เรือนยุ้งข้าว – บ้านและสวน
บ้านหลองข้าว

รวม แบบบ้านหลองข้าว ที่ปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน

บ้านหลองข้าว ที่ได้กลิ่นอายความเป็นบ้านพื้นถิ่น ขณะที่ยังมีสิ่งอำนวนความสะดวกตามสมควร เพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

เรือนยุ้งข้าว หลังงามกลางป่า

จาก ยุ้งข้าว เก่าของภาคเหนือนำมาออกแบบเป็นเรือนบ้านพักที่จัดวางพื้นที่ใช้งานเหมือนเรือนหมู่แบบไทย ท่ามกลางทำเลงามๆที่หลายคนต้องอิจฉา  เพราะสามารถมองลงไปเห็นนาขั้นบันได สระบัว โดยมีฉากหลังเป็นทิวเขาแมกไม้ที่โอบล้อมพื้นที่นี้ ในด้านการตกแต่งบ้านเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสไตล์จีนที่เจ้าของบ้านชอบ และใส่เอกลักษณ์ของล้านนาเข้าไปด้วย กลายเป็นสไตล์ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “จีนล้านนา” ที่สำคัญคือมีพื้นที่สีเขียวที่แทรกอยู่ทุกส่วนของบ้าน เพื่อให้ได้อารมณ์บ้านไม้กลางป่าที่แสนร่มเย็น เจ้าของ – ออกแบบ : คุณยิ่งยศ คชคง   คุณยศ-ยิ่งยศ คชคง เป็นผู้ที่ชื่นชอบเสน่ห์ของจีนโมเดิร์นเป็นชีวิตจิตใจ และเมื่อตัดสินใจหนีความวุ่นวายในเมืองไปอยู่ท่ามกลางป่าเขาที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จึงไม่ลืมที่จะหยิบกสไตล์จีนที่ชอบไปผสมกับเรือนท้องถิ่นหรือ ยุ้งข้าว แบบล้านนาจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ที่เจ้าตัวให้ชื่อว่า “จีน-ล้านนา” “พอดีผมมีที่ของญาติอยู่ที่นี่แล้ว และขอบบรรยากาศที่เงียบสงบ เป็นธรรมชาติ จึงตัดสินใจทำบ้านหลังที่สองที่นี่เสียเลย” ในพื้นที่ประมาณสองไร่ครึ่งท่ามกลางป่าเขา คุณยศได้วางผังให้ตัวบ้านเป็นเรือนหมู่ เชื่อมต่อกันให้ได้บรรยากาศแบบเรือนไทยในอดีตลดหลั่นกันไปตามแนวลาดเอียงของพื้นที่ที่สามารถมองลงไปเห็นนาขั้นบันได สระบัว โดยมีฉากหลังเป็นทิวเขาแมกไม้ที่โอบล้อมพื้นที่อันบริสุทธิ์แห่งนี้ไว้   พื้นที่ใช้งานประกอบด้วยเรือนหมู่ 4 เรือนกระจายตัวกัน เริ่มจากเรือนหลังแรกที่เป็นเรือนพระ ใช้สำหรับบูชาและทำสมาธิ ถัดไปเป็นเรือนบ้านพัก 2 หลังเชื่อมต่อกัน ซึ่งดัดแปลงมาจาก ยุ้งข้าว เก่ามาสร้างใหม่ โดยเทพื้นและก่อผนังให้เป็นห้องรับแขก ส่วนชั้นบนใช้เป็นห้องนอน และเนื่องจากเป็นเรือนที่ได้วิวมุมสูงที่สุด จึงกรุหน้าต่างรอบห้องเพื่อเปิดรับวิวและรับลมเย็นสบาย […]

แวะนอนชิลใน 3 โฮมสเตย์จากหลองข้าวไม้ ประสบการณ์ใหม่สุดอบอุ่น

ช่วงปลายปีอย่างนี้ หลายคนมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศลมหนาว โฮมสเตย์กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบคนในพื้นที่ และ 3 โฮมสเตย์ที่เรานำมาให้ชมกันนี้ออกแบบสร้างจากหลองข้าวเก่าได้อย่างสวยงามลงตัว เป็น ที่พักเชียงใหม่ สไตล์ไทย ที่น่าลองไปพักผ่อนกันดูสักที หลองข้าวหรือเรือนยุ้งข้าวนั้นถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของบ้านล้านนา ซึ่งจะต้องมีสถานที่ไว้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดทั้งปี ลักษณะเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ยิ่งหลองข้าวมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความมั่งคั่งของบ้านหลังนั้นได้ ปัจจุบันมักนำมาดัดแปลงเป็นที่พักอาศัยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นจากสัมผัสที่เป็นธรรมชาติของเนื้อไม้ ที่พักเชียงใหม่ สไตล์ไทย จำนวนไม่น้อยจึงได้นำมาออกแบบเป็นเรือนพัก เพื่อมอบประสบการณ์ในการพักแบบใหม่ที่อาจทำให้ใครหลายคนประทับใจ จนอยากมีหลองข้าวเป็นของตัวเองก็ได้นะ ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า 2 หลัง มีซุ้มทางเดินเชื่อมอยู่ตรงกลาง แต่ละหลังจึงแบ่งเป็นห้องพักอย่างละหนึ่งห้องนอน พร้อมระเบียงไม้ขนาดกว้าง และมีลานนั่งเล่นส่วนกลางใช้จิบน้ำชากาแฟหรือเอนหลังอ่านหนังสือได้สบาย ส่วนใต้ถุนของทั้งสองหลังปรับให้เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยมุมนั่งเล่น มุมรับประทานอาหาร มุมอ่านหนังสือ และห้องครัวซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำอาหารไว้อย่างครบครัน แต่เสน่ห์ของโฮมสเตย์ในรูปแบบเรือนไทยนี้อาจไม่ครบสมบูรณ์ หากขาดความร่มรื่นทางธรรมชาติ เจ้าของจึงได้บรรจงปลูกและเติมแต่งไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงา ไม้ทรงพุ่มให้ความรื่นรมย์ในระดับสายตา หรือไม้กระถางน้อยใหญ่มาเติมเต็มพื้นที่สีเขียวรอบๆ  ถ้าต้องการจะมาดื่มด่ำธรรมชาติและความสงบสบายของที่นี่ ขอแนะนำให้ติดต่อนัดหมายพูดคุยกันล่วงหน้ากันก่อน เพื่อให้เจ้าบ้านเตรียมตัวพร้อมต้อนรับและยังอาจมีเวลาแนะนำที่เที่ยวแนวธรรมชาติที่ซุกซ่อนอื่นๆ ภายในชุมชนให้อีกด้วย  >>> […]

ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ใน บ้านทรงไทย เรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

บ้านทรงไทย จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่    บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา สันกำแพงเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกมาจากกลางเมืองเพียงครึ่งชั่วโมงก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติและความสงบเงียบแบบชนบท และที่นี่ยังมีโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้น้อยใหญ่ ด้วยถนนขนาดเล็กด้านหน้าเป็นเหมือนปราการช่วยกั้นไม่ให้ความวุ่นวายและเสียงรบกวนจากรถยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาถึง ภายในจึงสงบเงียบจนได้ยินเสียงใบไม้ไหวตามแรงลมและเสียงนกน้อยเจื้อยแจ้วอย่างชัดเจน เมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าจึงเห็นเรือนไม้ไทยโบราณอยู่ด้านหลังแนวรั้วต้นไม้สีเขียวครึ้ม ดูจากลักษณะที่ตั้งของเรือนไทยเก่าพอจะบอกได้ว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนขนาดเล็กซึ่งอยู่กันแบบเรียบง่าย จึงไม่มีการกั้นรั้วสูงจนมองไม่เห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่อาศัยต้นไม้เป็นขอบเขตธรรมชาติทางสายตา และที่นี่เองที่เป็นโฮมสเตย์ในชื่อ วิลล่า มัชฌิมา ที่พักสำหรับคนโหยหาธรรมชาติและความสงบในทางสายกลางที่พอดีกับจิตใจ คุณปู- ชยสิริ วิชยารักษ์ ผู้หญิงซึ่งเคยเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าแม่อาคารโบราณ ผู้ปลุกปั้นบ้านเก่าทิ้งร้างกว่า 20 ปีริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น “พระยา พาลาซโซ” โรงแรมบูติกสุดสวย เธอมาเจอเรือนไม้เก่าหลังนี้ที่กำลังบอกขาย ด้วยความเสียดายไม่อยากให้สถาปัตยกรรมไทยโบราณต้องถูกรื้อทิ้งแยกส่วนขายเป็นชิ้นไม้เก่า ก็เลยตัดสินใจขอซื้อและลงมือลงแรงบูรณะทั้งหมดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงหลองข้าวเก่าของชาวเหนือให้กลายเป็นเรือนพักที่แสนสบาย “ด้วยความที่เป็นหลองข้าวเก่ามีโครงสร้างเป็นไม้แต่ก็มีสเกลใช้งานเล็กๆ ที่ไม่เหมือนบ้าน เมื่อเรานำมาปรับปรุงให้เป็นบ้าน บางอย่างก็ต้องเติม อย่างการเพิ่มสัดส่วนความสูงของพื้นที่ในห้องน้ำ บางอย่างก็ต้องรื้อออกเช่นรายละเอียดที่มากเกินไป อย่างน้อยก็ถือว่าได้เก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า ‘วิลล่า มัชฌิมา’ เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง คือมีทั้งธรรมชาติและความสะดวกสบายแบบพอดี” ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า […]

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร    บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย  อ่านต่อ  2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]

พักสบายในเรือนยุ้งข้าว ในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่  

ที่พักซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนยุ้งข้าว ปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ : ยุ้งข้าวล้านนา  ซอยเวียงกุมกาม 7 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-9633 – 2573    โฮมสเตย์ไม้ ออกแบบ – ตกแต่ง : Lanna Architect Ltd. โดยอาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ   อาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ เจ้าของและผู้ออกแบบ ยุ้งข้าวล้านนา ตั้งชื่อที่พักแห่งนี้ได้อย่างน่ารักและสะท้อนภาพความเป็นท้องถิ่นได้ชัดเจน โดยตัวอาคารที่พักนั้นดัดแปลงมาจากเรือนไม้พื้นถิ่น แน่นอนว่าต้องมีเรือนยุ้งข้าวรวมอยู่ด้วย เรือนเหล่านี้เป็นเรือนของชาวบ้านในอดีต ซึ่งนับวันมีแต่จะหายไปจากวิถีชีวิตคนล้านนา เรือนทุกหลังปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โครงสร้างไม้ทั้งหมด มีการตั้งเสายกพื้นสูงทำให้มีบริเวณใต้ถุนตามแบบอย่างบ้านโบราณ และจัดวางกลุ่มเรือนใหม่ แต่ละเรือนออกแบบเป็นที่พักแบบ 2 ห้องนอนหรือ 3 ห้องนอน มีชานไม้และทางเดินเชื่อมต่อกันทุกเรือน นอกจากนี้ยังมีเรือนที่เปิดโล่งไม่มีห้อง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ โดยเฉพาะการจัดงานแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ สำหรับห้องพักมีทั้งหมด 20 […]