© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]
จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]
Son La Restaurant ตัวอย่างการออกแบบ สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ให้เป็นหนึ่งในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังจังหวัดห่างไกล กับการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอย่าง ไม้ไผ่ และหิน สอดคล้องกลมกลืนไปกับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอันเป็นธรรมชาติ จังหวัดซอนลา (Son La) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมีภูมิทัศน์ภูเขาที่สวยงาม แม้จะมีความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ แต่ที่นี่กลับไม่ได้รับการพัฒนาสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากต่อการเดินทาง โดยต้องใช้เวลานั่งรถจากฮานอยนานถึง 7 ชั่วโมง ไปตามถนนที่มีหน้าผาสูงชัน แต่ด้วยศักยภาพอันงดงามของภูมิประเทศ ทำให้ที่นี่กำลังจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติดังกล่าว โปรเจ็กต์ร้านอาหาร Son La Restaurant ที่เด่นด้วย สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ จึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศที่จำกัด ทำให้การขนส่งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างร้านอาหารนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากลำบาก สถาปนิกผู้ออกแบบ Vo Trong Nghia (VTN Architects) จึงเลือกที่จะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นทีมช่าง คนงาน และวัสดุในท้องถิ่นที่มีราคาไม่แพงอย่าง “ไม้ไผ่” และ “หิน” มาเป็นวัสดุหลักของอาคาร นอกจากเหตุผลสำคัญดังกล่าวอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้ออกแบบมองเห็นก็คือวัสดุจากธรรมชาติเหล่านั้น มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนอย่างเวียดนามได้อย่างดี ที่นี่ประกอบด้วยอาคารหิน 8 หลัง ที่แยกจากกัน […]
“ไผ่” ทางเลือกในการใช้ไม้ในการสร้างเป็นบ้านเรือนสำหรับพักอาศัยอย่างยั่งยืนในอนาคต ในห้วงสถานการณ์ป่าไม้ในเมืองไทยที่ทำให้ทรัพยากรไม้ลดจำนวนลง
เราขอพาทุกคนใกล้ชิดวิถีธรรมชาติผ่านงานสถาปัตยกรรมจากไม้ไผ่ในเมืองไทยที่ทั้งเท่ ทั้งคูล และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน