ฟาซาด
ดีไซน์แตกต่างด้วยฟาซาดหลากสไตล์จาก DECAAR
สไตล์ต่างๆ ของงานสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนตัวตนและคาเเร็กเตอร์ของเจ้าของได้เป็นอย่างดี ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งแรกที่คนจะสัมผัส
The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์
โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]
บ้านมินิมัลทรงกล่อง ที่ขาว เรียบ และโล่งขั้นสุด
บ้านรูปทรงเรียบๆ ตกแต่งแนวมินิมัลแบบที่เข้ามาแล้วสงบ เปิดผนังฝั่งทิศตะวันออกซึ่งเป็นทุ่งนาและกลายเป็นวิวธรรมชาติที่สวยแบบไม่มีอาคารมาบดบัง
บ้านฟาซาดสวย ที่ให้ความรู้สึกน่าพักผ่อน
บ้านฟาซาดสวย ที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างบ้านหลังเก่ากับบ้านหลังใหม่ด้วยฟาซาด ภายนอกดูเท่ ภายในมีความลักชัวรี่ แต่ยังคงให้ความรู้สึกถึงการพักผ่อน
MYJ House บ้าน ฟาซาดอิฐ กลางเมือง เปิดพื้นที่ส่วนตัวจากภายใน
บ้านกลางเมืองที่มีอิฐเป็นทั้งฟาซาด และคอร์ต ออกแบบพื้นที่ ทรงอาคารจากสภาพแวดล้อม แสงแดด และบริบทโดยรอบ ในขนาดที่ดิน 50 ตารางวา ออกแบบ : BodinChapa Architects บ้าน MYJ House ออกแบบโดยทีมสถาปนิก BodinChapa Architects เดิมเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในโครงการเก่า ที่เจ้าของซื้อไว้ใกล้กับบ้านเดิมของครอบครัว แล้วต้องการรื้อเพื่อสร้างใหม่ โจทย์ของสถาปนิก คือ การออกแบบบ้านที่มีฟังก์ชันครบตามความต้องการของเจ้าของในขนาดพื้นที่กะทัดรัด และยังคงกลิ่นอายความชื่นชอบของเจ้าของคือความเป็นบ้านอิฐ กำหนดผังจากบริบทโดยรอบ เริ่มจากทิศของแดด เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่กำหนดการวางผังบ้านหลังนี้ โดยเริ่มจากวางฟังก์ชันบันได และห้องซักล้างไว้ฝั่งทิศใต้ที่พระอาทิตย์ส่องตลอดวัน ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าพื้นที่พักผ่อนโดยตรง ส่วนทางเข้าบ้านหลังเดิมจะอยู่ฝั่งทิศใต้ที่เป็นด้านสั้น สถาปนิกออกแบบทางเข้าใหม่ให้มาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกที่เป็นด้านยาวแทน เพื่อให้ฟังก์ชันต่างๆ ของบ้านถูกจัดวางอย่างลงตัว และเข้า-ออกบ้านได้สะดวกขึ้น ในส่วนของรูปทรงอาคารฝั่งทิศใต้ทางด้านซ้ายมือที่เป็นรูปเฉียงก็เกิดจากองศาการวางบันไดภายในบ้านซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้งานจริง จึงเรียกได้ว่าแทบทุกจุดของบ้านเกิดจากเหตุและผล รูปทรงมีที่มาจากการตอบโจทย์การใช้งาน และมาผสานกับการออกแบบให้ออกมาสวย จนเป็นฟอร์มของบ้าน ใช้งานพื้นที่จำกัดอย่างคุ้มค่า ด้วยพื้นที่ที่จำกัด รวมกับข้อกฎหมายที่ต้องเว้นระยะห่างอาคารจากแนวที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และถ้าต้องการทำช่องเปิดต้องเว้นเข้ามาถึง 2 เมตร สถาปนิกจึงเลือกวิธีออกแบบบ้านให้ใช้งานพื้นที่ได้คุ้มค่าที่สุดด้วยการวางอาคารเกือบเต็มพื้นที่ และเว้าอาคารเข้ามาในส่วนที่ต้องการให้เป็นช่องเปิด จึงทำให้ใช้งานพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า บ้านโปร่ง และทำให้รูปทรงอาคารเกิดความน่าสนใจ […]
ดูแลกันใน บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น
