- Page 11 of 16

ชิบะ อินุ (Shiba Inu) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชิบะ อินุ (柴犬 : Shiba Inu) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นทั้ง 6 สายพันธุ์ มีความคล่องแคล่วว่องไวซึ่งเข้ากับภูมิประเทศที่เป็นภูเขาได้เป็นอย่างดี แต่เดิมชิบะอินุถูกพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะกับการล่าสัตว์ โดยมีลักษณะที่คล้ายกับสุนัขพันธุ์อาคิตะ (Akita) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่า และเป็นหนึ่งในสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่ไม่กี่สายพันธุ์ที่อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ ที่มาของชื่อ “อินุ” เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลว่า สุนัข แต่ที่มาของคำว่า “ชิบะ” ที่เติมไว้ข้างหน้านั้นมีที่มาไม่ชัดเจน คำว่า ชิบะ หมายถึง “พุ่มไม้” ในภาษาญี่ปุ่นและหมายถึงชนิดของต้นไม้หรือไม้พุ่มที่ใบไม้เปลี่ยนสีเป็นสีแดงในฤดูใบไม้ร่วง จึงทำให้บางคนเชื่อว่าชิบะได้รับการตั้งชื่อตามความคิดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเนื่องมาจากการเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่ซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้หรือเพราะสีที่พบมากที่สุดของชิบะอินุมีสีแดงคล้ายกับพุ่มไม้ อย่างไรก็ตามในภาษาท้องถิ่นนากาโนะคำว่า ชิบะ ก็สามารถแปลว่า “เล็ก” ได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสุนัขมีขนาดตัวที่เล็กจึงทำให้คำว่า ชิบะอินุ บางครั้งก็ถูกแปลความหมายว่าเป็น “สุนัขพุ่มไม้ตัวน้อย” ลักษณะทางกายภาพ ชิบะเป็นสุนัขรูปร่างกะทัดรัด มีกล้ามเนื้อที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี โดยเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เพศผู้สูงประมาณ 14 นิ้วครึ่งถึง 16 นิ้วครึ่ง (35–43 ซม.) โดยวัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง เพศเมียสูงประมาณ 13 นิ้วครึ่งถึง […]

เฟรนช์ บูลด็อก (French bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ French bulldog (เฟรนช์ บูลด็อก) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ต้นกำเนิดมาจากการผสมพันธุ์ของ English bulldog กับ Boston Terriers โดยการตั้งชื่อพันธุ์คำว่า French หมายถึงประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นแหล่งกำเนิดของเฟรนช์ บูลด็อกแต่เนื่องจากคนในสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ มักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อกทำให้ในต่อมาถูกนิมยมเรียกสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อกเป็น Frenchie (เฟรนช์ชี่) และมีชื่อเล่น คือ Clown dogs เพราะมีความขี้เล่นคล้ายตัวตลก หรือ Frog dogs เพราะตอนนั่งขาหลังของสุนัขจะกางออก   ลักษณะทางกายภาพ เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขเนื้อแน่น มีความตื่นตัวอยู่เสมอแต่ไม่ใช่เพื่อการกีฬา จัดเป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ขนปกคลุมตัวน้อย จมูกสั้น และกระดูกหนา ซึ่งลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือการมีหูแบบค้างคาว เพราะหูของเฟรนช์ บูลด็อกจะมีฐานหูกว้าง และใบหูใหญ่ หางสั้น พบลักษณะตรงหรือบิดเป็นเกลียว แต่จะไม่พบลักษณะหางงอภายใต้สมาคม The American Kennel Club (AKC) […]

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]

