ระบบไฟฟ้า
ทำระบบสมาร์ทโฮม ให้เหมาะกับบ้าน
ทำความเข้าใจสมาร์ทโฮมรูปแบบต่างๆ เพื่อ ทำระบบสมาร์มโฮม ให้เหมาะสมกับบ้าน และการใช้งานของเรา ให้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น เลือกระบบสมาร์ทโฮม สมาร์ทโฮมคืออะไร สมาร์ทโฮม (Smart Home) คือ บ้านที่มีการนำเทคโนโลยีเครือข่ายต่างๆ มาควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อคอยช่วยอำนวยความสะดวกให้คนในบ้าน ซึ่งสามารถสั่งการได้จากทั้งภายในและ ภายนอกบ้าน ด้วยการทำงานประสานกันระหว่าง 3 ส่วน ดังนี้ Smart Home Network คือเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานระหว่างอุปกรณ์ ซึ่งอาจเป็นแบบเดินสายสัญญาณหรือไร้สายก็ได้ แล้วแต่อุปกรณ์ที่เลือกใช้และความสะดวกในการเดินระบบสายไฟสัญญาณของแต่ละบ้าน มีสองรูปแบบหลักๆ ดังนี้ Cloud Server ระบบจะส่งคำสั่งไปที่เซิร์ฟเวอร์ของแบรนด์ผู้ผลิต ซึ่งอาจอยู่ที่ประเทศใดก็ได้ เมื่อประมวลผลแล้วจึงส่งคำสั่งกลับมายังอุปกรณ์ โดยสื่อสารผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต จุดเด่น : ใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ ทั้งนอกบ้านและในบ้าน เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ง่าย มีจำหน่ายอย่างแพร่หลาย และมีราคาย่อมเยา เนื่องจากบ้านส่วนมากในปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตรองรับการใช้งานได้อย่างสะดวก ข้อจำกัด : ไม่สามารถใช้งานได้หากไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หากเชื่อมต่ออุปกรณ์มากเกินไปจะทำให้สัญญาณอ่อน ส่งผลให้ตอบสนองได้ช้าลง และหากถูกแฮกเกอร์แทรกแซงระบบ อาจมีความเสี่ยงในการถูกละเมิดข้อมูลทางออนไลน์ได้ Local Server ระบบรับส่งข้อมูลภายในบ้าน ประมวลผลด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งภายในบ้านแล้วสั่งการไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรง โดยสื่อสารผ่านคลื่นสัญญาณระยะทางสั้น […]
เช็กวิธีติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน (EV Charger)
ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระแส รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle (EV)) กำลังเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้างอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
ค่า Ft คืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย
หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ค่า Ft คืออะไร เหตุใดจึงต้องมาบวกอยู่ในค่าไฟฟ้าของเรา วันนี้บ้านและสวนชวนคุณมาทำความรู้จักกับค่า Ft กัน อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft คืออะไร – Ft ย่อมาจาก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนมาจากความหมายเดิม คือ Float time หมายถึง การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดราคาค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม […]
2 เทคนิคการต่อสายไฟ (สายอ่อน) แบบผูกเงื่อน
สิ่งสำคัญในการ ต่อสายไฟ คือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อไม่ให้สายไฟหลุดง่าย มีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟสายอ่อนหรือสายฝอยแบบดึงไม่หลุด สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย ที่ใครๆ ก็ทำเองได้ มาฝากกัน ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นบิดหรือหมุนสายทองแดงให้เป็นเกลียว 2. ใช้มือดัดหรืองอสายไฟให้เป็นเหมือนห่วงหรือรูปเกือกม้า โดยให้เอียงหรือทำมุมประมาณ 45 องศา ทั้งสองเส้น จากนั้นนำสายไฟมาคล้องเข้าด้วยกัน 3. ให้ปลายสายไฟรอดผ่านห่วงของแต่ละเส้น (คล้ายๆกับการผูกเงื่อนพิรอด) แล้วใช้มือดึงปลายสายไฟเข้าหากัน 4. จากนั้นออกแรงดึงสายไฟทั้งสองข้างแบบสุดกำลัง แล้วพันเก็บสายส่วนเกินให้เรียบร้อยอีกครั้ง เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นนำสายไฟ (สีเทา) มาพาดกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งคล้ายกับเครื่องหมายคูณ (X) ในลักษณะขวาทับซ้าย โดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือเล็กน้อยประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วพันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนสายไฟอีกเส้นหนึ่งให้พันในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 2. จากนั้นให้พันสายทองแดงเอียงหรือชิดมาทางด้านขวา แล้วพันไปเรื่อยๆจนสุดสาย จากนั้นก็ให้พันสายทองแดงย้อนกลับมาอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน […]
เทคนิคการต่อปลั๊กไฟตัวผู้ แบบดึงไม่หลุด
ปลั๊กไฟตัวผู้ หรือเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด สายไฟหลุดออกจากตัวปลั๊กไฟ ช่างประจำบ้าน มีเคล็ดไม่ลับการต่อปลั๊กไฟไม่ให้สายไฟหลุดง่าย ใช้งานได้นานๆ และปลอดภัยมาฝากกัน ง่ายมากๆแค่ดูคลิปไม่ถึงนาที ก็ทำได้เลย คลิป วิธีต่อปลั๊กไฟ เครื่องมือและอุปกรณ์ ปลั๊กไฟตัวผู้ ไขควง หรือไขควงวัดไฟ คัทเตอร์ คีมตัดหรือคีมปลอกสายไฟ ขั้นตอนการทำงาน 1.ใช้คีมหรือคัทเตอร์ตัดหัวปลั๊กไฟตัวผู้ที่ชำรุดทิ้งไป จากนั้นใช้ไขควงคลายสกรูปลั๊กไฟตัวผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใหม่ออกมา แต่ถ้าปลั๊กไฟตัวผู้เป็นชนิดหุ้มยางทนความร้อน ให้ใช้มือค่อยๆดันหัวปลั๊กไฟออกมา เราก็จะเห็นขาเสียบเช่นเดียวกัน 2.นำสายไฟเส้นเดิมมาปลอกฉนวนหุ้มสายด้วยคัทเตอร์หรือใช้คีมปลอกสายไฟยาวประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นปลอกสายไฟบริเวณปลายสายอีกประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วแยกสายไฟสองเส้นออกจากกัน 3.ใช้มือข้างหนึ่งจับสายไฟเส้นหนึ่งไว้ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งม้วนสายไฟลงมาเป็นห่วงหรือบ่วง จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมากับสายไฟอีกเส้น เราก็จะได้สายไฟสองวงที่มีหน้าตาคล้ายกับการผูกโบ 4.นำสายไฟ (เส้นสีน้ำตาล) สอดเข้าไปด้านในช่องว่างของสายไฟอีกเส้นหนึ่ง (เส้นสีฟ้า) จากนั้นนำสายไฟเส้นสีฟ้า สอดเข้าไปด้านในช่องว่างของสายไฟเส้นสีน้ำตาล แล้วใช้มือค่อยๆดึงสายไฟทั้งสองเส้นที่สอดเข้าไปในห่วงให้พอตึงมือ 5.ใช้มือบิดหรือหมุนสายทองแดงที่ปลอกไว้แล้วให้เป็นเกลียว หรือรวมเป็นเส้นเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการพันสายไฟเข้ากับหัวสกรู 6.ใช้ไขควงคลายสกรูที่ยึดขาปลั๊กตัวผู้ให้หลวม จากนั้นนำสายทองแดงไปพันเข้ากับหัวสกรูในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เพื่อความแน่นหนา 7.ใช้ไขควงขันสกรูยึดขาปลั๊กตัวผู้ให้แน่น 8.เช็กจุดต่อต่างๆให้เรียบร้อยอีกครั้ง แล้วประกอบกลับเข้าที่ตามเดิม จากนั้นทดลองดึง กระชาก เพื่อทดสอบความแข็งแรงของสายไฟที่ต่อใหม่ ก่อนนำไปใช้งาน 9.ผลงานการต่อปลั๊กไฟตัวผู้ […]
5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง
ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน 1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ 2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย 3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน 4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ 5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ […]
เต้ารับเก่า ใช้งานมานานหลายสิบปี ควรเปลี่ยนหรือไม่
เต้ารับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานยาวนานเหมือนกัน เริ่มตั้ง 10 ปี จนถึง 30 ปี แต่บางกรณีก็มีอาการเสื่อมสภาพก่อนกำหนด เพราะผลิตไม่ได้มาตรฐาน
ขาของตัวเสียบปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน กลม หรือ แบน?
แม้มาตรฐานนี้จะถูกประกาศใช้มานานมากกว่าสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กแบบหัวแบนขายกันอยู่จนทุกวันนี้ สาเหตุมาจากสองสามเหตุผล
Smart Lighting หลอดไฟ LED สมัยใหม่ทำอะไรได้บ้าง
แทบไม่น่าเชื่อว่าเรามาถึงจุดที่ หลอดไฟ LED สมัยใหม่ ทำหน้าที่ให้มากกว่าแสงสว่าง แต่ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ เสริมด้วย หลอดไฟ LED ถ้าที่บ้านมีลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home หรือ Apple HomePOD ก็สามารถทำให้บ้านของเรากลายเป็นบ้านสุดล้ำไปเลย ทั้งสั่งให้เล่นเพลง สั่งเปิด-ปิดไฟ เปลี่ยนสีไฟ ออกจากบ้านแล้วไฟปิดเอง ก็สามารถทำได้ง่ายๆ หมดห่วงเรื่องลืมปิดไฟไปเลย 1.Philips HUE หลอดไฟอัจฉริยะเปลี่ยนสีได้ 16 ล้านสี ชุดหลอดไฟอัจฉริยะที่สามารถสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่นได้ทั้งระบบ Android และ iOS และรองรับการเชื่อมต่อกับระบบลำโพงอัจฉริยะอย่าง Google Home หรือ Apple HomePOD เพื่อสั่งงานด้วยเสียงแบบล้ำๆ สามารถเปลี่ยนเฉดสีได้มากกว่า 16 ล้านสี และยังเลือก Scene ของแสงไฟในห้องได้ โดยเปลี่ยนบรรยากาศของห้องได้หลายแบบทั้งดวงอาทิตย์ตกดิน แสงเหนือ ฯลฯ สำหรับ Philips HUE Starter Kit มาพร้อม HUE […]
เบรกเกอร์ไฟฟ้าควรอยู่ที่ตำแหน่งใด
เบรกเกอร์ อุปกรณ์ควบคุมระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน ควรอยู่ในตำแหน่งใด เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและง่ายต่อการดูแล ช่างประจำบ้าน มีคำตอบ
ชนิดของสายไฟ แต่ละสีแตกต่างกันอย่างไร
สายไฟในบ้านมีอายุการใช้งานยาวนับ 10 ปีก็จริง แต่เมื่อถึงเวลาที่สายไฟเสื่อมสภาพ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่จึงควรรู้จัก ชนิดของสายไฟ สีของสายไฟ ภายในบ้าน
วิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม : กล่องเครื่องมือที่เหมาะกับช่างประจำบ้าน อ่านเพิ่มเติม : การเลือกซื้อพัดลมดูดอากาศ อ่านเพิ่มเติม : 5 วิธี ตรวจสอบงาน ระบบไฟฟ้า ด้วยตัวเองง่ายๆ << ติดตามข้อมูลดีๆได้ที่นี่ >>
10 เรื่องไฟฟ้าในบ้านที่คุณต้องรู้
ในชีวิตประจำวันของคนเราส่วนใหญ่ต้องใช้ ไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีคนจำนวนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจเรื่องไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ภายในบ้าน
สายดินมีไว้เพื่ออะไร
พ.ศ. 2539 การไฟฟ้านครหลวงออกประกาศให้ผู้ยื่นขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ จะต้องเดินสายไฟฟ้าให้มีระบบต่อลงดิน รวมทั้งต้องติดตั้งเต้ารับไฟฟ้าชนิดที่มีขั้วสำหรับ สายดิน
หลอดแอลอีดีน่าใช้ไหม?
หลอดไฟแอลอีดี กำลังมาแรงมากและตอนนี้มีราคาถูกลงจนจับต้องได้ แต่เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่จึงทำให้หลายคนยังไม่วางใจจะซื้อมาใช้
เมื่อไรที่ควรใช้สวิตช์สองทาง
ต้องยอมรับเรื่องหนึ่งคือราคาอุปกรณ์และค่าติดตั้ง สวิตช์สองทาง นั้นแพงกว่าสวิตช์แบบทางเดียวเกือบสองเท่าทีเดียว ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกสวิตช์ตัวไหนเป็นสวิตช์สองทางจึงต้องตัดสินใจให้ดีก่อน
ปลั๊กพ่วง ปลั๊กไฟ เลือกอย่างไรดี
ปลั๊กจ่ายไฟหรือ ปลั๊กพ่วง เป็นอุปกรณ์สำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้งานทั้งภายในและภายนอกบ้านผมเชื่อว่าอย่างน้อยก็ต้องมีติดบ้านกันไว้บ้าง
3 สิ่งต้องรู้..ก่อนเลือกซื้อหลอดไฟ
วันนี้มีคำแนะนำมาฝาก ถ้าต้องไปเลือกซื้อหลอดไฟอีกครั้ง ก็บอกพนักงานขายอย่างมั่นใจไปเลยว่า อยากได้หลอดไฟแบบไหนมาใช้ ไม่ต้องยืนงงๆ ให้เสียเวลาอีกแล้ว