จากพื้นที่บ้านเดิมของสองครอบครัวพี่น้องที่มีบ้านหันหลังชนกัน กลายมาเป็นการเชื่อมที่ดินแคบยาวเพื่อสร้าง บ้านครอบครัว 3 เจเนอเรชั่น ที่ต่างก็ช่วยดูแลซึ่งและกัน พร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสวนภายในบ้านที่ใช้งานได้จริง
6 แบบฟาซาด หลากวัสดุ เลือกถูกใจ ใช้งานถูกโจทย์
จะทำบ้าน แต่เลือกไม่ถูก? เพราะฟาซาดมีหลายแบบมากมาย หลากวัสดุ สำหรับคนที่ทำบ้าน รีโนเวทอาคาร หรือมีแผนจะทำ แล้วนึกถึงการทำฟาซาดแต่เลือกไม่ถูก room มีคำตอบ!! เพราะบทความนี้จะขอแนะนำข้อดี จุดเด่นของ 6 แบบฟาซาด แต่ละแบบมีคาแรคเตอร์อย่างไร พร้อมมีตัวอย่างดีๆ มาให้ดู ฟาซาด เป็นเหมือนหน้ากากที่ครอบบ้านไว้จากภายนอก มีฟังก์ชันไว้ใช้บังสายตา กันฝุ่น กันแสงแดด กันฝน นอกจากฟังก์ชั่น ฟาซาด ยังเป็นหน้าตาของบ้าน เป็นส่วนแรกที่จะคนจะเห็นบ้านแต่ละหลัง เป็นส่วนที่ได้แสดงคาแรคเตอร์ ตัวตนของบ้านหลังนั้นออกไปให้คนภายนอกได้เห็น ฟาซาดอิฐ “กรุผนังรอบบ้านให้ได้ผิวสัมผัสที่ให้ความรู้สึกคราฟท์” หากคุณชอบผิวสัมผัสธรรมชาติจากวัสดุที่ผลิตด้วยวิธีการคราฟท์ จากวัสดุที่มีวัตถุหลักดิบจากดิน ให้บ้านมีกลิ่นอายความทรอปิคัล นี่คือวัสดุที่คุณตามหา อิฐ คือ วัสดุก่อสร้างอาคารที่ผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ ถูกใช้งานมาตั้งแต่โบราณ คุณสมบัติ ใช้งานเป็นฟาซาดได้ทั้งแบบฟาซาดปกติ และแบบ Double Skin ฟาซาด คือฟาซาด 2 ชั้น ระบบการติดตั้ง ติดตั้งด้วยระบบเปียก (Wet Process) […]
บ้านโมเดิร์นชั้นเดียว ที่ยกสูงให้ดูโปร่งตาเหมือนอยู่ชั้น 2
เพราะไม่อยากใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านภายใต้ม่านบังแดดตลอดเวลา สิ่งที่เจ้าของบ้านอยากได้มากที่สุดจึงเป็นธรรมชาติรอบตัวที่สามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้ มีความเป็นส่วนตัว พร้อมกับสระว่ายน้ำในแบบพูลวิลล่า แม้ว่าบริบทของบ้านจะไม่มีภูเขาหรือทะเล แต่ก็ยังมีต้นไม้และท้องฟ้าที่ยังสร้างมุมมองของความผ่อนคลายได้
การออกแบบฟาซาดบังแดด บังตา
ป้องกันบ้านร้อนด้วย ฟาซาดบังแดด บังตา ที่ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และทำให้หน้าตาอาคารสวยงามขึ้น FACADE (ฟา-ซาด) เป็นคําในภาษาฝรั่งเศส แปลตรงตัวมีความหมายว่า “หน้า” หรือ Front ในภาษาอังกฤษ เริ่มแรกนั้นใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมแนว Ultra Modern หรือสถาปัตยกรรมแบบตึกสูง แต่ในปัจจุบันมักหมายความรวมไปถึงเปลือกหรือผนังภายนอกที่หุ้มอาคาร ซึ่งออกแบบทั้งเพื่อความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ สร้างความเป็นส่วนตัวให้ภายในอาคาร ฟาซาดบังแดด ป้องกันแสงแดด ลดความร้อนให้อาคารด้วย ซึ่งการออกแบบองค์ประกอบต่างๆของฟาซาด จะสามารถป้องกันแสงแดดแตกต่างกัน ดังนี้ ชายคา กันสาด ระแนง หรือขอบอาคารที่ยื่นในแนวนอน จะป้องกันแสงแดดมากน้อยตามระยะยื่น แต่ถ้าเพิ่มผนังแนวตั้ง จะช่วยลดระยะยื่นให้น้อยลงได้ แต่ก็บดบังมุมมองไปส่วนหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับผนังทิศใต้และทิศตะวันตกที่ทิศทางแสงแดดมีองศาต่ำ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ระแนง-แผงแนวนอน