© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านพื้นถิ่นไทย บ้านไม้ ที่ออกแบบมาให้มีช่องเปิดรับแสงในทิศทางที่เหมาะสม มีช่องทางไหลเวียนของลมเพื่อระบายความร้อน ชายคายื่นยาวกันแดดกันฝน และเพิ่มมุมมองที่อบอุ่นนุ่มนวลด้วยงานไม้เก่า
แบบบ้านใต้ถุนสูงสร้างจากปูน ที่ออกแบบโดยการประยุกต์ผสมผสานรวมระหว่างความทันสมัยของรูปทรงอาคารกับกลิ่นอายความคลาสสิกของงานไม้ได้อย่างมีเสน่ห์
บ้านปูนริมน้ำ ซึ่งยกย้านบ้านไม้เก่า 2 ชั้นที่่ริมถนนสวรรคโลกมาประกอบเป็นบ้านหลังใหม่ แต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่าวินเทจ ในบรรยากาศของบ้านสวน
บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]
บ้านเม็กซิโก สีแดงดูร้อนแรงหลังนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ตากอากาศ ท่ามกลางราวป่าในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก โดยเกิดขึ้นจากความต้องการของคู่สามีภรรยาที่อยากอยู่อาศัยในธรรมชาติ พร้อม ๆ การได้ใช้ชีวิตในวันหยุดอย่างเรียบง่ายและเป็นส่วนตัว ทีมสถาปนิกจาก TACO taller de arquitectura contextual จึงเน้นการออกแบบที่ช่วยสร้างประสบการณ์การพักผ่อนอย่างเต็มที่ แม้ตัวบ้านจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดเพียง 42 ตารางเมตร (452 ตารางฟุต) แต่กลับจุฟังก์ชันเพื่อความรีแลกซ์ไว้ภายในได้อย่างตอบโจทย์ ที่สำคัญยังดึงประโยชน์ของแสงและลมเข้ามาช่วยเติมเต็มการพักผ่อนให้น่าอภิรมย์ยิ่งขึ้นด้วย เนื่องจากตัวบ้านตั้งอยู่กลางป่า สถาปนิกจึงออกแบบอาคารให้ยกสูงจากพื้นดินราว 2 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมจากฝนตกหนัก และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนผนังสีแดงที่เห็นนั้นเกิดจากการฉาบปูนที่ผสมกับแร่ธรรมชาติในท้องถิ่น ขณะที่ประตูเเละหน้าต่างบานเฟี้ยมแบบบานเกล็ด ก็ทำมาจากไม้ซีดาร์ซึ่งหาได้ในท้องถิ่นเช่นกัน ทั้งยังลดความน่าเบื่อของอาคารทรงกล่องด้วยเส้นสายซิกแซกของลูกตั้งและลูกนอนบันได เมื่อเข้ามาด้านในตัวบ้านจะพบกับบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและชวนผ่อนคลาย ด้วยการเลือกฉาบผนังปูนดิบที่มีส่วนผสมของปูนขาว ผสานไปกับการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ และของตกแต่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานทำมือจากวัสดุธรรมชาติ ดูเป็นเรื่องราวเดียวกันกับตัวอาคารและบริบทรอบ ๆ ผังพื้นที่ใช้งานชั้นล่างประกอบด้วยมุมที่เก็บของเล็ก ๆ ตรงข้ามกันคือห้องน้ำที่มีฝักบัวกลางแจ้ง มีห้องครัว และมุมรับประทานอาหารที่เปิดโล่งออกสู่ระเบียงพร้อมสระว่ายน้ำ ให้สามารถชื่นชมวิวและดื่มด่ำกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้เต็มที่ นอกจากความชิลแบบสุด ๆ แล้วยังมีข้อดีอีกอย่างคือเมื่อลมพัดผ่านจะหอบนำความเย็นสบายเข้ามาสู่พื้นที่ภายในบ้านด้านในด้วย ส่วนพื้นที่ของห้องนอนได้รับการออกแบบให้อยู่บนชั้นลอยที่ต้องก้าวบันไดขั้นเล็ก ๆ ขึ้นไป หัวเตียงคือช่องหน้าต่างบานเฟี้ยมที่เปิดออกรับลมได้จนสุดในวันอากาศดี หรือจะปิดเข้ามาทั้งหมดเพื่อความเป็นส่วนตัว โดยที่ยังยอมให้ลมและแสงสว่างลอดผ่านเข้ามาด้านในได้ […]