แสงแดดครึ่งวัน
หูกระจงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia sp. วงศ์: Combretaceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: สูง 3 เมตร ทรงพุ่มคล้ายรูปกรวยคว่ำ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นชั้น ใบ: ใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปใบหอกแกมรูปแถบ กว้าง 1.5- 3 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบและโคนใบแหลม สีเขียวอมเหลือง เส้นใบและกึ่งกลางใบสีม่วงแดง ก้านใบสั้น ดอก: ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก สีขาวนวลหรือขาวอมเหลือง เมืองไทยยังไม่พบออกดอก อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกประดับแปลง เกร็ดน่ารู้: ชื่อสกุลมาจากภาษาละตินว่า terminus สื่อถึงพุ่มใบที่กระจุกอยู่ปลายกิ่ง บางเว็บไซต์ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia benzoe Pers. แต่เป็นชื่อที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
หญ้าถอดปล้องน้อย
หญ้าถอดบ้องน้อย/Himalayan Horsetail/Tropical Horsetail ชื่อวิทยาศาสตร์: Equisetum diffusum D.Don วงศ์: Equisetaceae ประเภท: พืชคล้ายเฟิน โผล่เจริญเหนือน้ำ ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน เจริญเป็นพุ่มสูง 20-30 เซนติเมตร ลำต้นเหนือดินกลมเรียวยาว สีเขียวเข้ม มีขนาด 2-5 มิลลิเมตร มีข้อปล้องเห็นชัดเจน ภายในกลวง ผิวเป็นร่องตื้น ใบ: ใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงรอบข้อ แตกกิ่งก้านข้อละ 6-7 กิ่ง มีอวัยวะสืบพันธุ์รูปทรงกรวยที่ปลายลำ ลักษณะกลมรี อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินเหนียว แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน น้ำ: มาก การขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกบริเวณริมลำธาร หรือปลูกเป็นไม้กระถาง