จะช่วยกรองแสงและลดความจ้าของแสงลง ตามความถี่ ความกว้างของระแนง และตำแหน่งการติดตั้ง ระแนง-แผงแนวตั้ง ช่วยป้องกันแสงแดดที่ส่องมาทางด้านข้างได้ดี สามารถออกแบบเป็นแนวตั้งฉาก หรือแนวเอียงให้รับกับทิศทางแสงแดด ก็จะช่วยบังแดดได้ดีขึ้น ทั้งยังใช้เพื่อบังมุมมองจากภายนอกได้ด้วย ระแนง-แผงแนวตั้งและแนวนอน จะช่วยบังแสงแดดได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง ฟาซาดบังแดด ไอเดียการออกแบบฟาซาด เราสามารถออกแบบฟาซาดได้หลากหลายแบบ ตามการเลือกใช้วัสดุและภาพลักษณ์อาคาร อาจเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการสร้างอาคาร หรือต่อเติมภายหลัง ซึ่งการต่อเติมควรพิจารณาใช้วัสดุน้ำหนักเบาที่จะไม่เพิ่มภาระให้โครงสร้างเดิมมากเกินไป […]
แผ่นอะคริลิก Shinkolite น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ช่วยเติมแสงธรรมชาติให้บ้าน
แผ่นอะคริลิก เป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ราวกันตก หรือใช้ตกแต่งส่วนอื่นๆ ของอาคาร ช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้พื้นที่ด้วยคุณสมบัติโปร่งแสง สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในอาคาร อีกทั้งยังช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ หากนำไปติดตั้งกับพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ของบ้านก็จะทำให้ใช้งานได้สบายมากขึ้น แผ่นอะคริลิก (Acrylic) ของ Shinkolite เป็นแผ่นอะคริลิกที่มีวิธีการผลิตด้วยวิธีหล่อแบบต่อเนื่อง (Continuous casting sheet) ที่เป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องความหนาสม่ำเสมอ แผ่นมีขนาดใหญ่พิเศษ มีความใสใกล้เคียงกระจก สามารถตัดดัดพับ หรือขึ้นรูปได้ตามแบบ มีให้เลือกหลายสี มีน้ำหนักเบา ทนแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจก (ที่มีความหนาเท่ากัน) ด้วยคุณสมบัติของแผ่นอะคริลิกที่โปร่งแสง จึงเหมาะกับใช้งานในส่วนที่ต้องการให้แสงทะลุผ่าน เช่น ส่วนหลังคาที่ต้องการให้แสงส่องลงสู่พื้นที่ด้านล่าง หรือเป็นแผ่นราวกันตก ใช้ทดแทนกระจกได้ ข้อมูลงานวิจัยจากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน พบว่า แสงอาทิตย์ และบรรยากาศของธรรมชาติ ส่งผลดีกับสุขภาพ และอารมณ์ เพิ่มความมีชีวิตชีวา ป้องกันภาวะซึมเศร้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการใช้วัสดุที่เปิดรับแสงอาทิตย์ และกันความร้อนอย่างแผ่นอะคริลิก จะช่วยให้พื้นที่ใช้งานรอบบ้านได้สัมผัสกับแสงธรรมชาติซึ่งส่งผลดีต่อการอยู่อาศัย Shinkolite เป็นแบรนด์แผ่นอะคริลิกเกรดพรีเมี่ยมภายใต้การร่วมทุนระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทมิตซูบิชิ เคมิคอลส์ […]
Shinkolite LINK ฟาซาด ที่สะท้อนตัวตนโดย จูน เซคิโน
ฟาซาด ถูกใช้งานเป็นกรอบอาคารเพื่อบังแดด กันความร้อน บังสายตา นอกจากเรื่องฟังก์ชั่น
บ้านมินิมัล รับลม รับแสง แต่ไม่ร้อน ของเสนาลิง
บ้านมินิมัล รับลม รับแสง ของ เสนาลิง – คุณสมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ หลังนี้ไม่ร้อน