ดัชชุน (Dachshund) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ดัชชุน Dachshund ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขแบดเจอร์ที่เรียกว่า “ดอกซี่ (Doxie)” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนีตั้งแต่ก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแรกสุนัขพันธุ์ดัชชุนเป็นสุนัขสำหรับล่าสัตว์ โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มาจากสุนัขขนาดใหญ่ (ช่วงน้ำหนัก 10-20ปอนด์) พวกมันล่าทุกอย่างที่อยู่ในป่า ไม่ว่าจะเป็นหมูป่าไปจนถึงกระต่ายขนาดเล็ก แถมยังขึ้นชื่อว่ามีความคล่องแคล่วและล่าสัตว์เก่ง เมื่อพูดถึงสุนัขบรรพบุรุษในประเทศเยอรมนีช่วงคริสต์ศตวรษที่ 18 และ 19 นายพรานหรือกลุ่มที่เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ ได้พัฒนาประสิทธิภาพของสายพันธุ์ และสร้างธุรกิจการล่าสัตว์จากสุนัขพันธุ์ดัชชุนให้มีความสามารถที่สมบูรณ์เหมาะเเก่การใช้งาน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดัชชุนได้รับความนิยมเลี้ยงจากเหล่าราชวงศ์โดยเฉพาะพระราชินีวิกตอเรีย ทำให้นักเพาะพันธุ์มีการพัฒนาสุนัขพันธุ์ดัชชุน (Dachshund) ให้มีความเป็นสัตว์เลี้ยงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาดให้เหลือเฉลี่ยประมาณ 10 ปอนด์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสุนัขล่าสัตว์ หลังจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการส่งออกสุนัขไปยังประเทศสหรัฐอมเริกา ก่อนที่สุนัขพันธุ์ดัชชุนจะเป็นที่รู้จักเเละได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ โดยทั่วไปสุนัขพันธุ์ดัชชุนมีลำตัวยาว มีกล้ามเนื้อเยอะ มีขาที่สั้นและอวบอ้วน อุ้งเท้าไม่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายใบพายไว้ใช้สำหรับการขุดคุ้ย พวกมันมีผิวหนังที่หย่อนมากพอที่จะไม่ฉีกขาดเมื่อผ่านโพรงไม้แคบ ๆ ขณะล่าเหยื่อ ดัชชุนมีช่องอกลึก เพื่อให้มีพื้นที่ในการขยายของปอดมากเพียงพอในขณะวิ่งล่าสัตว์ มีส่วนหน้าของจมูกยาว ร่วมกับมีบริเวณส่วนของจมูกกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดมกลิ่น พวกมันมีทั้งหมด 3 กลุ่ม แบ่งตามลักษณะของขน คือ ขนสั้น เรียกว่า smooth  […]

ไซบีเรียนฮัสกี้ (siberian husky) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky) เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดกลาง มีขนฟูหนา มีต้นกำเนิดมาจากทางฝั่งตะวันออกของไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย โดยพัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขวงศ์สปิตซ์ (Spitz) ซึ่งเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีขนยาวหนา หางเรียวคล้ายรูปเคียว (Sickle Tail) ใบหูตั้งเด่นเป็นรูปสามเหลี่ยม ไซบีเรียน ฮัสกี้ มีนิสัย ร่าเริง แข็งแรง เต็มไปด้วยพลัง ซึ่งเป็นนิสัยที่สืบทอดมาจากสุนัขสายพันธุ์บรรพบุรุษที่ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพภูมิประเทศเเละภูมิอากาศที่โหดร้ายเเละหนาวเย็นในเเถบไซบีเรีย โดยสุนัขพันธุ์ไซบีเรียน ฮัสกี้ นี้ เป็นสุนัขที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในหมู่ชาวชุกชี (Chuckchi) ซึ่งมีถิ่นอยู่อาศัยใกล้กับมหาสมุทรอาร์กติกทางตะวันออกของรัสเซีย โดยพวกเขานำมาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นสุนัขลากเลื่อน สำหรับบรรทุกสิ่งของเเละสัมภาระต่าง ๆ ไปตามเส้นทางที่เต็มไปด้วยหิมะระยะทางไกล ๆ เเละสำหรับทวีปอเมริกา ไซบีเรียน  ฮัสกี้ ถูกนำมาที่นี่ครั้งเเรกในรัฐอะแลสกา สำหรับใช้งานเป็นสุนัขลากเลื่อนในช่วงยุคตื่นทอง (The Nome Gold Rush) ประมาณปีค.ศ. 1899-1909 ซึ่งเป็นยุคที่มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามายังอะเเลสกามากมาย หลังจากนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้ก็ได้รับความนิยมอย่างเเพร่หลาย รวมถึงแคนาดาในฐานะสุนัขลากเลื่อน และเริ่มเปลี่ยนมาเป็นสุนัขเลี้ยงตามบ้านในภายหลัง  ลักษณะทางกายภาพ ไซบีเรียน ฮัสกี้ มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ อลาสกัน มาลามิ้ว […]

