ศาลพระภูมิ
ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ สองชื่อนี้ต่างกันอย่างไร และใครเป็นคนอยู่อาศัยในบ้านเล็กๆ เหล่านี้กันแน่? ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ เป็นคำที่เราส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หลายๆ คนอาจยังไม่เคยทราบว่า “ศาลพระภูมิ” และ “ศาลเจ้าที่” มีความแตกต่างกันอย่างไร มีที่มาจากไหน และใครเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กๆ เหล่านั้นกันแน่ วันนี้ บ้านและสวน จะมาเล่าให้ฟัง ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ ต่างกันอย่างไร บ้านโดยทั่วไปนิยมตั้งทั้งศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่คู่กัน โดยให้ศาลพระภูมิอยู่ทางซ้ายมือ อาจเรียกรวมๆ ได้ว่า ศาลพระภูมิเจ้าที่ หรืออาจตั้งศาลเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างศาลทั้งสองประเภทคือ ศาลพระภูมิมักจะมีลักษณะเป็นวิหาร ตั้งอยู่บนฐานที่เป็นเสาเพียงต้นเดียวซึ่งยกระดับอยู่สูงว่าศาลเจ้าที่ ส่วนศาลเจ้าที่มักจะมีลักษณะเป็นเรือนบ้านแบบไทย ตั้งอยู่บนฐานที่มีเสา 4 ถึง 6 ต้น อยู่ในระดับต่ำกว่าศาลพระภูมิ ทำไมศาลพระภูมิต้องตั้งบนเสา 1 ต้น? ศาลพระภูมิ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่สิงสถิตของ “พระภูมิ” เทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาพื้นที่และบ้านเรือน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผสมปนเปกันระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย กับศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูที่เข้ามาในภายหลัง ความเชื่อเรื่องการตั้งศาลพระภูมิบนเสาต้นเดียวนั้น อาจมีที่มาจากหลายๆ แห่ง แต่มีตำนานหนึ่งที่กล่าวถึง ท้าวทศราช เจ้าเมืองพาลีผู้กดขี่ข่มเหงราษฎร จนถูกพระนารายณ์ลงโทษให้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อสำนึกผิดแล้ว พระนารายณ์จึงให้อภัยและให้ท้าวทศราชทำหน้าที่พระภูมิ […]
ไอเดียออกแบบ “ศาลพระภูมิ” และ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับดีไซน์ของบ้าน
คนไทยเราให้ความนับถือ ศาลพระภูมิ และ ตี่จู่เอี้ย กันมานาน เพราะเชื่อว่าจะช่วยคุ้มครองสมาชิกในบ้านให้พ้นภัย และยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้รับแต่ความสุขความเจริญ ทุกวันนี้เราเห็น ศาลพระภูมิ และ ตี่จู่เอี้ย ได้ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ เพียงแต่รูปแบบอาจเปลี่ยนไปบ้าง โดยนำรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาผสมผสานกับศิลปะตะวันออกหรือตะวันตก จนได้ศาลที่มีรูปลักษณ์แปลกตา และดูมีดีไซน์ที่เข้ากับบ้านกันมากขึ้น ครั้งนี้เรามีตัวอย่างศาลพระภูมิและตี่จู่เอี้ยที่มีการออกแบบได้สวยงาม เข้ากับรูปลักษณ์ของบ้านมาให้ชมกันเป็นไอเดีย ศาลพระภูมิ แม้ว่าการนับถือศาลพระภูมิจะเป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมาของศาสนาพราหมณ์ แต่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็ให้ความเคารพศรัทธา เพราะเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเทพารักษ์ที่ช่วยปกปักรักษาบ้านและคนในบ้านนั่นเอง รูปแบบของศาลพระภูมิ ศาลพระภูมินั้นไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นสีใด (แต่บางคนชอบให้เป็นสีวันเกิดเจ้าของบ้าน) และไม่มีขนาดที่เป็นมาตรฐาน เราสามารถสั่งทำตามขนาดและสีที่ต้องการได้ เพื่อให้เข้ากับตัวบ้านหรือความเชื่อส่วนตัว โดยรูปแบบของตัวศาลสามารถสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของบ้านและอาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น สมัยก่อนจะนิยมสร้างบ้านเป็นเรือนไม้ทรงไทย ตัวศาลก็จะมีรูปแบบเป็นทรงไทยหลังเล็กๆ ในยุคต่อมาเรามักคุ้นเคยรูปแบบศาลที่มากด้วยสีสันหรือประดับกระจกระยิบระยับ ซึ่งบางครั้งอาจดูไม่เข้ากับบ้านหรือสวนที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย ปัจจุบันเราจะเห็นรูปแบบของศาลพระภูมิที่ดูแปลกตามากขึ้น ซึ่งบางแห่งสร้างจากการย่อส่วนของสถานที่จริง เพื่อให้เข้ากับอาคารที่มีอยู่ ตำแหน่งในการจัดตั้งศาลพระภูมิ ตามปกติการตั้งศาลพระภูมิที่ถูกต้องควรตั้งอยู่ทางด้านฝั่งขวามือของพื้นที่หน้าบ้านและไม่ควรอยู่ชิดกับรั้วมากเกินไป อาจรวมเข้าไปเป็นพื้นที่ของสวนหน้าบ้านก็ได้ ทั้งนี้การที่ศาลพระภูมิอยู่ทางมุมด้านขวาของตัวบ้าน เพราะทางด้านซ้ายมือมักเป็นพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามความเชื่อดั้งเดิม แต่สุดท้ายแล้วจะตั้งไว้ตรงไหนก็ได้ที่สงบและไม่วุ่นวาย เพื่อไม่ให้ขวางทางสัญจรของกิจกรรมในบ้าน ตี่จู่เอี้ย ใครเป็นลูกหลานชาวจีนคงจะคุ้นชินกับ “ตี่จู่เอี้ย” หรือศาลเจ้าที่ในบ้านเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นของสำคัญที่จำเป็นต้องมีไว้คู่บ้านของครอบครัวชาวจีนเสมอ รูปแบบของตี่จู่เอี้ย ตี่จู่เอี้ยแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะเหมือนศาลเจ้าขนาดจำลองและทาสีแดง ซึ่งคงจะดูเข้ากันดีกับบ้านของชาวจีนในสมัยก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งบ้านที่อยู่อาศัยของเราได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก […]
ข้อควรรู้ก่อน ตั้งศาลพระภูมิ
สำหรับใครที่กำลังจะตั้งศาลพระภูมิ บ้านและสวนอยากให้ผู้อ่านได้รู้ไว้กับ ข้อควรรู้ก่อนตั้ง ศาลพระภูมิ เพื่อที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง