ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีแดง
ว่านพญาหอกหัก
ตะพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium flagelliforme (Lodd.) Blume วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแคบ โคนใบรูปหัวลูกศร ปลายใบแหลม ก้านใบกลมยาวสีเขียว ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลายสีแดงอ่อน ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นสมุนไพรแก้โรคผิวหนัง เชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี หากกินจะรู้สึกคันมากเหมือนมีอะไรมาแทงลิ้น เนื่องจากสารแคลเซียมออกซาเลตที่อยู่ในต้นนั่นเอง
ว่านปรอท
ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลมขนาดเล็ก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีขาวนวล มีจุดประสีแดง ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางสมุนไพรใช้เป็นยาถอนพิษ ฝี และอาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวกหรือไฟลวก โดยนำหัวหรือใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว พอกบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่หัวว่านนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะคันมาก เนื่องจากมีสารแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อ หมายเหตุ: ว่านปรอทที่ปลูกเลี้ยงกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นที่เรียกว่า ว่านตะพิดเล็ก หรือ อุตพิดเล็ก (Typhonium sp.) ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ว่านปรอทในบางตำราก็เป็นพืชในวงศ์ขิงด้วย
ว่านคางคก (มะอะอุ)
มะโนรา/ว่านมหาอุด/ว่านมหาอุตมะ/ว่านมะอะอุก้านเขียว/อุตพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium trilobatum (L.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายเผือก รูปกึ่งทรงกลม แตกหน่อเป็นปุ่มหัว ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เมื่อต้นขนาดเล็ก ใบรูปหัวใจ เมื่อเจริญเต็มที่หยักเป็นแฉก 3-5 แฉก ปลายใบแหลม เส้นใบเป็นร่องตื้น ก้านใบกลม สีเขียวหรือดำ ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง ต้องการความชื้นในอากาศสูง แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นสมุนไพรแก้โรคเรื้อนกวางและโรคผิวหนังอื่นๆ โดยนำหัวมาทุบผสมกับเหล้า ทาบริเวณที่เกิดอาการ หมายเหตุ: ว่านต้นนี้คืออุตพิดสายพันธุ์หนึ่งนั่นเอง ดอกก็มีกลิ่นเหม็นคล้ายอุตพิด แต่กลิ่นอ่อนกว่ามาก […]
ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 30-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจกว้าง สีเขียว ก้านใบสีม่วงแดง ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ก้านช่อดอกสีขาวมักโค้งลง ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ
ว่านเสน่ห์จันทร์ดำ
บอนส้ม/ว่านเต่าเขียด/โหรา/ซอยโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalomena cf. aromatica (Spreng.) Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 30-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปหัวใจ สีเขียว มีเส้นใบสีแดงอ่อน ก้านใบสีม่วงแดง เมื่อต้นโตเต็มที่ แผ่นใบจะแผ่กว้างขึ้น ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ก้านช่อดอกสีขาวมักโค้งลง ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอก สีแดง ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นสมุนไพร หัวมีกลิ่นหอม นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบและยานัตถุ์ได้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ความเชื่อ: แต่เดิมไม่ได้ใช้ประกอบกับว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว และว่านเสน่ห์จันทร์แดง แต่มีกลิ่นหอมและมีประโยชน์ ภายหลังจึงจัดเข้าชุดไว้ด้วยกัน […]