Uncategorized
วัสดุบ้านๆ ปรับใช้ในแนวใหม่ “DOMESTIC ALTERNATIVE MATERIALS” by THINKK Studio
วัสดุบ้านๆ เปลือกหอย กระดองปู ขวดแก้ว ผักตบชวา กากกาแฟ ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว กาบหมาก และเศษผ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัสดุที่ถูกนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแท่งสี่เหลี่ยม คล้ายกับท่อนโลหะรูปพรรณ หรือไม้แปรรูปในท้องตลาด เพื่อหาแนวทางการนำไปใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับวัสดุต่างชนิดกัน อย่างการนำเสนอเป็นเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ เพื่อทดสอบและท้าทายศักยภาพของวัสดุให้ได้มากที่สุด โดยโปรเจ็กต์นี้เป็นภาพใหญ่และทิศทางที่สำคัญหนึ่งของ THINKK Studio ในปัจจุบันและอนาคต โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ ได้มีน้อง ๆ Graduate Internship คือ แนน-ชนิกานต์ จรัล ,โฟน-กิตติภณ โสดาตา และ เจด-เจษฎา สุพรรณโอชากุล มาช่วยในการทดลอง และจัดทำต้นแบบวัสดุร่วมกับทางสตูดิโอด้วย Domestic Alternative Materials เป็นการเสาะหา ค้นคว้าทดลอง เพื่อหาวัสดุทางเลือกในประเทศ จากเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาสร้างเอกลักษณ์และตัวตนใหม่อีกครั้ง ก่อนพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่เริ่มขาดแคลนลงทุกที “DOMESTIC” ในมุมมองที่สนใจ หรือนึกถึงเป็นอันดับแรกคือศักยภาพของประเทศในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสตูดิโอ ซึ่ง “วัสดุ” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต และสร้างสิ่งต่าง […]
SIGH Collection ชุดโซฟาโยกแสนสบายที่ซ่อนประสบการณ์สนุกไว้ภายใน
งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในบ้านที่มีความผ่อนคลายและสนุกสนานเป็นที่ตั้ง จะเป็นอย่างไรถ้าโซฟาในบ้านสามารถให้ประสบการณ์ดีๆได้มากกว่าความนั่งสบาย ความพริ้วไหวของการโยกตัวบนโซฟานุ่มๆ และเส้นสายรูปลักษณ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับตัวโซฟาได้มากกว่าท่านั่งมาตรฐาน จึงเกิดเป็นชุดโซฟาโยกเรียบเท่ดูดี แต่แฝงความสนุกสนานขี้เล่นไว้ภายใน หากพูดถึงโซฟา หลายคนคงนึกถึงเฟอร์นิเจอร์หุ้มบุชิ้นใหญ่ทรงเหลี่ยมที่เอาไว้วางกลางห้องนั่งเล่นด้วยจุดประสงค์คือการนั่ง แต่คุณธาม แววเกกี (THAM VEOKEKI)ได้คิดไปมากกว่านั้น จะเป็นอย่างไรถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้จะมีลูกเล่นที่ให้ได้มากกว่าความสบาย เส้นสายพริ้วไหวที่สื่อถึงความกระฉับกระเฉง ทำให้ SIGH Collection เป็นมากกว่าแค่โซฟาที่ดี THAM VEOKEKI โดยคุณ ธาม แววเกกี นักออกแบบอุตสาหกรรมจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม สาขาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับคัดเลือกจากรุ่นพี่นักออกแบบกลุ่ม Design PLANT ให้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มนักออกแบบหน้าใหม่ หรือ Emerging PLANT ประจำปี 2021 เพื่อทำงานออกแบบภายใต้โจทย์ DOMESTIC และนำผลงานชิ้นนั้นมาจัดแสดงร่วมกับนักออกแบบรุ่นพี่อีกหลายสิบชีวิตภายในงาน Bangkok Design Week 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ SIGH Collection ผลิตโดย Mobella Galleria แบรนด์ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นในผลิตภัณฑ์หุ้มบุอย่างโซฟาหนัง โดยมี คุณ ต๊ะ อนุพล อยู่ยืน เป็นผู้อำนวนการ การออกแบบ […]
ขนมอัลลัวจากสีธรรมชาติ
ปิดเทอมนี้ ลองชวนเด็กๆ มาทำขนมสีสวยอย่าง “ อัลลัว ” กัน นอกจากความสนุกสนาน ที่จะได้รับจากการทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว เด็กๆยังได้เรียนรู้เรื่องของสีธรรมชาติ
PONGCHUROS แซ่บนัวแบบไม่ง้อผงชูรสในร้านอีสานมินิมัล
ร้าน Pongchuros และโลโก้รูปมือที่หยิบคำว่า “ชู” มาเป็นกิมมิกอย่างที่เห็น ชวนให้รู้สึกสงสัยและสร้างเสน่ห์ให้ไม่น้อยว่า ภายใต้อาคารสีขาวมินิมัลชั้นเดียวนี้ ไม่ใช่คาเฟ่อย่างที่คิด แต่เป็นร้านอาหารอีสานรสชาติแซ่บนัว ซึ่งมีดีตรงที่ทุกเมนูของร้านเด็ดอร่อยได้แบบไม่ต้องใส่ผงชูรส แม้ภายนอกและภายในร้าน Pongchuros แห่งนี้ จะมีความขาวคลีนสไตล์มินิมัล จนหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเอ๊ะ ! ที่นี่คือคาเฟ่รึเปล่านะ นับเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นสนุก ๆ ที่ช่วยสร้างความน่าจดจำให้แก่ ร้านผงชูรส ร้านอาหารอีสานแห่งนี้ ที่ขอบอกเล่าตนเองเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ผ่านการตกแต่งร้านที่ดูทันสมัยสะอาดสะอ้าน ราคาน่ารักไม่ลำบากเงินในกระเป๋า พร้อมบริการเป็นกันเอง เนื่องจากร้านตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงแรมเกศราในย่านสีลมที่มีภาพลักษณ์แบบบ้านเก่า การออกแบบอาคารจึงตั้งใจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือเป็นเรือนไม้สีขาวโบราณ มีเส้นขอบสีเทา เห็นการใช้อิฐช่องลมมาประกอบเป็นองค์ประกอบในการตกแต่งร้าน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์รับออเดอร์ หน้าประตูร้าน เคาน์เตอร์คิดเงิน รวมถึงในส่วนหน้าห้องครัว ทำให้เกิดความเรียบง่าย น้อยแต่ได้มาก จากเส้นสายที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีการใช้เส้นจากการวางแผ่นไม้ของผนังห้อง ซึ่งใช้เป็นเส้นทะแยงแทนที่จะใช้แนวตั้งตามปกติ รวมถึงช่วยเพิ่มลูกเล่นด้วยการทำผนังส่วนล่าง โดยเพิ่มฟังก์ชันให้ใช้วางของได้ ขณะที่เพดานด้านบนใช้การวางเส้นแสงบนเพดานล้อไปกับโครงสร้างด้านบนที่เปิดเปลือยดูโมเดิร์นขึ้น และยังมีการแทรกข้อความต่าง ๆ ไปกับการออกแบบได้อย่างลงตัว Tip นำอิฐช่องลมมาประกอบเป็นตัวเคาน์เตอร์รับออเดอร์หน้าร้าน เคาน์เตอร์เก็บเงิน และตกแต่งในส่วนหน้าห้องครัว สร้างเส้นสายทำให้ภาพของร้านดูน่าสนใจขึ้น และให้ความรู้สึกถึงความเป็นร้านอาหารไทย ที่ตั้ง 38 ซอยสีลม […]
บ้านปูนใต้ถุนสูงท่ามกลางธรรมชาติ
แบบบ้านปูนใต้ถุนสูง ในจังหวัดฉะเชิงเทราที่เจ้าของพัฒนาที่ดินจากสวนหมากและมะม่วงที่รกร้างกลายเป็นบ้านที่น่าอยู่ขึ้นทีละน้อย
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?
รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]
5 ศิลปินต่างชาติ ที่ห้ามพลาดชมใน Bangkok Art Biennale 2020
ศิลปินต่างชาติ ในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ นั้นมีให้เลือกชมอยู่มากมาย แต่สำหรับ Bangkok Art Biennale 2020 หรือ BAB 2020 ในครั้งนี้ room เองยอมรับเลยว่าเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียวว่าจะไปชมงานของใครกันบ้าง แต่เพื่อให้ง่ายต่อท่านผู้อ่าน เราจึงขอเลือกคัด ศิลปินต่างชาติ 5 ท่านที่เราคิดว่า “ห้ามพลาด!” ด้วยประการทั้งปวง จะมีใครและแสดงที่ไหนบ้างนั้น ไปดูกัน ! อ่าน : BAB 2020 : Bangkok Art Biennale 2020 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เริ่มแล้ว 1. Ai Weiwei ไม่กล่าวถึงไม่ได้จริงๆกับ Ai Weiwei ศิลปินจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ เคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ด้วยผลงานที่ไม่ธรรมดาและหลากหลายไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่รูปแบบหนึ่งๆของ Ai Weiwei อีกทั้งผลงานของเขาก็มักจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีข้อพิพาทชายแดน […]
วัสดุผนังเบา 6 ชนิด ที่เราอยากแนะนำ เลือกใช้อย่างไร?
วัสดุผนังเบา นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป บ้านและสวนจึงอยากขอแนะนำวัสดุสำหรับกั้นผนังเบาให้กับคุณผู้อ่านได้เลือกกันจาก 6 ชนิดที่เราคิดว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป อ่าน : วัสดุผนังภายนอกอาคาร ที่ทนทานและสวยงามแปลกใหม่ ติดตามเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับบ้านและสวนได้ทาง https://www.facebook.com/baanlaesuanmag
Prefabricated Bathroom Pod ตอบโจทย์ทุกงานคุณภาพมาตรฐาน โดย Lucky Building System
ด้วยความเชี่ยวชาญที่สั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานในอุตสาหกรรมการแปรรูปเหล็ก บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) จนมาถึงการก่อตั้งและพัฒนาหน่วยธุรกิจ Lucky building System (LBS) ขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ต่อยอดความชำนาญสู่ระบบ Modular Building System (ระบบอาคารสำเร็จรูปโครงสร้างเหล็ก) และ Prefabricated bathroom pod ระบบห้องน้ำสำเร็จรูป ด้วยการเล็งเห็นถึงการเข้ามารองรับอนาคตของวงการก่อสร้างในประเทศ ที่กำลังจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ ทั้งเรื่องเวลาการก่อสร้าง แรงงาน และสิ่งแวดล้อม Lucky building System (LBS) เกิดขึ้นจากความต้องการในการแก้ไขปัญหาที่เคยมีของวงการก่อสร้าง เพราะงานห้องน้ำเป็นหนึ่งความท้าทายของการออกแบบบ้านและคอนโดเสมอมา ไม่เพียงแต่ปัญหา M&E และการติดตั้งอุปกรณ์ที่หลากหลาย แต่ยังมีเรื่องของการป้องกันไม่ให้ห้องน้ำรั่วซึมอีกด้วย ซึ่งถ้าหากเป็นในโครงการใหญ่ๆเช่นคอนโดมิเนียมแล้ว การวางระบบห้องน้ำให้สวยงามลงตัวได้นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย ด้วยเหตุนี้ระบบห้องน้ำสำเร็จรูปของ Lucky building System (LBS) จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ทั้งบ้านพักอาศัย รวมทั้ง อาคารและโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการ Solution ที่ได้มาตรฐาน สวยงาม ลงตัว และที่สำคัญคือจบงานได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกระบบการก่อสร้าง ห้องน้ำสำเร็จรูป […]
ถนอมเสื้อผ้าให้สวยนานไม่เสียทรง ด้วยระบบ AI DD™ ใน เครื่องซักผ้า อัจฉริยะจาก LG
เครื่องซักผ้า LG ซึ่งมีเทคโนโลยีการซักใหม่ นั่นก็คือ AI DDTM ระบบซักผ้าอัจฉริยะที่จะมาเป็นผู้ช่วยให้กับคุณ ให้การซักผ้าเป็นงานบ้านที่ทำง่าย
สำนักงานใหม่จระเข้ ผู้นำด้านปูนกาวยาแนว ระบบกันซึม และเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
อีกหนึ่งหน้าที่ของสถาปัตยกรรม คือ การสื่อสารภาพลักษณ์และส่งเสริมการใช้พื้นที่อย่างมีคุณภาพ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือแบรนด์ จระเข้ ผู้นำด้านระบบกันซึม ปูนกาวยาแนว และเคมีภัณฑ์ก่อสร้าง จึงสื่อสารภาพลักษณ์ด้วยฟาซาดแผ่นอะลูมิเนียมโอบล้อมอาคารเป็นทรงหัวและตัวจระเข้แบบกราฟิก ซึ่งจระเข้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงความแข็งแรง ไม่ย่อท้อ อายุยืน การปรับตัวได้ดี และมีความรักครอบครัว บริษัทจึงนำมาเป็นตัวแทนของความเหนียวแน่นและทนทานซึ่งสอดคล้องกับองค์กรและผลิตภัณฑ์ และออกแบบโดยคำนึงถึงความสุขในการทำงานของพนักงานเป็นสำคัญ ดีไซน์เพื่อความเป็นหนึ่ง กว่า 28 ปีตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท มีการขยับขยายออฟฟิศถึง 4 ครั้ง ตามการเติบโตที่รวดเร็ว จนปัจจุบันได้เปิดออฟฟิศหลังใหม่ในย่านกรุงเทพกรีฑา เพื่อรวมทุกฝ่ายให้มาทำงานประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยอาคาร 4 หลัง โดย 3 อาคารแรกเป็นสำนักงานที่ออกแบบให้เชื่อมต่อกัน และโอบล้อมให้ดูเป็นอาคารเดียวกันด้วยฟาซาดแผ่นอะลูมิเนียมที่เปลี่ยนสีได้ตามการหักเหแสง ออกแบบเป็นทรงจระเข้ตวัดหาง โดยเปรียบอาคารด้านหน้าซึ่งอยู่ในตำแหน่งหัวจระเข้ให้เป็นโซนผู้บริหารที่ใช้วิสัยทัศน์มองไปข้างหน้า อาคารส่วนกลางตรงกับส่วนท้องที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์จึงเป็นฝ่ายการเงินและสำนักงาน อาคารส่วนหลังตรงกับส่วนหางซึ่งใช้ขับเคลื่อนจึงเป็นฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ส่วนอีกอาคารที่อยู่ด้านในสุดเป็นส่วนบริการสำหรับพนักงานซึ่งมีร้านอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย รวมถึงมีลู่วิ่งรอบโครงการที่ออกแบบด้วยมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความสุขให้พนักงานที่เสมือนคนในครอบครัว ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป “Journey Thru Happiness” การเติบโตจะมั่นคงและยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อมีจุดยืนที่ชัดเจนและไม่ลืมอดีตซึ่งคือประสบการณ์อันมีค่า ภายในอาคารจึงมีส่วนพิพิธภัณฑ์ที่จัดในธีม “Journey Thru Happiness” เล่าความเป็นมาของบริษัทโดยแบ่งเป็น […]
5 บ้านดี มี “ฟาร์ม” สุข เพราะหาผลผลิตธรรมชาติกินได้จากในบ้านเลย
การสร้างแหล่งอาหารได้จากในบ้านของตัวเองทำให้เราสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน บ้านสวยทั้ง 5 หลังที่เรานำมาให้ชมกันนี้เป็นตัวอย่างของการออกแบบบ้านให้มีแปลงผักส่วนตัว บางหลังยังเลี้ยงสัตว์อย่างไก่ ปลา กุ้ง เพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารในครัวเรือนกันด้วย ซึ่งการเปลี่ยนบ้านให้เป็นฟาร์มไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นบ้านในชนบทเท่านั้น แม้แต่ทาวน์เฮ้าส์ในเมืองก็สามารถมีแหล่งอาหารเป็นของตัวเองได้ ลองเลื่อนชมไอเดียของบ้านแต่ละหลังกันได้เลย บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง 1. ชีวิตธรรมดาในบ้านไม้ใต้ถุนสูง เจ้าของ : คุณสายันต์ ทิพย์แสง และคุณอารมณ์ วิรัชศิลป์ บ้านฟาร์มปลูกผักกินเอง สถาปนิก : Studio Miti โดยคุณประกิจ กัณหา ตกแต่งภายใน : บริษัทเอเดค อินทีเรียส์ จำกัด บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่ออยู่อาศัยอย่างเรียบง่าย รูปทรงของบ้านยังได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียงมาปรับใช้ เพื่อเลี่ยงปัญหาพื้นที่น้ำท่วมถึง พร้อมๆ ไปกับวางแผนทำเกษตรกรรมแบบพอเพียงในพื้นที่รอบๆ บ้าน ตามทฤษฎีของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งแต่จัดแบ่งพื้นที่สำหรับทำบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเลี้ยงปลา 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกข้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่อยู่อาศัย 10 เปอร์เซ็นต์ […]