ลักษณะของเฟินก้านดำ
โลกทึ่ง “เฟินก้านดํา” หลายชนิด พบเพียงที่เดียวในโลก คือที่ประเทศไทย
รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]
เฟินก้านดำใบด่าง
Variegated Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum raddianum C. Prest ‘Variegatum’ วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ใบ: ก้านใบตั้งตรงขึ้น ใบแผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ยาว 50-60 เซนติเมตร ใบย่อยขนาดเล็ก แต่ละใบสีเขียวและมีขีดด่างสีขาว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน มักจะมีใบไม่สมบูรณ์ เพราะสร้างอาหารได้น้อยกว่าปกติ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ชอบอากาศเย็น แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์
เฟินเงิน
Silver Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Pityrogramma calomelanos (L.) Link วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 50-60 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นพุ่มโปร่งขนาดกลาง ใบ: ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 15-45 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ใบย่อยแคบเรียวยาว ขอบใบหยักลึกถึงกลางใบ ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบมีผงสีขาวเงินปกคลุม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบอากาศเย็น มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา นำเข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว แต่ไม่นิยม […]
เฟินทอง
Golden Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Pityrogramma austroamericana Domin. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดกลาง ความสูง: 50-60 เซนติเมตร ใบ: คล้ายรูปสามเหลี่ยม แคบยาว ใบย่อยหยักลึกเป็นแฉกแคบ ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนใต้ใบมีผงสีเหลืองทองปกคลุม เมื่อกระทบแสงแดดจะเป็นประกายสวยงาม อับสปอร์สีดำ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของอเมริกา แต่นำมาปลูกลี้ยงในเขตร้อนของเอซียจนแพร่กระจายไปในธรรมชาติ
เฟินจอนหู
เฟินโพธิ์/Diamond Maidenhair/Giant Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum trapeziforme L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นพุ่มขนาดใหญ่ ความสูง: เมื่อโตเต็มที่สูงได้ถึง 2 เมตร ใบ: ขนาดใหญ่ แต่ละใบยาว 50-100 เซนติเมตร แผ่กว้างและอ่อนโงลง มีใบย่อยขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกึ่งรูปไข่ ส่วนปลายเรียวแหลม ขอบด้านหนึ่งหยักมน ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน อัตราการเจริญเติบโต: ช้า วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : ชอบวัสดุปลูกที่เป็นหินหรือมีหินปะปนมาก ในต่างประเทศนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