จัดสวนราคาประหยัด ของไม่ต้องซื้อ ใช้ขยะเหลือใช้ใกล้ตัวทำเอง ก็สวยได้

หนึ่งไอเดียจัดสวนราคาประหยัด ไม่ต้องออกไปซื้อของที่ไหน โดยใช้ของตกแต่งสวนจากของสะสมชิ้นเก่าที่เตรียมจะถูกทิ้ง คุณจักษ์ ลัดพลีเจ้าของสวนใช้ตู้เย็นเก่าที่สภาพใช้งานไม่ได้แล้วเปลี่ยนมาเป็นมุมปลูกต้นไม้กระถางในร่มบริเวณริมระเบียงบ้าน รวมไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่ไม่ได้ชั้งงานแล้ว ทำให้สวนมีกลิ่นอายย้อนไปยุคไปช่วงยุค 90s และลิ้นชักใส่เอกสารที่เปลี่ยนเป็นลิ้นชักปลูกต้นไม้เก๋าไก๋ เหมาะกับใช้เป็นมุมนั่งชมสวนและจิบกาแฟ   ปลูกต้นไม้ในตู้เก็บเอกสาร 1.ถอดลิ้นชักแต่ละชั้นออกมา สำรวจว่าผุหรือมีรอยรั่วหรือไม่ หากมีก็ทำซ่อมแซมให้พอรับน้ำหนักได้ 2.หากไม่มีรอยใดๆ ให้เจาะรูเพิ่มเพื่อช่วยระบายน้ำ เมื่อรดน้ำต้นไม้จะได้ไม้ท่วมขัง 3.เลือกปลูกต้นไม้กระถางที่มีขนาดต้นเล็กและระบบรากตื่น จากนั้นจัดเรียงให้ต้นเตี้ยอยู่ด้านหน้า และต้นสูงอยู่ด้านหลัง 4.เติมวัสดุปลูกตามช่องว่างระหว่างตุ้มรากเพื่อช่วยล็อกตุ้มรากให้แน่น ไม่ขยับ ป้องกันรากกระทบกระเทือน   เปลี่ยนตู้เย็นเก่า เป็นมุมสวน 1.กระถางสาระแหน่ประดับหรือต้นไม้ที่ต้องการมาตรวจสุขภาพ ต้นไม้ใบเหล่านี้มักมีโรคหรืออาการไม่พึ่งประสงค์อย่างใบเป็นเหลือง เป็นจุด หรือเน่า ควรรีบตัดทิ้งและนำไปทำล้างก่อนนำมาปลูกรวมกับต้นไม้ต้นอื่นๆ 2.ใส่ปุ๋ยละลายช้าเพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ ควรใส่ทุก 3 เดือน 3.รดน้ำจนน้ำซึมออกจากกระถางจนหมด จากนั้นวางทิ้งไว้จนน้ำหยุดไหล 4.เรียงกระถางต้นไม้ใส่ตู้เย็น โดยเอียงกระถางเล็กน้อย เพื่อให้ต้นไม้แต่ละต้นได้รับแสงแดดเพียงพอทั่วถึง ปลูกผักในกระถาง 1.นำเมล็ดผักที่ต้องการปลูกแช่น้ำไว้ก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง 2.ผสมวัสดุปลูกในอัตราส่วน ดังนี้ ขุยมะพร้าว 1 ส่วน : ทราย 1/2 ส่วน : […]

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี

นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์

ทาวน์โฮมแต่งเอง อยู่ตามชอบแต่งตามใจ

ดูจากภายนอกแล้ว บ้านแต่งเอง หลังนี้อาจไม่ต่างจากหลังอื่นๆ สักเท่าไหร่ แต่ถ้าขยับเข้ามาใกล้อีกนิดก็จะเริ่มเห็นการตกแต่งที่มีความเฉพาะตัวและชวนให้สนใจ

Family and Function Comes First บนพื้นฐานของความรักและเข้าใจ

เมื่อถึงเวลาสร้างครอบครัว คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีบ้านเดิมอยู่แล้วคงหนีไม่พ้นว่าจะขยายพื้นที่ที่มีหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น สำหรับ คุณนัย – นัยนารถ โอปนายิกุล และ คุณยอด ตันติอนุนานนท์ เจ้าของบ้านหลังนี้ขอเลือกสร้างพื้นที่เล็กๆ ของครอบครัวในที่ดินของบ้านเดิม โดยก่อนหน้านี้เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วก็ย้ายไปอยู่คอนโดมิเนียมที่ไม่ไกลจากบ้านเก่า แต่พอเวลาผ่านไปสักพักและทั้งสองมีลูกน้อย จึงได้ทราบความต้องการที่แท้จริงว่า “บ้านที่ทำให้รู้สึกไม่เบื่อเร็ว” เป็นคำตอบที่ใช่ บ้านสีเทาสไตล์โมเดิร์นขนาดสามชั้นหลังนี้แฝงด้วยกลิ่นอายความคลาสสิก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ แต่ยังคงความเป็นชุมชนเดิมที่สงบเงียบและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ บ้านนี้ปลูกสร้างใหม่บนสนามหญ้าหน้าบ้านเดิมของคุณนัยแวดล้อมด้วยบ้านคุณพ่อคุณแม่ และบ้านคุณตาคุณยายที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ชั้นล่างเป็นส่วนแพนทรี่ขนาดใหญ่และโต๊ะรับประทานอาหารชุดสวย ห้องรับแขก และห้องเด็กที่ออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกในอนาคต หรือให้คุณพ่อคุณแม่มาพักผ่อนได้ ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนของ น้องเร – เรวิณฬ์ ส่วนชั้นสามเรียกว่าเป็นชั้นเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะเป็นที่รวมความสุขของทุกคนอย่างห้องเก็บไวน์ โฮมเธียเตอร์ ห้องเด็กที่เต็มไปด้วยของเล่น และห้องทำงานแบบส่วนตัว มีระเบียงด้านนอกที่สามารถปรับเป็นพื้นที่สำหรับปาร์ตี้ได้อย่างสบาย เจ้าของบ้านเลือกรูปแบบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน เพราะเชื่อในมาตรฐานของงานก่อสร้าง โดยเลือกขนาดที่ใช่ ลิสต์รายการห้องและการใช้งานที่อยากได้ แล้วเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับจำนวนห้องและปรับขนาดของห้องให้สะดวกกับการใช้งานยิ่งขึ้น คุณยอดเล่าว่า “ผมเลือกแบบบ้านจากฟังก์ชันที่เราอยากได้ แล้วมาปรับขนาดของห้องต่างๆ ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ผมชอบบ้านทรงกล่องๆ เหลี่ยมๆแบบไม่มีหลังคา ตอนอยู่คอนโดเราตกแต่งต่างออกไป เป็นแบบมีสีสันหน่อยด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้รู้ความชอบของตัวเองจริงๆ มาลงตัวที่สไตล์โมเดิร์นผสมคลาสสิก ดูขรึมแต่เรียบง่าย เน้นใช้งานได้นานและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว” เจ้าของบ้านได้พูดคุยกับ คุณเล็ก – […]