เวลช์ คอร์กี้ (Welsh corgi) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ Welsh corgi (เวลช์ คอร์กี้) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก คำว่า Corgi มาจากคำว่า Cor + gi ซึ่งในภาษาเวลส์ Cor (คอร์) มาจาก cur หมายถึง แคระ และ gi (กี้) มาจาก ci (ย่อมาจาก Cymreig) มีความหมายว่า สุนัข มีถิ่นกำเนิดมาจากเเคว้นเวลส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ The Pembroke Welsh Corgi (พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้) และ The Cardigan Welsh Corgi (คาร์ดิแกน เวล์ช คอร์กี้) แต่ที่นิยมในบ้านเราคือพันธุ์ พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ โดยทั้ง 2 […]

โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขล่าเหยื่อ เพื่อคอยเก็บเป็ดหรือนกที่ถูกยิงจากเกมกีฬา

Homemade Peanut Butter Pumpkin Dog Treats : ขนมน้องหมาทำเองได้ง่ายด้วย

สำหรับผู้ที่เลี้ยงน้องหมา นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว ขนมหมาก็เป็นอีกไอเทมที่เจ้าของต้องซื้อติดบ้านไว้สำหรับเป็นของว่างระหว่างวัน หรือเป็นรางวัลเมื่อประพฤติตัวดี แต่ว่าช่วง Stay Home ที่ผ่านมา การออกจากบ้านไปชอปปิ้งอาจไม่ใช่เรื่องสะดวกสบายนัก หลาย ๆ บ้านจึงหันมาทำอาหารทานเอง ซึ่งรวมถึงลองทำ ขนมน้องหมา เองด้วย อย่างเช่นไอศกรีมและขนมแช่เย็นคลายร้อนแสนอร่อยที่ บ้านและสวน Pets เคยนำเสนอไปแล้วนั่นเอง และวันนี้ บ้านและสวน Pets จะมาแจกสูตรขนมน้องหมาเพิ่มค่ะ เป็นคุ้กกี้ที่มีส่วนผสมหลัก 3 อย่าง ได้แก่ พีนัทบัตเตอร์ ฟักทอง และแป้งโฮลวีท รับประกันว่าหอมอร่อย ดีต่อสุขภาพ ทำง่ายด้วย อุปกรณ์  ชามผสม ตะกร้อมือหรือไม้พาย ไม้นวดแป้ง พิมพ์คุ้กกี้ ส่วนผสม ครีมเนยถั่ว ½  ถ้วยตวง ฟักทองนึ่งสุก 1 ถ้วยตวง แป้งโฮลวีต 1 ¾ ถ้วยตวง น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ 1.ผสมครีมเนยถั่วกับฟักทองให้เข้ากัน 2.นำครีมเนยถั่วกับฟักทองที่เข้ากันดีแล้วผสมลงในแป้งโฮลวีต […]

การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

8 สิ่งที่ควรรู้ก่อนรักษาด้วยศาสตร์ การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

ในปัจจุบันการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกเริ่มเป็นที่นิยมและมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการรักษาอาการป่วยต่างๆ ในคน ไม่ว่าจะเป็น การใช้สมุนไพร การฝังเข็ม ครอบแก้ว หรือ แม้แต่การนวดกดจุด เพื่อบำบัดอาการต่างๆ จนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ซึ่งวิธีการรักษาทางเลือกนี้ ก็สามารถใช้ในสัตว์เลี้ยงได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังคงจำกัดในวงแคบๆ อยู่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะมาอธิบาย เรื่อง การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง ให้เข้าใจง่ายที่สุดกันครับ 1.ที่มาของการฝังเข็มในสัตว์เลี้ยง ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของการฝังเข็ม โดยมีการขุดพบหลักฐานช่วงยุคหินใหม่ อายุไม่ต่ำกว่าสี่พันปีซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด ทำมาจากหินที่ถูกปรับแต่งให้บางและเล็กลง เพื่อนำมาใช้รักษาโรค เราเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า “เปี่ยนสือ” ต่อมาก็มีพัฒนาการทำเข็ม มาจากวัสดุพวก กระดูก ไม้ไผ่ ทองแดง เหล็ก ทองคำ และ เงิน นอกจากนี้ ยังมีตำราการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดและตกทอดมาในยุคปัจจุบัน คือ ตำราหวงตีเน่ยจิง ซึ่งเป็นการรวบรวมทฎษฎีทางการแพทย์และการรักษาโรคต่างๆ เอาไว้อย่างครบครัน รวมถึงศาสตร์ของการฝังเข็ม อีกทั้งหมอยังมีตำนานบทหนึ่งเกี่ยวกับหมอฝังเข็มที่เล่าต่อกันมา นามว่า “มาซือหวง” มาเล่าให้ฟัง โดยมาซือหวงหรือหมอฝังเข็มท่านนี้เป็นหมอที่มีความสามารถเก่งกาจในการรักษาม้าด้วยสมุนไพรจนชื่อเสียงระบือไปไกล ไปถึงหูของเทพพระเจ้ามังกร ซึ่งประจวบเหมาะพอดีที่ตอนนั้นเทพพระเจ้ามังกรกำลังป่วย ท่านจึงได้บินลงมาหามาซือหวง เพื่อทำการรักษา จากนั้นเมื่อมาซือหวงได้มอบสมุนไพร่ให้แก่เทพมังกรและรักษาอาการจนหายเป็นปกติแล้ว […]

อาหารสามารถช่วยในการรักษานิ่วได้อย่างไร

ส่วนแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อนเกี่ยวกับ นิ่วในสุนัข คือกระบวนการการเกิดขึ้นของนิ่ว เพื่อที่จะได้เข้าใจบทบาทของอาหารในการช่วยรักษานิ่วอย่างชัดเจนมากขึ้น สาเหตุของนิ่ว นิ่วเกิดจากการรวมตัวกันของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ โดยต้องอาศัยสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเกิดนิ่ว ได้แก่ 1. ความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ : นิ่วแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลาย และรวมตัวกันของสารก่อนิ่วในสภาวะความเป็นกรดด่างที่แตกต่างกัน2. ความเข้มข้นของปัสสาวะ : การเกิดนิ่วอาศัยหลักการคล้ายการตกผลึก ยิ่งปัสสาวะเข้มข้นมาก นิ่วยิ่งมีโอกาสตกผลึกเป็นนิ่วได้ง่ายขึ้น3. ปริมาณของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ : ยิ่งสารก่อนิ่วมีปริมาณเยอะในปัสสาวะ ยิ่งทำให้โอกาสในการรวมตัวกันเป็นนิ่วเพิ่มขึ้น ประเภทของนิ่วกับการรักษา ในการรักษานิ่ว เรามีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งอาหารมีส่วนช่วยอย่างมากในการบรรลุเป้าหมาย หรือช่วยลดโอกาสในการเกิดนิ่วเพิ่ม ซึ่งนิ่วมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือนิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยการปรับอาหาร และนิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ 1. นิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่นิ่วสตรูไวท์ (struvite) หรือนิ่วแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) ซึ่งส่วนใหญ่จะโน้มนำจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น และสภาวะในกระเพาะปัสสาวะเหมาะกับกับการรวมตัวของสารก่อนิ่วชนิดนี้ เกิดการรวมตัวเป็นก้อนนิ่วขึ้น อาหารที่ใช้ในการสลายนิ่วชนิดนี้ อาศัยหลักการที่จะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดมากพอที่จะทำให้นิ่วชนิดนี้สลายได้2. นิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วในกลุ่มนี้มีหลายชนิด แต่ที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด […]

สูตรไอศกรีมโฮมเมดสำหรับสัตว์เลี้ยง รสชาติอร่อยกลมกล่อม คลายร้อนชื่นใจ

ใคร ๆ ก็ชอบขนมหวานและไอศกรีมกันทั้งนั้น ยิ่งในช่วงอากาศร้อน ๆ แบบนี้ ไม่เว้นแม้แต่สัตว์เลี้ยง อย่าง น้องหมา น้องแมว วันนี้ บ้านและสวน Pets เลยอยากชวนมาทำ ไอศกรีมโฮมเมดสำหรับสัตว์เลี้ยง แสนอร่อย ที่รับรองว่าจะต้องติดใจ เพราะ ช่วยคลายร้อนกันได้อย่างแน่นอนค่ะ แต่แอบกระซิบอีกนิดว่านอกจากน้องหมา-น้องแมวจะสามารถทาน ไอศกรีมโฮมเมดสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อช่วยดับร้อนได้แล้ว ยังอาจใช้เป็นรางวัลเมื่อประพฤติตัวดีหรือใช้ในการฝึก แต่ไม่ควรให้ทานเยอะเกินไปนะคะ   1.ไอศกรีมโฮมเมด รูปร่างหน้าตาดูคล้ายกับไอศกรีมที่เราทานกันใช่มั๊ยล่ะคะ เพราะ วัตถุดิบที่นำมาใช้ค่อนข้างใกล้เคียงกับไอศกรีมที่เราทานกัน อย่าง ฟักทอง กล้วย บลูเบอร์รี่ ผสมเข้ากับโยเกิร์ต หรือ พีนัทบัตเตอร์และไข่แดง ผสมให้เข้ากันใส่ถ้วย แล้วนำไปแช่แข็ง แต่ถ้าใครที่ไม่สะดวกทำเอง ไอศกรีมแบบสำเร็จรูปสำหรับสุนัขก็มีจำหน่ายในหลากหลายรสชาติค่ะ   2.ผลไม้แช่แข็ง ของหวานเย็นฉ่ำที่ทำง่ายมาก ๆ แค่เพียงนำผัก-ผลไม้ อย่าง แอ๊ปเปิ้ล แตงโม แตงกวา หรือ แคนตาลูป หันเป็นชิ้น ๆ แล้วนำไปแช่เย็น นอกจากจะได้ความสดชื่นแล้ว […]

แมวตัวเมียติดสัตว์, แมวตัวเมีย, ติดสัด, แมวตัวผู้, แมวติดสัด

แมวตัวเมียติดสัตว์ มีอาการ และวงรอบอย่างไร

แมวตัวเมียติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมเริ่มต้นของวงรอบการผสมพันธุ์ ในแมว และสัตว์เลี้ยง วงรอบติดสัดของแมวและสุนัข มีความแตกต่างกันกันอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ แมวตัวเมียติดสัตว์ เป็นอย่างไร เป็นคำถามยอดฮิตที่เหล่าพ่อแม่มือใหม่สอบถามกันเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ เลยค่ะ จริงแล้วคำว่า ติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมการสืบพันธุ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อสัตว์เลี้ยงเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น บ้านและสวน Pets จะให้คุณหมอมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ วงรอบสัดของแมว แมวเพศเมียจะเริ่มแสดงอาการเป็นสัด (แมวตัวเมียติดสัตว์) เมื่ออายุประมาณ 4-10 เดือน  โดยมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ได้แก่ น้ำหนักตัว สายพันธุ์ (แมวขนยาวหรือขนสั้น) และแสงแดด ส่วนเรื่องน้ำหนักตัว ใช้ในการประเมินเรื่องความสมบูรณ์ของร่างกายที่โตเต็มที่ และไม่ผอมจนเกินไป  เนื่องจากฮอร์โมนเพศที่ควบคุมพฤติกรรมการสืบพันธุ์ สร้างมาจากไขมันประเภทโคเลสเตอรอล  ถ้าอายุถึงเกณฑ์แต่สัตว์ผอมมาก ระดับไขมันที่ขาดพร่องอาจมีผลต่อการสร้างอนุพันธ์ต่าง ๆ ของฮอร์โมนเพศที่น้อยลงด้วย  สัตว์ที่ผอมจึงมักจะแสดงอาการสัดช้า ส่วนเรื่องของสายพันธุ์แมวขนสั้นหรือขนยาว  พบว่า แมวกลุ่มขนสั้นจะเป็นสัดแรกได้เร็วกว่ากลุ่มแมวขนยาว และปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญต่อวงรอบสัดในแมวมาก คือ แสง  เนื่องจากแสงเป็นปัจจัยการกระตุ้นการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศในแมว  ความเข้มแสงที่เพียงพอและยาวนานกว่า 14 ชั่วโมงต่อวัน  […]