พันธุ์ใบด่าง
ไขข้อสงสัยซื้อกล้วยด่างแท้-กล้วยด่างเทียม ดูอย่างไร ไม่ให้โดนหลอก
ในระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา วงการไม้ด่างเริ่มเติบโตและแตกแขนงกลุ่มสมาชิกออกไปเรื่อยๆ จากเดิมที่นิยมกันแค่กลุ่มไม้ด่างในวงศ์ Araceae ก็เริ่มขยายสู่กลุ่มไม้ด่างชนิดอื่นๆ ซึ่งป้ายต่อไปคือ “กล้วยด่าง” ที่แต่เดิมนิยมกันเพียงกลุ่มสมาชิกเล็กๆไม่กี่คน ปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่เริ่มได้รับความนิยมในวงกว้าง และกำลังเป็นขุมรายได้ที่ทำเงินมหาศาล สวนกระแสกับธุรกิจชนิดอื่นๆที่กำลังซบเซาอยู่ในตอนนี้ ทำให้เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าที่ขาดจรรยาบรรณหรือความรู้แฝงตัวเพื่อจำหน่ายกล้วยด่างเทียมอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราควรมาศึกษาวิธีการแยก “กล้วยด่างแท้” และ “กล้วยด่างเทียม” จากประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในวงการและเริ่มสะสม กล้วยด่าง มาเป็นระยะเวลายาวนานโดยคุณโอ๊ต-อัศวเดช ตั้งโยธาพิพัฒน์กุล นิยามของ “กล้วยด่างแท้” กล้วยด่างที่มีราคาและทำการซื้อขายกันในหมู่นักสะสม คือกล้วยด่างที่เกิดจากความผิดปกติในระดับพันธุกรรมที่เกิดการกลายเฉพาะจุด สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอกทางส่วนใบ ลำต้น ไปจนถึงผล ซึ่งเกิดความสม่ำเสมอไม่เท่ากัน กลายเป็นสีสันและลวดลายที่ผิดแปลกไปจากกล้วยปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีเขียวทั้งต้น โดยความผิดปกตินี้จะเกิดกับต้นกล้วยต้นนั้นไปตลอด แม้ว่าต้นนั้นจะอยู่ในสภาวะสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ลักษณะผิดปกติดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นและไม่กลับไปมีใบเขียวเหมือนต้นกล้วยปกติได้อย่างแน่นอน ต่างจากกล้วยด่างเทียมซึ่งเกิดกับต้นที่มีพันธุกรรมของกล้วยแบบปกติ แต่แสดงความผิดปกติออกมาคล้ายต้นกล้วยด่างจนหลายคนแยกไม่ออก ซึ่งหากต้นกล้วยต้นนั้นได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็จะกลับไปมีใบสีเขียวตามเดิมในธรรมชาติ กลโกง กล้วยด่างเทียม กล้วยด่างเทียมเกิดได้จากหลายปัจจัย ส่วนมากเกิดจากการขาดสารอาหาร ทำให้ใบและลำต้นมีอาการใบเหลืองและสีซีดอ่อน ไม่สม่ำเสมอกัน คล้ายกับลักษณะใบด่างโดยความผิดปกติทางพันธุกรรม แม้จะรดน้ำและกลับมาดูแลให้สารอาหารที่เหมาะสม บางต้นก็ต้องใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะมาแสดงให้เห็นว่าเป็นสีเขียวตามเดิม รองลงมาคือโรคระบาดอันมาจากของเชื้อไวรัส เช่น Mosaic Virus จะมีอาการด่างเหลือง บางเป็นดวงทั่วทั้งใบ ไม่ให้ผลผลิต และมักแพร่ไปติดยังต้นอื่นๆในสวน […]
โฮย่าคอมแพ็คตา
โฮย่าเกลียวสวาท ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoya compacta C.M.Burton วงศ์: Apocyneceae ประเภท: ไม้เลื้อย/โฮย่าขนาดกลาง ใบ: ใบรูปกลม ขนาด 3 – 4 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงมน โคนใบมน แผ่นใบหนาบิดย่น สีเขียวเข้ม ดอก: ช่อดอกห้อยลง มีช่อละ 20 – 30 ดอก ดอกรูปดาว สีชมพูอ่อน มงกุฎสีแดงสด คล้ายโฮย่าคาร์โนซา เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 เซนติเมตร มีขนนุ่มปกคลุม กลิ่นอ่อน ๆ ออกดอกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต : ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง ระบายน้ำดี เก็บความชื้นได้ดี เช่น กาบมะพร้าวสับและรากเฟินชายผ้าสีดา น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ […]
ลิ้นมังกรฟรานซิสิอาย
ลิ้นมังกรหางเม่น ชื่อวิทยาศาสตร์: Sansevieria francisii Chahin. วงศ์: Asparagaceae ประเภท ไม้อวบน้ำ ลำต้น: เป็นพุ่มเล็ก สูงเพียง 15 – 30 เซนติเมตร ใบ: ใบค่อนข้างกลม ออกเวียนเป็นรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 5 – 8 เซนติเมตร ปลายใบแหลมแข็งสีน้ำตาลเข้ม แผ่นใบสีเขียวมีลายสีเทาพาดตามขวางถี่ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะ ชูสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนหรือดินปนทราย ระบายน้ำดี น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด : รำไรถึงครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกไหลหรือปักชำใบ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง ปัจจุบันมีพันธุ์ใบด่างที่สวยงามเช่นกัน