A Place Called Forever

จุดเริ่มต้นของ บ้านสไตล์อังกฤษ หลังนี้อาจจะแปลกไปจากบ้านทั่วไป เพราะเจ้าของบ้านเลือกกำหนดตำแหน่งและขนาดของครัวเป็นอย่างแรก ยิ่งไปกว่านั้นคือ ตำแหน่งของครัวอยู่ค่อนไปทางด้านหน้าบ้านเสียด้วย คุณเปียทิพย์ เชฟฟิลด์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงให้ความกระจ่างว่า “ได้ประสบการณ์มาจากบ้านหลังแรกค่ะ เพราะไม่ใช่แบบที่เราอยากได้เลย เราฟังและเชื่อคนอื่นมากเกินไป คิดเอาว่าคงจะดีถ้าเป็นอย่างที่ใครเขาว่ากัน แต่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นคนอยู่ พอเราเข้าไปอยู่จริงก็ไม่ได้ประโยชน์ใช้สอยอย่างที่ต้องการ ไปเน้นทำประตูบานใหญ่ๆ ทำหน้าบ้านแบบคนไทย ทำให้เสียพื้นที่ในบ้านไปเปล่าๆ หรือเน้นทำห้องรับแขกใหญ่ๆ แต่ความจริงเราไม่ได้รับแขกที่จะต้องนั่งกันแบบเป็นทางการ นี่ไม่ใช่วิถีชีวิตของเรา อีกอย่างเป็นคนชอบทำอาหาร แต่ครัวของบ้านเก่าทำให้รู้สึกไม่สะดวกเลย พอจะสร้างบ้านใหม่จึงขอคิดเรื่องครัวเป็นอันดับแรก” คุณเปียทิพย์มีประสบการณ์เรื่องบ้านค่อนข้างมาก เพราะงานของเธอคือการหาบ้านเช่าให้ชาวต่างชาติที่มาอยู่เชียงใหม่ อีกทั้งช่วงหนึ่งต้องไปอยู่บ้านสามีที่อังกฤษ ได้เห็นสไตล์การตกแต่งบ้านและสวนที่ตรงกับความต้องการ จึงตั้งใจอยากมีบ้านแบบนั้นบ้าง แล้วความฝันก็เป็นจริงเมื่อได้กลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ หากมองจากด้านหน้า ตัวบ้านจะดูทึบหน่อย แต่เมื่อเข้าไปภายในกลับพบว่าโล่งและสว่าง เพราะแวดล้อมด้วยพื้นที่ว่างซึ่งทำให้รู้สึกน่าสบาย อีกทั้งยังวางตำแหน่งของประตู หน้าต่าง และช่องแสงได้ถูกที่ถูกจังหวะ โดยให้หันไปยังด้านหลังบ้านและเน้นขนาดที่ใหญ่ เพื่อให้มองเห็นสวนและทุ่งนาอย่างที่เจ้าของบ้านชอบ ทุกพื้นที่ในบ้านจึงได้แสงสว่างที่เหมาะสม บ้านนี้มีประตูทางเข้าหลักอยู่ตรงกลางพอดี และตรงกับโถงประตูซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหาร จึงเหมือนแกนกลางที่แบ่งให้ด้านหนึ่งเป็นครัวเปิดตามที่คุณเปียทิพย์บอกว่าเป็นพื้นที่ของเธอ และอีกด้านเป็นบาร์เครื่องดื่มซึ่งเป็นพื้นที่ของ คุณปีเตอร์ เชฟฟิลด์ สามี ถัดไปเป็นห้องนอนแขกและโถงบันไดขึ้นชั้นบนโดยไม่มีห้องรับแขกดังเหตุผลที่เจ้าของบ้านบอกไปข้างต้นนั่นเอง ชั้นบนวางแปลนคล้ายกันคือ จากบันไดไปสู่ห้องโถงใหญ่เน้นให้มีช่องแสงและหน้าต่างเต็มพื้นที่ของผนังเพื่อความโปร่ง โดยใช้เป็นพื้นที่ส่วนรวมของ 3 คนพ่อแม่ลูก กล่าวคือเป็นทั้งส่วนนั่งเล่น ทำงาน […]

Tropical House of Phangan มุมสงบแห่งท้องทะเล

  เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]

