ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร – บ้านและสวน
บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย

“บ้านสวนอธิษฐาน” บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย

บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย ซึ่งออกแบบให้มีสัดส่วนรูปทรงที่สอดคล้องกับการวางฟังก์ชันภายใน ดูกลมกลืนไปกับบ้านไม้ของชุมชนโดยรอบ

สวนคนเมืองขนาดเล็ก แต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี

ในสวนขนาดเล็กที่ดูเรียบง่ายและไม่ได้ดูสวยงามโดดเด่นกว่าสวนอื่นๆในครั้งแรกที่มอง แต่กลับมีนิยามความงามในแบบของตัวเอง ในฐานะของแหล่งอาหารและสร้างสุขภาพที่ดีในการดำเนินชีวิตให้เกิดสุขภาพที่ดีแบบคนในเมือง เป็นสวนขนาดเล็กหน้าบ้านแต่สามารถปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและไอเดียที่น่าสนใจทีเดียวที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร เจ้าของบริษัท ใจบ้าน สตูดิโอ จํากัด การพบปะในครั้งนี้นอกจากเป็นการไปเยี่ยมเยือนพี่ชายที่ผมเคารพรักแล้ว ยังตั้งใจไปชมสวนซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเล่าให้ฟังว่า“พี่ตั้งใจว่าจะทําสวนเพื่อเป็นแหล่งอาหารไว้รับประทานเอง” ทําให้ผมอยากมาเห็นด้วยตาสักครั้ง ผ่านไป2ปี ต้นไม้เริ่มเติบโตตามที่คุณตี๋ได้ตั้งปณิธานเอาไว้ หากดูเผินๆเหมือนว่าเติบโตเองตามธรรมชาติ แต่แท้จริงแล้วเป็นสวนที่ปรับมาจากสวนแนวบาหลี ซึ่งเป็นสไตล์ที่คุณตี๋ชื่นชอบและจัดออกมาได้สวยงามไม่แพ้ใครผมถามถึงสาเหตุที่ทําให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนมาจัดเป็นสวนอย่างที่เห็นก็ได้รับคําตอบว่า “เมื่อก่อนหากจะจัดสวนให้บ้านในเมือง เราต้องซื้อดิน ซื้อต้นไม้ ซื้อทุกอย่างมาลง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติในมุมมองของมนุษย์ แต่จริงๆอาจไม่เป็นธรรมชาติในมุมมองของแมลงหรือสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติจริง ก็เลยอยากลองเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง Permaculture เอง   ผมคุยเรื่องแนวคิดPermacultureกับคุณตี๋อยู่พักใหญ่ จึงทราบว่าแท้จริงแล้วการจัดสวนในรูปแบบนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่าการทําเกษตรแบบยั่งยืนที่เน้นการบํารุงดินด้วยธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมี รวมถึงการปลูกไม้พื้นถิ่นหลากหลายชนิดแม้สวนของคุณตี๋จะมีเนื้อที่แค่เพียง100ตารางวาแต่เขาเล่าให้ฟังว่าในหนึ่งวันสามารถรังสรรค์เมนูอาหารได้หลากหลาย เพราะต้นไม้เกือบทั้งหมดในสวนเป็นชนิดที่รับประทานได้และพบเห็นได้ทั่วไปอย่างมะละกอ มะม่วง บวบ ขิง ข่า พริกตะไคร้ ชะอม แทรกไปกับไม้สมุนไพรและผักสวนครัวพื้นบ้านที่ปลูกง่ายและไม่ต้องดูแลมากเช่น ฟักข้าว ผักเชียงดา อ่อมแซบ ลูกใต้ใบบอน หม่อน และผักปลัง โดยในครั้งแรกเริ่มจากทดลองปลูกผักสวนครัวไม่กี่อย่าง เมื่อประสบความสําเร็จ สามารถเก็บผลผลิตได้ จึงเริ่มต่อยอดทดลองปลูกต้นไม้คละกันแบบมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ผู้ริเริ่มเกษตรกรรมธรรมชาติ โดยปลูกต้นไม้หลายชั้นหลายระดับรวมกัน ก็ได้ผลผลิตค่อนข้างดี มีผักหลากหลายชนิดให้รับประทานมากขึ้น นอกจากนี้ยังเสริมด้วยโปรตีนจากไข่ไก่วันละ2ฟอง […]

chiangmaiurbanfarm

พลังประชาชนที่เปลี่ยน “กองขยะ” สู่ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่”

อยากให้ทุกคนนั่งไทม์แมชชีนไปเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนั้นนอกจากจังหวัดเชียงใหม่จะต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แล้วยังมีฝุ่น pm2.5 อยู่เช่นกัน กลุ่มสถาปนิกใจบ้าน สตูดิโอและภาคีอื่นๆได้สำรวจพื้นที่สีเขียวและพื้นที่รกร้างต่างๆในเมือง จนมาพบกับกองขยะร้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์จนกลายมาเป็นสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด แปลงผักบางส่วนเปิดให้คนมาเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจ และเก็บผักไปปรุงอาหารได้ฟรี เริ่มจาก 3 ครอบครัว ซึ่งปลูกและเก็บไปแบ่งปัน 19 ครอบครัว     ช่วงที่ล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านอาหาร ใจบ้าน สตูดิโอเข้าไปคุยกับพี่น้องผู้ที่อยู่ในบริเวณชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นคนชายขอบของสังคมว่าเขาจะสามารถดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้แล้วก็พบว่าพวกเขาส่วนใหญ่เริ่มตกงานมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ รายจ่ายครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคือค่าอาหารเลี้ยงชีพ เมื่อรายได้ต่อวันไม่มี หลายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุและเด็กจึงกลายเป็นภาระหน้าที่ซึ่งลำบากมาก ทางออกคือครอบครัวเหล่านี้ต้องปลูกผักบริเวณพื้นที่ริมคลองแม่ข่าที่มีสภาพน้ำเน่าเสียและไม่เอื้อต่อการบริโภค หลังจากนั้นจึงเริ่มคุยกับเครือข่ายต่างๆมาเริ่มบุกเบิกที่ดินตรงนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลูกผักสร้างอาหารให้คนในชุมชน บ้ารึเปล่า…นี่มันกองขยะ พื้นที่ขนาด 2.5 ไร่นี้เดิมเป็นกองขยะ 5 พันตันที่ถูกทิ้งมานานร่วม20 ปี ซึ่งรวบรวมมาจากช่วงที่เชียงใหม่ประสบภัยน้ำท่วมโดยมีเทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าของ หลังจากที่พูดคุยกันอยู่หลายครั้ง ใจบ้าน สตูดิโอและภาคีที่เกี่ยวข้องได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด “หลังจากได้ที่ดินมาแล้ว งานต่อไปคือการระดมทุน ระดมกล้าไม้ ระดมเมล็ด หรืออุปกรณ์การเกษตร เมื่อเริ่มต้นทำก็ขุดดินไปเจอยางรถยนต์ กรมเจ้าท่าจึงนำดินมาช่วยถมให้ ส่วนภาคเอกชนหลายที่ก็บริจากถ่านไบโอชาร์ในการบำบัดดินและขุดน้ำบาดาล ถ้าสรุปความรู้สึกสั้นๆจะสรุปได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่มั่นคง แต่ด้วยพลังของประชาชนสามารถสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ มันคือโอกาสท่ามกลางวิกฤต” คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากรผู้ก่อตั้งใจบ้าน […]