© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สำหรับงานแสดงแสงสีเสียงที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง สถาปัตยกรรมสมัยเรอเนสซองอันทรงคุณค่า ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป room ไปเก็บภาพบรรยากาศมาให้ชม และนี่คือ 2 คืนสุดท้าย
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]
HD1 อาคารสำนักงานที่เปรียบเหมือนบ้านของเหล่าวิศวกรแห่ง Tri-En Solution โครงการนี้เริ่มต้นจากการขยายพื้นที่ของบริษัทวิศวกร Tri-En Solution จากเดิมที่ใช้อาคารแบบทาวน์เฮาส์ ได้มีการขยายเพิ่มขึ้นเป็น 3 คูหา และผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ออกแบบก็คือ คุณตี๋ ณรงค์ โอถาวร จาก So Architect นี่เอง
ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ
ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]
AUSTRALIAN EMBASSY ภาพลักษณ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ และอาคาร “อิฐ” ที่สูงใหญ่และโดดเด่นที่สุดบนถนนวิทยุ
การออกแบบทางสถาปัตยกรรมสัมพันธ์กับอิริยาบถและการใช้ชีวิตของคนเราโดยตรง นอกจากสะท้อนเทรนด์ด้านดีไซน์ในแต่ละช่วงเวลาแล้ว ยังสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ยิ่งตอนนี้โลกหมุนไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกวัน ทักษะความรู้ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันจึงต้องปรับให้ทันอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันการออกแบบไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามอย่างเดียว แต่ได้ก้าวข้ามไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และให้ประสบการณ์กับผู้ใช้งานอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาด้านการออกแบบของไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในแวดวงนักออกแบบมืออาชีพ บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด จึงมีความตั้งใจในการสนับสนุนนักออกแบบที่เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้นำความรู้ ความสามารถ มุมมองความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นระบบ มาเชื่อมโยงกับงานออกแบบให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและโลกในอนาคตได้อย่างสมดุล ผ่านโครงการประกวดออกแบบ Asia Young Designer Award (AYDA) ก้าวสู่ปีที่ 11 ในการดำเนินงานของโครงการ Asia Young Designer Award (AYDA) ที่ได้มุ่งสร้างพื้นที่สำหรับนักออกแบบรุ่นใหม่ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม และสาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน เพื่อผลักดันความสามารถของนักศึกษาไทย ในการแสดงความคิดสร้างสรรค์และความสามารถให้ก้าวไปอีกขั้น ได้รับการบ่มเพาะ และพัฒนาแนวคิดจนเก่งขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อให้น้องๆ เป็นดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะไปพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและอนาคตในวงกว้าง โดยโครงการนี้ได้เดินหน้าเพื่อส่งเสริมการสรรค์สร้างผลงานการออกแบบของเยาวชนไทยมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการประกวด Asia Young Designer Award ปี 2561 นี้ ถือได้ว่าไม่ธรรมดากว่าทุกๆ ครั้ง […]
ณ เวลานี้ บนสี่แยกรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่งปรากฏย่านจับจ่ายที่เรียกกระแสฮือฮาจากสังคมได้ไม่น้อย เมื่อกลุ่มอาคารอิฐมากเอกลักษณ์อย่าง “ One Nimman ” กำเนิดขึ้นในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางเมือง และสร้างชื่อจนเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วจากกลุ่มคนทั้งในประเทศและต่างประเทศ 1. One Nimman ตั้งชื่อตามที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับถนนนิมมานเหมินท์ซอย 1 โดยรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรม คอนเซ็ปต์ และการวางผัง ผ่านฝีมือการออกแบบโดยสถาปนิกอาวุโสอย่าง คุณองอาจ สาตรพันธุ์ โดยสถาปนิกได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “One Nimman เป็นโครงการ Mixed-Use ในเขตชุมชนใจกลางเมืองเชียงใหม่ จุดประสงค์หลักคือการสร้างถนน และจัตุรัส (Square) สำหรับผู้คน พร้อมกับถนนคนเดินที่มีหลังคากระจก (Galleria) เพื่อบังอาคารจอดรถขนาดใหญ่ซึ่งมีอยู่เดิม โดยทางเดินนี้จะเชื่อมระหว่างจัตุรัส 2 แห่ง ที่ได้รับการออกแบบไว้เข้าด้วยกัน “จุดเด่นของโครงการคือจัตุรัส (Public Square) และตลาดสำหรับจัดงานต่าง ๆ โดยตลาดนี้มีต้นแบบมาจาก Market Hall ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 13 เหตุผลที่เลือกต้นแบบนี้ก็เพราะมีความเรียบง่าย พร้อมทั้งสัดส่วนที่งดงาม โดยมีหอนาฬิกาเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญ” […]
มอง “วัสดุ” ผ่านบ้านของ Andra Matin และนิทรรศการ Material Matter ณ BACC ทุกๆ ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จะจัดงาน “สถาปัตย์-ปริวรรต” งานแสดงผลงานทางวิชาการและนิทรรศการนำเสนอแนวคิดด้านสถาปัตยกรรมออกสู่สาธารณะ เนื่องใน “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อยกย่องศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 กันยายน อันเป็นวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ผู้ล่วงลับของพวกเขา ปีนี้คณะฯ ได้โอกาสจัดแสดงงานที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC โดยได้ชื่องานว่า “Material Matter” ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับ “วัสดุ” “หรือ “วัตถุดิบ” ที่ใช้ในงานออกแบบ นำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมที่คิดคำนึงจากวัสดุเป็นหัวใจ ความเป็นไปได้ในการใช้วัสดุต่างๆ ในงานออกแบบ หรือเทคโนโลยีที่มีส่วนพัฒนาวัสดุจนตกทอดสู่งานสถาปัตยกรรมในภาพรวม มากไปกว่านั้น งานยังนำเสนอ “วัสดุ” ในมุมมองของผู้ออกแบบ ที่อาจไม่ได้หมายถึงวัสดุก่อสร้างที่จับต้องได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจหมายถึงทรัพยากรในมิติอื่นๆ อันเป็นจุดเริ่มต้นในงานออกแบบที่แตกต่างกันของแต่ละคน ดังที่คุณนันทพล จั่นเงิน อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้จัดงาน […]
ในปัจจุบันการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ถูกห้อมล้อมด้วยป่าอิฐป่าปูน ROOM ขอนำเสนอสถาปัตยกรรมการออกที่ผสมผสานระหว่างไลฟ์สไตล์สมัยใหม่กับธรรมชาติได้อย่างลงตัว
สถาปัตยกรรม ใน "อยุธยา" ทั้ง คาเฟ่ ร้านอาหาร และโรงแรม ที่ถูกออกแบบในสไตล์โมเดิร์นเคล้ากลิ่นกรุงเก่า พร้อมดื่มด่ำกับบรรยากาศอันร่มรื่นและเงียบสงบ
สถาปัตยกรรม 3 รูปแบบ ซึ่งเป็นทั้งโรงงานน้ำแข็ง สำนักงาน และบ้านพักอาศัย ที่นำสายลม แสงแดด และธรรมชาติกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเข้าใจ