ยุ้งข้าว – บ้านและสวน

เรือนยุ้งข้าว หลังงามกลางป่า

จาก ยุ้งข้าว เก่าของภาคเหนือนำมาออกแบบเป็นเรือนบ้านพักที่จัดวางพื้นที่ใช้งานเหมือนเรือนหมู่แบบไทย ท่ามกลางทำเลงามๆที่หลายคนต้องอิจฉา  เพราะสามารถมองลงไปเห็นนาขั้นบันได สระบัว โดยมีฉากหลังเป็นทิวเขาแมกไม้ที่โอบล้อมพื้นที่นี้ ในด้านการตกแต่งบ้านเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสไตล์จีนที่เจ้าของบ้านชอบ และใส่เอกลักษณ์ของล้านนาเข้าไปด้วย กลายเป็นสไตล์ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “จีนล้านนา” ที่สำคัญคือมีพื้นที่สีเขียวที่แทรกอยู่ทุกส่วนของบ้าน เพื่อให้ได้อารมณ์บ้านไม้กลางป่าที่แสนร่มเย็น เจ้าของ – ออกแบบ : คุณยิ่งยศ คชคง   คุณยศ-ยิ่งยศ คชคง เป็นผู้ที่ชื่นชอบเสน่ห์ของจีนโมเดิร์นเป็นชีวิตจิตใจ และเมื่อตัดสินใจหนีความวุ่นวายในเมืองไปอยู่ท่ามกลางป่าเขาที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จึงไม่ลืมที่จะหยิบกสไตล์จีนที่ชอบไปผสมกับเรือนท้องถิ่นหรือ ยุ้งข้าว แบบล้านนาจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ที่เจ้าตัวให้ชื่อว่า “จีน-ล้านนา” “พอดีผมมีที่ของญาติอยู่ที่นี่แล้ว และขอบบรรยากาศที่เงียบสงบ เป็นธรรมชาติ จึงตัดสินใจทำบ้านหลังที่สองที่นี่เสียเลย” ในพื้นที่ประมาณสองไร่ครึ่งท่ามกลางป่าเขา คุณยศได้วางผังให้ตัวบ้านเป็นเรือนหมู่ เชื่อมต่อกันให้ได้บรรยากาศแบบเรือนไทยในอดีตลดหลั่นกันไปตามแนวลาดเอียงของพื้นที่ที่สามารถมองลงไปเห็นนาขั้นบันได สระบัว โดยมีฉากหลังเป็นทิวเขาแมกไม้ที่โอบล้อมพื้นที่อันบริสุทธิ์แห่งนี้ไว้   พื้นที่ใช้งานประกอบด้วยเรือนหมู่ 4 เรือนกระจายตัวกัน เริ่มจากเรือนหลังแรกที่เป็นเรือนพระ ใช้สำหรับบูชาและทำสมาธิ ถัดไปเป็นเรือนบ้านพัก 2 หลังเชื่อมต่อกัน ซึ่งดัดแปลงมาจาก ยุ้งข้าว เก่ามาสร้างใหม่ โดยเทพื้นและก่อผนังให้เป็นห้องรับแขก ส่วนชั้นบนใช้เป็นห้องนอน และเนื่องจากเป็นเรือนที่ได้วิวมุมสูงที่สุด จึงกรุหน้าต่างรอบห้องเพื่อเปิดรับวิวและรับลมเย็นสบาย […]

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ในบรรยากาศแสนสบาย

บ้านไม้พื้นถิ่นล้านนา ที่ดัดแปลงจากหลองข้าวเก่า แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ตัวบ้านเปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]