รักแรกพบ

  การผสมผสานสไตล์การตกแต่งให้สวยงามและลงตัวนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุ ของตกแต่ง หรือสีสัน เมื่อเราก้าวเข้ามาในห้องนี้ บรรยากาศในสไตล์ Eclectic เน้นความทันสมัย แต่ยังมีความนุ่มนวลและละเอียดอ่อนจากของสะสมมากมายที่จัดวางอย่างสง่างามและมีคุณค่า ร่วมด้วยการใช้โทนสีที่ดูสะดุดตาก็สร้างความน่าสนใจตั้งแต่แรกเห็น พื้นที่ 78 ตารางเมตรของห้องมีขนาดไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป คุณภาวิศ สิมะกุลธร เจ้าของบ้าน เล่าถึงเหตุผลในการเลือกคอนโดแห่งนี้ว่า “พี่หลงเสน่ห์ร่มเงาของจามจุรีที่สูงตระหง่านในโครงการ รู้สึกเหมือนได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติตลอดเวลา” ในส่วนของการตกแต่งภายในก็เผยให้เห็นถึงตัวตนของเจ้าของบ้าน คุณเอ – วัฒนา โกวัฒนาภรณ์ ผู้ออกแบบได้ใส่ใจถึงความต้องการของคุณภาวิศในทุกรายละเอียด “ห้องนี้พี่ซื้อปล่อยทิ้งไว้เป็นแรมปี จนได้มาพบและพูดคุยกับคุณเอก็ตัดสินใจปรับปรุงห้องใหม่ทั้งหมด ความต้องการแรกของพี่เลยคืออยากให้มีชั้นเก็บของเยอะๆ บรรยากาศส่วนใหญ่เน้นโทนสีน้ำเงินหรือครามซึ่งเป็นสีโปรด” คุณเอทำการบ้านอย่างหนักจนได้ผลลัพธ์ที่คุณภาวิศพอใจเป็นอย่างมาก จุดแรกที่ดูสะดุดตาคงหนีไม่พ้นแพนทรี่ที่คุณเอออกแบบในสไตล์ยุโรป ดูประณีตสวยงามและตอบสนองฟังก์ชันการใช้งานอย่างครบครัน จัดโชว์เครื่องถ้วย ชาม และแก้วอย่างน่าทะนุถนอม เน้นบรรยากาศแบบปาร์ตี้เล็กๆ ฝ้าเพดานเพิ่มลูกเล่น โดยออกแบบเป็นฝ้าหลุม โดดเด่นด้วยคิ้วบัวดูทันสมัยและหรูหรา โทนสีส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงินตามที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ ถัดมาคือส่วนนั่งเล่นซึ่งคุณภาวิศมักใช้เป็นมุมอ่านหนังสือด้วย มองไปทางมุมไหนก็จะพบชั้นวางที่เต็มไปด้วยหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีตั้งแต่หนังสือนวนิยาย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ ฯลฯ ที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือวอลล์เปเปอร์กรุผนัง คุณภาวิศเล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “ระหว่างเดินทางไปหาเพื่อนที่ปารีส พี่ไปเจอร้านที่ผลิตวอลล์เปเปอร์ให้แบรนด์ Hermes เลยสั่งทำลวดลายที่อยากได้ ใช้ระยะเวลาสามเดือนในการผลิต […]

พื้นที่กักเก็บ “ความทรงจำ”

บ้านสวย ทุกการเดินทางย่อมมีความทรงจำ ซึ่งอาจเป็นภาพที่คุณไม่มีวันลืม หรือแม้กระทั่งของสะสมที่มาพร้อมกับเรื่องราวมากมายให้รำลึกถึงความรู้สึกดีๆเหมือนเช่นบ้านสไตล์ยุโรปสี่ชั้นหลังนี้ที่กลายเป็นพื้นที่กักเก็บความทรงจำชั้นดีของเจ้าของบ้าน “เราหลงรักที่นี่ทันที ทั้งสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและความเงียบสงบ เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนและตอบโจทย์แรงบันดาลใจของเราได้เป็นอย่างดี”   คุณเฟิร์น – เกศชนก จีระวัฒนา ธาดาสีห์ เจ้าของบ้านฝ่ายหญิงเกริ่นนำถึงความรู้สึกที่เห็นบ้านหลังนี้ครั้งแรก ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการ The Eyrie Khao Yai ด้วยความที่เป็นนักออกแบบและเป็นเจ้าของร้านอาหาร Featherstone Bistro Café & Lifestyle Shop และ Azure Café ทำให้การออกแบบบ้านนี้ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเธอ  “ทิศทางในการออกแบบบ้านเริ่มมาจากของที่เฟิร์นสะสมตั้งแต่เด็กๆ ผสมผสานกับกลิ่นอายของบ้านสไตล์ยุโรปที่ชื่นชอบ บ้านพักส่วนตัวหลังนี้จึงถ่ายทอดออกมาผ่านคลังเก็บความทรงจำของเฟิร์นค่ะ” รูปลักษณ์ภายนอกของ บ้านสวย หลังนี้ ดูคล้ายหอคอยของปราสาทในยุโรป เรารู้สึกประหลาดใจเล็กน้อยเมื่อทางเข้าของบ้านตั้งอยู่ที่ชั้นสาม ทั้งที่ปกติควรจะอยู่ชั้นล่างสุด พื้นที่แรกที่ทักทายเราคือส่วนนั่งเล่น ตามด้วยส่วนรับประทานอาหารและแพนทรี่ บรรยากาศในส่วนนี้ดูอ่อนหวานแบบสไตล์วินเทจ เลือกใช้โทนสีขาวครีมที่ดูสบายตา ผสมผสานอย่างลงตัวกับเฟอร์นิเจอร์แอนทีคที่คุณเฟิร์นหอบหิ้วข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากทวีปยุโรป ผนังในส่วนนั่งเล่นตกแต่งด้วยของประดับดีไอวาย ซึ่งคุณเฟิร์นสร้างสรรค์เองกับมือ ส่วนโต๊ะรับประทานอาหารและแพนทรี่คุมโทนด้วยสีของไม้ สร้างความอบอุ่นให้พื้นที่โดยรอบ เมื่อลงมายังชั้นล่างสุดที่เปรียบเสมือนชั้นใต้ดิน เราเห็นการตกแต่งผนังด้วยสีเขียวเข้ม (Hunter Green Mix) และผนังก่ออิฐ เข้ากันได้ดีกับชุดโซฟาเชสเตอร์ฟิลด์หนังอิตาลี […]

บ้านทรงสี่เหลี่ยมหลังคาจั่ว จุดเริ่มต้นของความพอดี

บ้านชั้นเดียว สีขาว หลังนี้ตั้งอยู่ในละแวกเส้นทางแม่ริม – โป่งแยง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านจัดสรรเก่า แต่ปัจจุบันมีต้นไม้ขึ้นครึ้มจนปิดบังภาพเดิมของหมู่บ้านนี้ไปเกือบหมด คุณทองมา – จำเนียร ทองมา ศิลปินและประติมากรฝีมือเยี่ยม ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ เล่าถึงที่มาของบ้านให้ฟังว่า “ผมเจอที่ดินตรงนี้ ก็เพราะเพื่อนชวนให้มาตกแต่งห้องของเขา ซึ่งก็อยู่ข้างบ้านผมนี่เอง ผมเห็นที่ดินแล้วชอบ เพื่อนก็ชวนให้มาอยู่เป็นเพื่อนบ้านกัน ผมใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน เพราะที่นี่มีสิ่งที่ผมชอบหลายอย่าง เช่น เป็นที่ที่อยู่กลางธรรมชาติ มีป่าและลำธารที่ได้ยินเสียงน้ำไหลรินตลอดเวลา อาจเป็นเพราะว่าผมทำงานที่ค่อนข้างดิบ ๆ จึงอยากอยู่แบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานของผมได้ดี  ” บ้านชั้นเดียว สีขาว ไม่เกิน 4 เดือน บ้านชั้นเดียว หลังนี้ก็สร้างเสร็จ จากเดิมที่ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วยหญ้าสูงท่วมศีรษะ มีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ ก็เปลี่ยนสภาพเป็นที่ดินพร้อมปลูกที่อยู่อาศัยเหมือนเมื่อครั้งเป็นที่ดินจัดสรรตอนแรกเริ่มโครงการ บนพื้นที่ 1 ไร่ คุณทองมาได้วางแผนล่วงหน้าแล้วว่า จะทำเป็นสตูดิโอทำงานศิลปะและส่วนพักอาศัย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้กินพื้นที่ประมาณเท่ากัน ด้านริมถนนเป็นส่วนสตูดิโอ ส่วนด้านหลังติดลำธารเล็กๆเป็นบ้านพัก โดยทุกหลังสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวสีขาว หลังคาจั่ว ดูสงบและสบายส่วนที่เป็นบ้านพัก วางแปลนเป็นรูปตัวแอล ( L ) […]