UNFOLDING BANGKOK งานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า

สำหรับงานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป room ไปเก็บภาพบรรยากาศมาให้ชม และนี่คือ 2 คืนสุดท้าย

ตามรอย Universal Design ใน สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟที่ออกแบบมาเพื่อทุกคน

Universal Design หรือหลักการออกแบบเพื่อมวลชน ที่ทำให้สถานีกลางบางซื่อกลายเป็นสถานีรถไฟสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง

สถานีกลางบางซื่อ ๙ ความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางรถไฟไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังพลิกโฉมระบบการเดินทางที่เคยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศกว่า ๑๐๕ ปี โดยเปลี่ยนถ่ายจากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) สู่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงสถานีรถไฟอย่างเช่นแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยกระดับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆอย่างเต็มรูปแบบ และกำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เรามาดูความพร้อมก่อนการเปิดใช้บริการและความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางรถไฟไทย สะท้อนผ่าน ๙ ไฮไลต์ของสถานีกลางบางซื่อที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้บริการที่สะดวก ปลอดภัย และการเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศ ๑ ชุมทางระบบราง  สู่การเดินทางไร้รอยต่อ “ย่านพหลโยธิน” คือชื่อเดิมของบริเวณนี้ เป็นชุมทางของเส้นทางรถไฟทุกภูมิภาคมารวมกันบนพื้นที่ 2,475 ไร่ จึงเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางแห่งใหม่ เป็น Grand Station หรือสถานีรถไฟหลักที่ได้พัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางรถไฟไทย” ทุกระบบและรองรับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ เป็นโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถของไทยที่สามารถเชื่อมโยงทุกภูมิภาคเข้าด้วยกัน ในพื้นที่ใช้สอยกว่า 270,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 624,000 คนต่อวัน มี 24 ชานชาลาเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆให้เป็น “การเดินทางไร้รอยต่อ น้ำ บก อากาศ” ได้แก่ เชื่อมต่อการคมนาคมทางราง คือ รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟชานเมือง และเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร เชื่อมต่อการคมนาคมทางอากาศ คือ รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 […]

เจาะลึกสถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมหลังคาโค้งกว้างที่สุดเมื่อ 105 ปีก่อน

50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]

บันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

ก่อนทุกอย่างจะย้ายไปที่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ นี่คือชุดภาพถ่าย สถาปัตยกรรม องค์ประกอบอาคาร การใช้งานพื้นที่ อาชีพ วิถีชีวิตของคนรถไฟ และคนใช้บริการรถไฟ ที่เราบันทึกได้จากการขออนุญาต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินสำรวจ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ และอาคารสำคัญ ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจ แปลกใจ และประทับใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า และอยากนำกลับมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน