ว่านกีบแรด

 กีบม้าลม/กีบแรด/ว่านกีบม้า/Giant Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm. วงศ์: Marattiaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น บางส่วนอยู่ใต้ดิน เมื่อทิ้งใบ ส่วนหูใบขนาดใหญ่ที่โคนต้นจะดูคล้ายกีบ (ง่ามนิ้ว) สัตว์ ติดอยู่ ใบ: ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ยาว 1 – 1.50 เมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบย่อยมน ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมัน กลุ่มของอับสปอร์รูปทรงรีเรียงตามขอบใบ ดิน: ดินร่วน ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหัวหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ใบจะเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ชาวชนบทใช้หัวเป็นยาแก้พิษตานซางในเด็ก เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง อาเจียน แต่ควรใช้กับว่านร่อนทอง บางท่านกินเป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้พิษไข้ […]

เต่าร้างลาย

Zebra Fishtail Palm/Striped-Fishtail Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota zebrina Hambai, Maturbongs, Heatubun & J.Dransf. ประเภท: ปาล์มต้นเดี่ยว ความสูง: สูงได้ถึง 5 เมตร ความสูงที่สวยงามอยู่ในช่วง 1 – 3 เมตร ลำต้น: เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 15 เซนติเมตร ใบ: ใบรูปขนนกสองชั้น ทางใบยาว 2 – 3 เมตร กว้าง 2 เมตร ก้านใบยาว 1 เมตร สีน้ำตาลอ่อน สลับด้วยแถบสีดำเป็นวงรอบคล้ายม้าลาย ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบหยักเว้าแหลมคล้ายหางปลา ช่อดอก: ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกระหว่างกาบใบ ผล: กลม ติดผลจำนวนมาก เมื่อสุกสีม่วงแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า […]

เต่าร้างด่าง

Clustering Fishtail Palm/ Common Fishtail Palm/Jaggery Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota mitis Lour. (Variegated) ประเภท: ปาล์มแตกกอ ความสูง: ที่สวยงามประมาณ 30 – 80 เซนติเมตร ลำต้น: กลายพันธุ์มาจากเต่าร้างแดง ลักษณะคล้ายกัน ใบ: ใบรูปขนนกสองชั้น ก้านใบสั้น ใบย่อยมีแถบด่างกว้าง ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมหยักเว้า  ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา ช่อดอก:ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกระหว่างกาบใบ ผล: กลม ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีม่วงคล้ำ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์:เพาะเมล็ด ใช้เวลา 2 – 4 เดือน สามารถได้ทั้งต้นที่มีลักษณะปกติและต้นที่มีใบด่าง หากแยกหน่อ ต้นที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับต้นเดิม การใช้งานและอื่นๆ : เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางและลงแปลง […]