เพาะสปอร์
เฟินสไบนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid sp. วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม รากเป็นเส้นยาว ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกยาวได้ถึง 3 เมตร ใบย่อยรูปแถบ มีจำนวนมากถึง 100 คู่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนป้าน ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ก้านเรียวเล็ก ดูอ่อนช้อยมากกว่าเฟินใบมะขามชนิดเดิมที่จำหน่ายกันในตลาด กลุ่มอับสปอร์: รูปกลม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แบ่งกอ เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนให้ใบห้อยตกลงมาจากกระถาง เลี้ยงง่าย ถ้าปลูกเลี้ยงในสภาพแสงแดดจัด ใบจะสั้นลงและมีสีอมเหลือง
เฟินก้านดำใบเล็ก
Bush Maidenhair Fern/Common Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum aethiopicum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: ขึ้นเป็นกอ ทรงพุ่มสวยงาม ใบ: มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ก้านใบเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ อ่อนโค้ง แต่แข็งแรงและเหนียว เมื่อโตเต็มที่แต่ละใบจะยาว 50-60 เซนติเมตร มีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับสวน ให้บรรยากาศของสวนเมืองร้อน หรือปลูกเป็นไม้กระถาง ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ตามชื่อประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นสถานที่พบครั้งแรก
เฟินนาคราช
ว่านนาคราช/พญานาคราช/เฟินนาคราชใบหยาบ/ว่านยางู/Giant Hare’s Foot ชื่อวิทยาศาสตร์: Davallia solida (G.Forst.) Sw. วงศ์: Davalliaceae ประเภท: เฟินอิงอาศัย ในธรรมชาติเกาะอยู่กับไม้ใหญ่ ลำต้น: มีเหง้าทอดเลื้อย มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: เรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 3 – 4 ชั้น รูปสามเหลี่ยม ยาว 60 – 120 เซนติเมตร ก้านใบเล็ก สีน้ำตาลเข้ม ดิน: วัสดุที่โปร่งร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง เช่น ดินใบก้ามปูผสมกาบมะพร้าวสับ น้ำ: ปานกลาง ความชื้นในอากาศสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใช้ป้องกันอสรพิษ นิยมพกติดตัวเวลาเข้าป่า ♦ ใช้เป็นสมุนไพร บรรเทาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ทุกชนิด โดยนำเหง้ามาฝนกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้า แล้วทาบริเวณที่เกิดอาการ ♦ ปัจจุบันที่ปลูกเป็นไม้ประดับมี 2 […]