร์ สุขเสรี กงสุลกิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรสวีเดน และผู้จัดการทั่วไปโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน กลับมองว่าความหรูหราของบ้านคือความรู้สึกที่อยู่สบายปลอดโปร่ง มองเห็นธรรมชาติ และอุ่นอวลพร้อมหน้าไปกับคนในครอบครัว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านพักตากอากาศขนาดใหญ่เพื่อรองรับทุกคนในครอบครัว โดยใช้เวลากว่า 2 ปีตระเวนหาที่ดินอันเหมาะสม จนมาพบทำเลที่ทุกคนในบ้านถูกใจ ด้วยระยะทางที่ห่างจากทะเลเพียง 20 เมตร จึงสามารถสัมผัสถึงเสียงคลื่น ลมทะเล และความสดชื่นจากธรรมชาติรอบตัวได้ดี “ผมทำงานอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน นับตั้งแต่โรงแรมเริ่มก่อสร้าง จนถึงวันนี้ก็ 26 ปีแล้ว รวมกับประสบการณ์การเดินทางไปทำงานกับโรงแรมอีกหลายแห่งทั่วโลก ทำให้ผมมีภาพของบ้านพักผ่อนหลังนี้อยู่ในความคิดค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่แรกเมื่อมาเห็นที่ดิน คือมองเอาไว้ต่างจากความคลาสสิกของโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อย่างสิ้นเชิง เพราะผมต้องการบ้านหลังใหญ่ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถใกล้ชิดกันได้ด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีพื้นที่แยกส่วนตัวรูปแบบบ้านเป็นสไตล์โมเดิร์นคอนเทมโพรารี ซึ่งลักษณะที่ดินนั้นยาวและลึกมากเกือบ 100 เมตร บนพื้นที่ 2 ไร่ เลยเป็นโจทย์ที่ยากหน่อยสำหรับสถาปนิก” แต่ด้วยความคุ้นเคยกับ คุณรุ่งโรจน์ ลีสินสวัสดิ์ สถาปนิกที่ร่วมงานกันมาหลายครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะตีโจทย์และแปลงความต้องการเหล่านี้ให้กลายเป็นบ้านรูปทรงคล้ายตัวเอช (H) เพื่อแยกพื้นที่ใช้งานระหว่างกันและมีความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างมิดชิด ทว่ายังเน้นมุมมองออกสู่ธรรมชาติของทะเล พร้อมทางเดินส่วนกลางซึ่งเปิดโปร่งเชื่อมโยงกันไว้ “ที่ผมกำหนดไว้ยังมีเรื่องของบ้าน 4 เสาที่เป็นเหมือนตัวแทนของสวรรค์ชั้น 4 […]
รักแรกพบ
การผสมผสานสไตล์การตกแต่งให้สวยงามและลงตัวนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุ ของตกแต่ง หรือสีสัน เมื่อเราก้าวเข้ามาในห้องนี้ บรรยากาศในสไตล์ Eclectic เน้นความทันสมัย แต่ยังมีความนุ่มนวลและละเอียดอ่อนจากของสะสมมากมายที่จัดวางอย่างสง่างามและมีคุณค่า ร่วมด้วยการใช้โทนสีที่ดูสะดุดตาก็สร้างความน่าสนใจตั้งแต่แรกเห็น พื้นที่ 78 ตารางเมตรของห้องมีขนาดไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป คุณภาวิศ สิมะกุลธร เจ้าของบ้าน เล่าถึงเหตุผลในการเลือกคอนโดแห่งนี้ว่า “พี่หลงเสน่ห์ร่มเงาของจามจุรีที่สูงตระหง่านในโครงการ รู้สึกเหมือนได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติตลอดเวลา” ในส่วนของการตกแต่งภายในก็เผยให้เห็นถึงตัวตนของเจ้าของบ้าน คุณเอ – วัฒนา โกวัฒนาภรณ์ ผู้ออกแบบได้ใส่ใจถึงความต้องการของคุณภาวิศในทุกรายละเอียด “ห้องนี้พี่ซื้อปล่อยทิ้งไว้เป็นแรมปี จนได้มาพบและพูดคุยกับคุณเอก็ตัดสินใจปรับปรุงห้องใหม่ทั้งหมด ความต้องการแรกของพี่เลยคืออยากให้มีชั้นเก็บของเยอะๆ บรรยากาศส่วนใหญ่เน้นโทนสีน้ำเงินหรือครามซึ่งเป็นสีโปรด” คุณเอทำการบ้านอย่างหนักจนได้ผลลัพธ์ที่คุณภาวิศพอใจเป็นอย่างมาก จุดแรกที่ดูสะดุดตาคงหนีไม่พ้นแพนทรี่ที่คุณเอออกแบบในสไตล์ยุโรป ดูประณีตสวยงามและตอบสนองฟังก์ชันการใช้งานอย่างครบครัน จัดโชว์เครื่องถ้วย ชาม และแก้วอย่างน่าทะนุถนอม เน้นบรรยากาศแบบปาร์ตี้เล็กๆ ฝ้าเพดานเพิ่มลูกเล่น โดยออกแบบเป็นฝ้าหลุม โดดเด่นด้วยคิ้วบัวดูทันสมัยและหรูหรา โทนสีส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงินตามที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ถัดมาคือส่วนนั่งเล่นซึ่งคุณภาวิศมักใช้เป็นมุมอ่านหนังสือด้วย มองไปทางมุมไหนก็จะพบชั้นวางที่เต็มไปด้วยหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีตั้งแต่หนังสือนวนิยาย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ฯลฯ ที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือวอลล์เปเปอร์กรุผนัง คุณภาวิศเล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “ระหว่างเดินทางไปหาเพื่อนที่ปารีส พี่ไปเจอร้านที่ผลิตวอลล์เปเปอร์ให้แบรนด์ Hermes เลยสั่งทำลวดลายที่อยากได้ ใช้ระยะเวลาสามเดือนในการผลิต […]
Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ
ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]