รวมไอเดียวัสดุฟาซาด บังแดด บังตา เพิ่มคาแร็กเตอร์ให้บ้าน
มาดูหลากหลาย ไอเดียวัสดุฟาซาด ที่ช่วยบดบังสายตาโดยไม่ต้องปิดทึบ ช่วยระบายอากาศ กรองแสงธรรมชาติ และเสริมให้ดีไซน์ของบ้านดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ยึดหยุ่นใน บ้านปูนโปร่งโล่ง กับชานเรือนใต้หลังคา
บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้ไม่ต้องการเปิดแอร์ อยากอยู่กับแสงและลมธรรมชาติ พื้นที่ภายใต้หลังคาเดียวกัน จึงมีทั้งตัวบ้านเรียบง่าย และชานบ้านต่อกับโถงบันไดซึ่งไม่ได้อยู่ภายนอกบ้าน เหมือนบ้านไทยดั้งเดิมทั่วๆ ไป จากบ้านเก่าสู่บ้านใหม่ อ.ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกแห่ง Research Studio Panin ผู้ออกแบบเล่าให้เราฟังว่า บ้านปูนโปร่งโล่ง หลังนี้เป็นบ้านสร้างใหม่บนพื้นที่บ้านเดิม โดยแต่เดิมนั้นบ้านเป็นบ้านปูนสองชั้นที่ชั้นล่างค่อนข้างเปิดโล่งอยู่แล้ว มีลักษณะคล้ายใต้ถุนที่สมาชิกในบ้านต่างก็ชอบมาใช้ชีวิตอยู่บริเวณนี้ คล้ายกับพื้นที่อเนกประสงค์ซึ่งเปิดโล่ง แต่การใช้งานไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และยังมีบางส่วนที่ลมถูกบังไม่ปลอดโปร่งเท่าที่ควร บ้านที่ไม่ต้องเปิดแอร์ โจทย์ที่ได้รับจึงค่อนข้างชัดเจน เพราะสมาชิกในบ้านซึ่งประกอบไปด้วย พ่อแม่ ลูกวัยประถมอีก 2 คน และคุณยาย คุ้นเคยดีกับการใช้ชีวิตกึ่งเอาท์ดอร์ จึงขอบ้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องเปิดแอร์ โปร่งได้ลมได้แสงสว่าง และต้องการขยายให้บ้านเป็นบ้าน 3 ชั้น แต่ไม่อยากให้บันไดอยู่ด้านนอกแบบบ้านไทย บ้านจึงต้องมีระยะร่นเข้ามาเพื่อลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน แต่ยังคงต้องให้อากาศไหลเวียนดี ตัวห้องที่เป็นพื้นที่ปิดทุกด้าน จึงมีทางเดินพร้อมพื้นที่ว่างคล้ายกับชานบ้านของไทยอยู่ล้อมรอบเหมือนเป็นบ้านที่มีผนังสองชั้น ตามแต่ฟังก์ชั่นและทิศทางแดด อาทิเช่น ในทิศเหนือและตะวันออกที่แดดไม่แรง ผนังด้านนอกก็จะโปร่งกว่าผนังด้านทิศใต้และตะวันตกซึ่งทึบกว่า พื้นที่กึ่งเอาท์ดอร์ เป็นทั้งเฉลียง ระบียง ชาน ถ้าหากจะใช้คำกำจัดความกันจริงๆ ระยะร่นตรงคือพื้นที่โล่งในบ้าน แต่หากคิดจากฟังก์ชั่นใช้งานแล้ว บางด้านทำหน้าที่คล้ายชานที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน หรืออย่างพื้นที่โล่งติดโถงบันไดก็ให้ความรู้สึกคล้ายเฉลียงหน้าบ้านก่อนเข้าตัวบ้านจริง […]
บ้าน ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากไอรอนแมน
บ้านของดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หลังนี้ มีทั้งผนังบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสา ท้าทายการออกแบบโครงสร้างในหลายมิติ
DJ House แบ่งบ้านเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
TONY FRUIT OFFICE ออฟฟิศที่ปกคลุมไปด้วยความเขียวชอุ่ม
Tony Fruit Office ออฟฟิศกลางเมืองโฮจิมินห์ สดชื่นด้วยฟาซาดเขียวชอุ่มแบบโมดูล่าร์ที่ทำหน้าที่กรองแสงแดด ความร้อน และเสียงรบกวนรอบ ๆ ของเมืองหลวง
บ้านโมเดิร์น สีขาว ที่ ออกแบบ ผัง วางสเปซแนวทะแยง และพรางตาด้วย ฟาซาด
บ้านโมเดิร์นสีขาว รูปลักษณ์โฉบเฉี่ยวที่เกิดจากแนวคิดอันเรียบง่าย การออกแบบผังบ้านในลักษณะของรูปโดนัท มีคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดของที่ดิน และสร้างสเปซที่เปิดมุมมองสู่ธรรมชาติ และสร้างบรรยากาศน่าสบายให้กับทุกมุมบ้าน เจ้าของ Gems Heritage Co., Ltd. ออกแบบ Archive Studio โทร. 0-2235-6695 แม้ภายนอกของ บ้านโมเดิร์นสีขาว ย่านลาดพร้าวหลังนี้จะดูมีเส้นสายโฉบเฉี่ยว แต่ในความเป็นจริงแล้วทุกรายละเอียดและทุกเส้นสายที่เกิดขึ้นล้วนมาจากเหตุและผลที่แสนเรียบง่าย ซึ่งเป็นงานถนัดของ Archive Studio กับการออกแบบบ้านขนาด 2 ชั้นพร้อมพื้นที่ใช้สอยกว่า 533 ตารางเมตรของเจ้าของบ้านคู่แต่งงานใหม่ที่วางแผนจะมีลูกสองคนในอนาคต โดยสร้างอยู่บนที่ดินว่างเปล่าใกล้กันกับบ้านเดิมของครอบครัว ด้วยความที่ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ และฝ่ายภรรยามักอยู่บ้านเป็นหลัก ทีมสถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบสเปซที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยให้กับเจ้าของบ้านในทุกมิติ ทั้งงานสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อให้ทุกองค์ประกอบของบ้านเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยทีมสถาปนิกได้คิดและออกแบบอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งพิจารณาความสัมพันธ์เชิงกายภาพกับพื้นที่ข้างเคียง ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบตำแหน่งและขนาดฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ จนพัฒนาเป็นบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะอันจำกัดของที่ดิน จึงต้องสร้างอาคารให้ประชิดติดที่ดิน เกิดเป็นการบังคับมุมมองให้เหลือเพียงด้านหลังที่ติดกับบึงน้ำทางทิศตะวันตก ผู้ออกแบบจึงตั้งใจเปิดมุมมองฝั่งนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลายให้กับเจ้าของบ้าน โดยร่นระยะจากขอบที่ดินมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุดตามที่กฎหมายกำหนด ในการช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอย (Minimum Setback) แล้วออกแบบแปลนบ้านให้มีลักษณะคล้ายโดนัทหรือการมีคอร์ตยาร์ดอยู่ตรงกลางบ้าน นอกจากจะลดความอึดอัดจากการถูกปิดล้อมแล้ว ยังทำให้ทุกฟังก์ชันในบ้านสามารถมองเห็นวิวคอร์ตยาร์ดได้ รวมถึงทำหน้าที่กระจายแสงธรรมชาติให้สามารถเข้ามาในบ้านได้อย่างทั่วถึง ช่วยให้เกิดบรรยากาศชวนผ่อนคลายและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวความพิเศษของบ้านหลังนี้ นอกจากเรื่องฟังก์ชันทั่วไปแล้ว ยังมีโชว์รูมจิเวลรี่ ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังก์ชันพิเศษอันมีผลต่อการออกแบบงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากผู้ออกแบบต้องจัดวางฟังก์ชันเพื่อแบ่งพื้นที่การใช้งานและการเข้าถึงอย่างชัดเจน โดยไม่ทำให้เจ้าของบ้านต้องสูญเสียความเป็นส่วนตัว ฉะนั้นด้านขวามือของบ้านจึงถูกกำหนดให้เป็นส่วนของโชว์รูมจิเวลรี่ โดยสามารถเข้าถึงคอร์ตยาร์ดกลางบ้านได้เช่นเดียวกันส่วนเรื่องมุมมองความเป็นส่วนตัวนั้น ผู้ออกแบบได้ออกแบบฟาซาดจากคานเหล็กขนาดใหญ่ความยาวกว่า […]