- Page 6 of 16

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง

ในการทำงานทางคลินิก เราพบว่า “ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ” (Hyperadrenocorticism; ย่อว่า HAC) หรือ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)” เป็นหนึ่งในโรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสุนัข แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง กันให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับต่อมหมวกไตของสุนัขกันเสียก่อนดีกว่าครับ ว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด และมีหน้าที่การทำงานอย่างไรบ้าง ต่อมหมวกไตหรือ adrenal gland เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ที่มีตำแหน่งอยู่ในช่องท้องบริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตมีโครงสร้างสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ซึ่งแต่ละชั้นจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดให้กับร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย ซึ่งการเผาผลาญที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลการทำงานของฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ จะเป็นกระบวนการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการรับมือกับความเครียด (stress) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจากสภาพแวดล้อม ความเครียดจากการอยู่รวมฝูง หรือแม้แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกาย […]

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)

โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)

สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สายพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่เก่าแก่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศข้างเคียง เริ่มแรกสุนัขพันธุ์นี้รู้จักในชื่อ comforter spaniels ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กสามารถพาไปข้างนอกได้สะดวก คริสต์ศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ปรากฏบนภาพพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ คิง ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสหราชอณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า พระองค์นั้นหลงใหลในสุนัขพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ถึงกับมอบพระนามให้ชื่อของพันธุ์นี้ โดยกษัตริย์นั้นอนุญาตให้พวกมันเดินไปมาไหนก็ได้ในราชวัง รวมถึงรัฐสภาด้วย ดังนั้นพวกมันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนัขชั้นสูง เป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูงในสมัยนั้น พวกมันได้รับความนิยมอย่างอย่างต่อเนื่องในประเทษอังกฤษ รวมถึงในราชวงศ์ด้วย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุนนางราชสกุลมาร์ลบะระแห่งอังกฤษที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิกับเชื้อพระวงศ์ ได้พัฒนาสายพันธุ์จนเกิดสีที่หลากหลาย และได้รับความนิยมในชนชั้นสูง ต่อมาได้มีการนำพวกมันไปผสมข้ามสายพันธุ์ จนเกิดเป็นคิง ชาลส์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน และได้ขึ้นทะเบียนในระบบ AKC ในช่วงปี 1996 ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล เป็นสุนัขขนนุ่ม บริเวณลำตัวและหูขนยาวปานกลาง […]

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)

โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) คาดว่ามีต้นกำเนิดมากจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1800 โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Parson John Russell เพื่อใช้ในการล่าสุนัขจิ้งจอก โดยคำว่า รัสเซล หมายถึง นักล่าจิ้งจอกตัวยง ในเวลาต่อมาด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว และรูปร่างกะทัดรัด จึงทำให้พวกมันเป็นสุนัขเลี้ยงที่โปรดปรานมากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาขี่ม้า และเป็นที่นิยมในอเมริกาในช่วงปี 1930 จากนั้นแจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียจึงกลายมาเป็นสุนัขที่มีความนิยมอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากต้นกำเนิดแม้จะผ่านมาแล้วกว่า 170 ปี นอกจากนี้ยังเชื่อว่า แจ็ค รัสเซล เทอร์เรีย เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อื่นอีก 3 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน เทอร์เรีย (The Parson Terrier), รัสเซล เทอร์เรีย (Russell Terrier) และ แจ็ค รัสเซลเทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) […]

โดเบอร์แมน พินสเชอร์ (Doberman Pinscher) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “โดเบอร์แมน พินสเชอร์” เริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ในประเทศเยอรมัน โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขในสมัยนั้นชื่อว่า นาย “หลุยซ์ โดเบอร์แมน” (Louis Dobermann) จากเมือง Apolda ในขณะนั้นนายหลุยซ์มีอาชีพเป็นพนักงานเก็บภาษีแล้วต้องเดินทางไปหลายสถานที่ เขาจึงมักเลี้ยงสุนัขไว้ทำหน้าที่อารักขาและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางขณะเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่านายหลุยซ์นั้นทำการเพาะพันธุ์สายพันธุ์นี้อย่างไร นักประวัติศาสตร์บางคนได้เสนอว่าที่มาของ “โดเบอร์แมน” อาจมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียร์ (Manchester Terrier) ร็อตไวเลอร์ (rottweiler) เยอรมัน ฟินสเชอร์ (German Pinscher) สุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนรุ่นแรกมีใบหน้ากว้าง และมีมวลกระดูกมากกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นหลัง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาให้มีลักษณะโครงสร้างที่ทันสมัยเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี 1899 และสุนัขโดเบอร์แมนตัวแรกถูกนำเข้าไปในอเมริกาในปี 1908 และเป็นปีเดียวกันที่พบว่ามีการจดบันทึกสายพันธุ์ในสมาคม AKC (America Kennel Club) ในช่วงศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกใช้ในการรบควบคู่กับนาวิกโยธินในการรบในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะสหายคู่ใจที่แน่วแน่และกล้าหาญ เมื่อเวลาผ่านไปหลายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาเริ่มเห็นว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถทำให้เกิดเป็นตระกูลใหญ่ได้ ต่อมาสายพันธุ์โดเบอร์แมนได้รับความนิยมอย่างมาก มักนิยมให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขตำรวจ รวมถึงสุนัขกู้ภัย […]

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า แลป) มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ของประเทศแคนนาดา และมีชื่อดั้งเดิมว่า เซนต์ จอห์น (St. John’s) พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันในภายในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวชาวประมง เพราะลาบราดอร์สามารถช่วยชาวประมงในการจับปลา ฉลาดมากพอที่จะปลดตะขออกจากปลาและแข็งแกร่งมากพอในการว่ายน้ำได้ระยะทางไกล และยังทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่รักโดยจะเดินกลับบ้านกับเจ้าของหลังจากเลิกงานได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นั้น เกิดจากการผสมระหว่างสุนัขสายพันธุ์ใด นักประวัติศาสตร์คาดว่า พวกมันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสุนัขนิวฟันด์แลนด์และสุนัขในท้องถิ่นอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ พวกมันเริ่มได้รับความนิยมเมื่อมีการนำลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์เข้ามาสู่เกาะอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยขุนนางในสมัยนั้นที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของพวกมัน เริ่มแรกเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ปีก ซึ่งบางครั้งการล่าสัตว์จำเป็นต้องเข้าไปในป่า มีความลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องเลือดสุนัขสายพันธุ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการค้นหาเหยื่อที่ถูกยิง แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลาบราดอร์ยังต้องนำเข้าจากประเทศแคนาดา ด้วยกฎหมายการเก็บภาษีที่แพงมาก ทำให้จำนวนของพวกมันจึงลดน้อยลงจนเกือบจะเลิกเพาะพันธุ์ แต่ในเวลาต่อมายังมีกลุ่มคนที่ยังคงสนใจสายพันธุ์นี้อยู่ จึงได้ริเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธ์ลาบราดอร์ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงสีดำเท่านั้น กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในภายหลัง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือสีครีมตามมา ซึ่งได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีความสามารถ สามารถเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่าสัตว์ อีกทั้งยังสามารถใช้พวกมันปฏิบัติการพิเศษ ในการตรวจค้นหายาเสพติด หรือทำการค้นหาระเบิด ตลอดจนกระทั่งสามารถช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ […]

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)

ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)

โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]

โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)

ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]